fbpx

ตั้งแต่ทำเว็บไซท์ solarhub.co.th มาตลอดระยะเวลา 8ปี ยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องแผงโซล่าเซล์ สักเท่าไหร่ มัวไปกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ เนื่องจากเห็นว่าไปหาอ่านในอินเตอร์เน็ต มีเยอะแยะแล้ว

แต่พอมาวันนี้เลยมาทบทวนดู ก็น่ากล่าวถึงสักหน่อยเดี๊ยวเค้าจะน้อยใจ ดังนั้นเราก็เลยต้องเล่าย้อน (สมัยพระเจ้าเหา ขี่เต่าไล่แลน) ไปดูสมัยเริ่มแรกที่มนุษย์เรา เริ่มรู้จักกับโซล่าเซลล์ ซึ่งก็ไปหาข้อมูลดูก็มีเรื่องราวที่มีการพัฒนา ซึ่งมีไทม์ไลน์ เยอะมาก 

โซล่าฮับ จึงได้จ๊ก หรือ จก มาบางส่วน (จ๊ก หรือ จก : คัดสรร คัดเลือก มาบางส่วน) บางช่วงที่สำคัญ เอามาเขียนเป็น Time Line of Solar Cell ดังรูป

อ่านเพิ่มเติม...

ได้รับคำถามจากผู้มีพระคุณ ลูกค้า ของ ลูกค้า ถามมาว่า ไมโครอินเวอร์เตอร์ ( Micro Inverter) กับ สตริงอินเวอร์เตอร์ ( String Inverter ) แตกต่างกันอย่างไร อันไหนดีกว่ากัน?

>>> อันดับแรก เรามาดูภาพรวมก่อนว่าอินเวอร์เตอร์ ในระบบโซล่าเซลล์ มีกี่อย่างกันแน่ ในปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2566)

อ่านเพิ่มเติม...

ห่างหายไปนาน กับซีรี่ย์ ของอินเวอร์เตอร์ SolarEdge คราวนี้ก็มาถึง ตอนที่ 4 ซึ่งจะแนะนำ หรือเป็นคู่มือในการดูระบบมอนิเตอร์ กำลังการผลิตระบบโซล่าเซลล์ ของ SolarEdge

ดูEP ก่อนหน้านี้ SolarEdge EP1SolarEdge EP2SