fbpx

ก่อนไปเรื่องการขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เราต้องมาทำความเข้าใจ ในเรื่องการใช้ไฟของการไฟฟ้าฯ ก่อน เนื่องจากการขออนุญาตฯ นั้นคือการขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ นั่นเอง บทความนี้ยาวววว.มากกกก...

ก่อนหน้านี้ก็เคยเขียนเรื่องการขออนุญาตฯ มาบ้างแล้ว เช่น กกพ.ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการยื่นขอติดตั้งโซล่าเซลล์  , ห๊ะอะไรนะ! ติดโซล่าเซลล์ ที่บ้านต้องขออนุญาตฯ ด้วยเหรอ? , รวมคำถาม คำตอบ ติดตั้งโซล่าเซลล์ โซล่าฮับสรุปไว้ให้แล้ว EP2 เป็นต้น แต่ก็ไม่ได้อัพเดท มาระยะหนึ่งแล้ว อันเนื่องหน่วยงานราชการเองก็ กำลังปรับปรุง ให้มันกระชับและง่ายขึ้น ดังนั้นวันนี้ก็เลยเอามาสรุปรวม อัพเดท ให้ทราบในภาพรวม ให้เข้าใจมากขึ้นอีกหน่อย เชิญทัศนา 

♠ การเชื่อมต่อโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ

การใช้ไฟฟ้าของบ้านเรา กับการไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขอแบ่งเป็น การเชื่อมต่อ 2 แบบ 

 

♦  เชื่อมต่อแรงต่ำ >>> หมายความว่า บ้านพักอาศัย บริษัท ห้างร้าน หรือโรงงาน ที่ลากสายไฟฟ้าแรงต่ำ เข้ามาในพื้นที่ของเรา ซึ่งแบ่งแยกเป็น

         เชื่อมแรงต่ำ ประเภท 1 เฟส ( มีสายไฟเข้ามา 2เส้น คือ สายไลน์ กับสายนิวตรอน )

         เชื่อมแรงต่ำ ประเภท 3 เฟส ( มีสายไฟเข้ามา 4เส้น คือ สายไลน์1 , ไลน์2 , ไลน์3 และ สายนิวตรอน )

 ♦  เชื่อมต่อแรงสูง >>> หมายความว่า ที่บริษัท หรือโรงงานนั้นมีการใช้ไฟฟ้าเยอะมาก แล้วต้องติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ในโรงงาน ซึ่งก็คือการซื้อไฟฟ้าแรงสูง 12 kV , 24 kV , 22 kV, 33 kV , 69 kV  เป็นต้น 

 * สำหรับบริษัท หรือโรงงานขนาดใหญ่ ที่ใช้ไฟเยอะมากๆ การไฟฟ้าฯ เค้าจะไม่ให้เชื่อมแรงต่ำ เค้าจะให้ไปใช้การเชื่อมต่อแรงสูง โดยมีการติดตั้งหม้อแปลง 1 ลูก หรือมากกว่านั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

 

♠ หน่วยงานที่อนุญาตและเงื่อนไขการอนุญาต ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา 

1. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน : กกพ. ( https://cleanenergyforlife.net )เป็นผู้ออกใบอนุญาต ให้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ในภาพรวม โดย

     1.1 ติดตั้ง แบบออนกริด ไม่เกิน 1,000 kW. หรือ 1 MW. จะออกใบรับแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า

     1.2 ขอขายไฟ และขอขนานไฟ ทั้งบ้านพักอาศัย หรือ บริษัทห้างร้าน โรงงาน ก็ต้องได้รับใบรับแจ้งยกเว้นฯ

     1.3 ติดตั้งโซล่าเซลล์ ได้ไม่เกิน 1,000 kW. หรือ 1 MW. โดยไม่ต้องขออนุญาต รง.4 >>> รง.4 คือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ที่ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมออกให้สำหรับโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน ดังนั้นโรงงานส่วนใหญ่จึงติดตั้งกันไม่เกิน 1 MW. ก่อน แล้วหากมีความต้องการจะติดตั้งเพิ่มอีก ค่อยว่ากัน เพราะจะได้มีการเปิดใช้งาน 1 MW แรกก่อน ประหยัดก่อน

      1.4 ใบจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องรับใบอนุญาตฯ เมื่อได้รับแล้วก็ยาวไปเลย ไม่มีหมดอายุ

      1.5 การให้รับจดแจ้งยกเว้นฯ ของ กกพ. จะไม่ต้องไปตรวจหน้างาน เพียงเรายื่นเอกสารตามที่กำหนดให้ถูกต้อง ก็เพียงพอ

      1.6 ถ้าติดตั้งระบบออนกริด ทุกขนาด จะต้องได้รับอนุญาตฯ หรือรับจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตฯ จาก กกพ.

      1.7 ณ ปัจจุบัน ธ.ค.66 การยื่นขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า จาก กกพ. เราสามารถยื่นออนไลน์ได้เลย โดยดูรายละเอียด กรรมวิธี ที่นี่ https://cleanenergyforlife.net 

            1.7.1 การยื่นออนไลน์ขอจดแจ้งยกเว้นฯ กรณีที่ขนาด ต่ำกว่า 200 kW. ทาง กกพ.เขต แต่ละพื้นที่ (ทั่วประเทศแบ่งเป็น กกพ. 13 เขต ) เป็นผู้พิจารณา และตรวจสอบแบบคำขอ และก็จะจัดส่งเอกสารใบรับจดแจ้งยกเว้นฯ ให้กับทางเจ้าของอาคารโดยตรง ที่แจ้งที่อยู่ไว้

            1.7.2 การยื่นออนไลน์ขอจดแจ้งยกเว้นฯ กรณีที่ ขนาด ตั้งแต่ 200 kW. ทาง กกพ. สำนักงานใหญ่ อาคารจามจุรี (แถวๆจุฬาลงกรณ์) เป็นผู้พิจารณา และตรวจสอบแบบคำขอ และก็จะจัดส่งเอกสารใบรับจดแจ้งยกเว้นฯ ให้กับทางเจ้าของอาคารโดยตรง ที่แจ้งที่อยู่ไว้

 

2.กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)

       2.1 เป็นหน่วยงานที่ให้ใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม ซึ่งแบบคำขอ เรียกว่าใบ พค.1 และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว เรียกว่า ใบ พค.2

       2.2 โดยติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ขนาดตั้งแต่ 200 kVA (หรือkW. กิโลวัตต์ ถ้าต้องอธิบายความหมาย kVA และ kW. น่าจะยาว เอาไว้โอกาสหน้าแล้วกัน) ต้องขออนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม หรือต้องได้ใบ พค.2 ซึ่งใบอนุญาต พค.2 มีอายุ 4 ปี นับตั้งแต่ได้รับอนุญาต หากครบกำหนดก็ต้องยื่นขออนุญาตใหม่ 

       2.3 หากติดตั้งขนาดน้อยกว่า 200 kVa ก็ไม่ต้องขอ ใบอนุญาต พค.2

       2.4 ก่อนหน้านี้ การอนุญาต พค.2 ทาง พพ.ต้อออกไปตรวจหน้างาน แต่ช่วงโควิด ก็ตรวจทาง VDO Call แบบออนไลน์ และหลังโควิดเป็นต้นมา มีบริษัท และโรงงาน จำนวนมาก ขอติดตั้งโซล่าเซลล์จำนวนมากจน พพ. ทำงานไม่ทันเนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ

       2.5 ตุลาคม 2565 พพ. ได้ออกระเบียบ การรับขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม (โดยขั้นต่ำ ให้ภาคีวิศวกรไฟฟ้ากำลัง มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียน) เพื่อให้ผู้ขึ้นทะเบียน เป็นคนตรวจสอบระบบพลังงานควบคุม แทนเจ้าหน้าที่ของ พพ. เพื่อจะทำให้ใบอนุญาตออกได้เร็วขึ้น โดยก็จะมีแบบฟอร์มในการตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม ตามที่ พพ. กำหนด

       2.6 ดังนั้นตั้งแต่ ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา ผู้ที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ตั้งแต่ 200 kVA จึงต้องให้ผู้ตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม ลงนามในแบบฟอร์มตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม ส่งให้ พพ. ตรวจสอบ พร้อมกับยื่นเอกสารใบ พค.1 (เจ้าของโครงการหรือผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ลงนาม)

       2.7 การยื่นขอใบ พค.2 ไม่มีการยื่นออนไลน์ เราต้องกรอกข้อมูลในเอกสาร แล้วนำไปยื่นที่ สนง.กกพ. อาคารจามจุรี (แถวๆจุฬาลงกรณ์) แล้ว กกพ. จะส่งต่อไป พพ.เอง

 

3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น สำนักงานเขต , เทศบาล , อบต.

       3.1 การติดตั้งโซล่าเซลล์ บนหลังคา ก็เข้าข่ายการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ตาม พรบ.อาคารปี 2522 ดังนั้นจึงต้องขออนุญาตปรับปรุงอาคาร อ.1 กับทาง อปท. ซึ่งก็ต้องนำใบ อ.1 ส่งให้กับ กกพ. และ พพ. เพื่อเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาอนุญาตฯ

       3.2 แต่ก็มีระเบียบข้อยกเว้น ของกระทรวงมหาดไทย ว่าหากติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร ก็ไม่ถือว่าเป็นการปรับปรุงอาคาร แต่ต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฏหมาย และทำหนังสือแจ้งการติดตั้งโซล่าเซลล์แทน

       ดังนั้นไม่ต้องขออนุญาตฯ แต่ก็ต้องแจ้งให้ อปท. ทราบ >>> แต่ในทางปฏิบัติ ลองไปถาม อบต. เทศบาล หรือสำนักงานเขต หลายๆแห่ง เจ้าหน้าที่บอก ต้องทำแบบมาขออนุญาต ไม่รู้ ไม่สน ยังไงก็ต้องทำแบบมาขออนุญาตฯ อยู่ดี ก็ไม่ต่างกับการขออนุญาตฯหรอก ไม่รู้จะออกระเบียบมาทำไมน๊อ <<<

 

4. การไฟฟ้านครหลวง ( กฟน. : MEA https://myenergy.mea.or.th ) และหรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. : PEA https://ppim.pea.co.th  )

       4.1 เนื่องจากเป็นการติดตั้งแบบออนกริด หรือแบบการเชื่อมขนานไฟกับโครงข่ายการไฟฟ้า ซึ่งบ้านพักอาศัยหรือบริษัท ห้างร้าน โรงงาน ต้องทำเรื่องขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า

       4.2 กฟน. และ กฟภ. จะอนุญาต ให้เชื่อมต่อกับโครงข่ายการไฟฟ้า ก็ต้องได้รับอนุญาตจาก กกพ. และ พพ.(กรณีติดตั้งแต่ 200 kVA) ก่อน

       4.3 ก่อนหน้านี้ กระบวนการยื่นขออนุญาต ทั้ง กกพ. , พพ. , กฟน. , กฟภ. ต้องวิ่งหาข้อมูล สอบถามแต่ละแห่งเอง ซึ่งสับสน อลหม่านพอควร ซึ่งเราอาจต้องเป็นคนเดินเอกสารจาก กกพ. ไปให้ กฟน. และกฟภ.เอง แต่ตั้งแต่ต้นปี 2566 ทาง กกพ. ได้ออกระเบียบวิธี ปฏิบัติใหม่ ว่ายื่นออนไลน์ กับเว็บของ กกพ. , กฟน. , กฟภ. แล้วจากนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวทั้ง 3หน่วยงาน เค้าจะประสานงานภายในกันเอง

        

♠ รูปแแบบการขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า กฟน. และ กฟภ. 

1. การขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า (ติดตั้งโซล่าเซลล์) บ้านพักอาศัย สามารถขออนุญาต ได้ 2 แบบ

       1.1 ขออนุญาตเชื่อมขนานไฟ (ไม่ได้ขายไฟ)

             1.1.1  หากบ้าน อยู่ในเขตของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) : MEA  สามารถติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบออนกริด ขนาดดังนี้ (ไม่ได้ขายไฟ)

 ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของระบบผลิตไฟฟ้าฯ ต้องไม่เกินขนาดการขอใช้ไฟฟ้าที่ได้รับอนุมัติจาก กฟน.

เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า

 

ขนาดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (แอมแปร์) (ขนาดมิเตอร์)

 ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งสูงสุด

(กิโลวัตต์, kWp)

หมายเหตุ

แอมแปร์

จำนวนเฟส

5 (15)

1

10

2.3

1. ไม่เกินขีดจำกัดร้อยละ 15 ของพิกัดหม้อแปลงจำหน่าย ถ้าเกินร้อยละ 15 ของพิกัดหม้อแปลงจำหน่าย ต้องติดตั้งอุปกรณ์กันไฟไหลย้อน

2. ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของระบบผลิตไฟฟ้าฯ ต้องไม่เกินขนาดการขอใช้ไฟฟ้าที่ได้รับอนุมัติจาก กฟน.

15 (45)

30

6.9

30 (100)

75

17.3

50 (150)

100

23.0

15 (45)

3

30

20.8

30 (100)

75

52.0

50 (150)

100

69.3

200

200

138.6

400

400

277.1

 

      * ของ กฟน. ที่เว็บ https://myenergy.mea.or.th/ จะสะดวกหน่อย เพราะว่าในการขออนุญาตขนานไฟ หรือ ขออนุญาตขายไฟ จะมีให้เลือกยื่นออนไลน์ ได้เลย ทั้ง 2 แบบ ซึ่งจุดนี้ก็ขอชื่นชม ที่พยายามพัฒนาเว็บ อำนวยความสะดวก ให้กับประชาชน

             1.1.2  หากบ้าน อยู่ในเขตของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) : PEA  สามารถติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบออนกริด ขนาดดังนี้ (ไม่ได้ขายไฟ)

     * กว่าจะได้ข้อมูลนี้มา ก็แทบกระอัก เพราะ กฟภ. ไม่ได้ประกาศหรือพับบลิคข้อมูล ให้ประชาชนทั่วไปทราบ จะมีแค่เพียงที่เป็นข้อมูลภายในเฉพาะส่วนงานใน กฟภ. เท่านั้น ซึ่งหากเราไม่ไปยื่นเรื่องขออนุญาต เราก็จะไม่ทราบเลยว่ามีข้อกำหนดตรงนี้ด้วย

     ** สำหรับการยื่นขอนุญาตขายไฟ โซล่าภาคประชาชน ของ กฟภ. สามารถยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บ https://ppim.pea.co.th/   แต่สำหรับการขออนุญาตขนานไฟ (ไม่ขายไฟ) ไม่มีช่องทางยื่นทางออนไลน์ เราเดินทางไปยื่นเอกสาร โดยตรงที่ การไฟฟ้าเขตฯ แต่ละเขตที่รับผิดชอบเอาเอง หรือหากมีความพยายามอย่างที่สุด ก็จะได้เบอร์โทร หน่วยงาน หรือคนที่รับผิดชอบ แต่ละเขต อาจให้ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ หรือส่งทางไลน์ ไปให้ตรวจสอบก่อน ซึ่งจุดนี้ ก็ขอเอาใจช่วยและเป็นกำลังใจให้ กฟภ. ช่วยคิดทำช่องทางออนไลน์ อำนวยความให้ประชาชนได้ยื่นออนไลน์ได้ด้วยเถอะ...^L^' 

 

     1.2 ขออนุญาตขายไฟ โครงการSolar ภาคประชาชน ปี 2565 รับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาทต่อหน่วย ตามนโยบาย กพช.

            1.2.1 บ้านที่ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส (220V.)  ทั้ง กฟน. และ กฟภ.  กำลังผลิตติดตั้งแผงโซลาร์ (PV) ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ (kWp) ต่อราย โดยคิดจากขนาดรวมกำลังไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์

            1.2.2 บ้านที่ใช้ไฟฟ้า 3 เฟส (220/380V.)  ทั้ง กฟน. และ กฟภ.  กำลังผลิตติดตั้งแผงโซลาร์ (PV) ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ต่อราย โดยคิดจากขนาดรวมกำลังไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์

   * อนุญาตให้ขายไฟได้เฉพาะที่เป็นบ้านพักอาศัย เท่านั้น โดยเราสามารถดูที่บิลค่าไฟ ว่าเป็นประเภท 1 บ้านอยู่อาศัย 

   ** ข้อควรระวัง เคยติดตั้งบ้านอยู่อาศัย ที่มีบิลค่าไฟ ประเภท 1 ก็จริง แต่ที่บ้านนั้น เปิดเป็นร้านกาแฟ หรืออาจมีขึ้นป้ายชื่อบริษัท กรณีนี้การไฟฟ้าก็ไม่อนุญาตให้ขายไฟ เพราะเค้าถือว่าเป็นกิจการขนาดเล็ก

 

2. การขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า (ติดตั้งโซล่าเซลล์) โครงการขนาดใหญ่ บริษัท ห้างร้าน โรงงานอุตสาหกรรม >>>

*อ้างอิงจาก Grid Code ปี 2559 ของทั้ง กฟน.(MEA) และ กฟภ.(PEA) โดยมีการปรับปรุงกฏ ระเบียบ ต่างกรม ต่างวาระกันไป

      2.1PEA และ MEA ไม่อนุญาตให้ขายไฟ ขออนุญาตให้เชื่อมขนานไฟเท่านั้น

       2.2PEA และ MEA ติดตั้งโซล่าเซลล์ ได้ไม่เกิน 1,000 kW. หรือ 1 MW. โดยไม่ต้องขออนุญาต รง.4 >>> รง.4 คือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ที่ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมออกให้สำหรับโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน ดังนั้นโรงงานส่วนใหญ่จึงติดตั้งกันไม่เกิน 1 MW. ก่อน แล้วหากมีความต้องการจะติดตั้งเพิ่มอีก ค่อยว่ากัน เพราะจะได้มีการเปิดใช้งาน 1 MW แรกก่อน ประหยัดก่อน

       2.3PEA ต้องติดตั้ง Protection Relay แต่เมื่อ เมษายน 2565 ปรับปรุงแก้ไข Grid Code ใหม่ โดยอนุโลมไม่ต้องติด Relay Protection แต่ต้องติดอุปกรณ์ป้องกัน Over Current Device เช่น Ground Fault Protect , Earth Leakage Relay ทดแทนเ เป็นต้น

       2.4PEA หากติดตั้ง ขนาดอินเวอร์เตอร์ ตั้งแต่ 250 kVA.ขึ้นไปต้องติดตั้ง Power Quality Meter
       2.5MEA หากติดตั้ง ขนาดอินเวอร์เตอร์ ตั้งแต่ 2 MW.ขึ้นไปต้องติดตั้ง Power Quality Meter

       2.6เงื่อนไขพิเศษ สำหรับ MEA  อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน (กรณีเชื่อมต่อกับระบบ กฟน. ที่ระดับแรงดัน 12 kV ขึ้นไปจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เลือกยื่นเอกสาร Zero Export Controller หรือ Reverse Power Relay เลือกยื่นเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง)

            2.6.1 หากใช้ Zero Export Controller ต้องเพิ่มเติมเอกสาร โดยแยกแต่ละหมายเลขเครื่องวัด  ดังนี้
               ♥ กรอกแบบแจ้งความประสงค์ขอใช้งาน Zero Export Controller (https://www.mea.or.th/minisite/vspp/download/view/1000582)
               ♥ Datasheet สเปคของอุปกรณ์ Zero Export Controller
               ♥ Datasheet สเปคของ Current Transformer
               ♥ โดยต้องกรอกข้อมูลให้ตรงตาม list ของ กฟน. เช่น ลำดับที่ 23 จะต้องใช้อุปกรณ์และยี่ห้อ Inverter ตาม list ในบรรทัดเดียวกัน ไม่สามารถใช้งานข้ามหัวข้อได้
               ♥ และการใช้งาน Inverter SE10K และ SE27.6K ยังไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Zero Export Controller รุ่นเดียวกันได้
               ♥ หากจะใช้ Zero Export Controller รุ่นเดียวกัน จะต้องติดต่อที่ กองพัฒนาระบบไฟฟ้า ฝ่ายวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้านครหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 02-348-5000 ต่อ 2817 เพื่อขอขึ้นทะเบียบอุปกรณ์ Zero Export Controller

             2.6.2 หากเลือกยื่นเอกสาร Reverse Power Relay (32) ต้องเพิ่มเติมเอกสาร ดังนี้
               ♥ Datasheet สเปคของอุปกรณ์ Reverse Power Relay (32) โดย Reverse Power Relay (32)
               ♥ เพิ่ม Reverse Power Relay (32) ใน Single Line Diagram
               ♥ Schematic Diagram- CT & VT Calculation
               ♥ Relay Setting Table: Data Sheet โดยต้อง set up config ใน Software โดยใช้ Software แล้ว Export Relay Setting ออกมาในรูปแบบ Data Sheet
               ♥ Relay Setting Calculation โดยต้อง setting ดังนี้ไม่เกิน 5% of Transformer Ratedไม่เกิน 10% of PV System installed Capacityซึ่งจะต้องเปรียบเทียบ 2 ค่านี้ ค่าใดต่ำกว่า ให้ Set เป็นค่า Reverse Power ต่ำที่สุดที่จะยอมให้ไหลย้อน (ตัวอย่างเอกสาร:  https://drive.google.com/drive/folders/1CKPEB9CnEIeuYuYuN8t_SkXWEBuW0iRR?usp=sharing)

>>> เบื้องต้น เอาพอหอมปาก หอมคอ (รึว่า...ขมคอ..) เท่านี้ก่อน ซึ่งในทางปฏิบัติ มีรายละเอียดด้านแบบฟอร์ม และเอกสารอีกมากมายก่ายกอง ซึ่งก็ต้องลองลุยขออนุญาตฯ ดูจะได้รู้ว่า ยุ่ง อิ๊บอ๊ายเลย ^L^'  แต่ก็จะพยายามเข้าใจว่า ภาครัฐก็พยายามปรับปรุงให้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ <<<

======================================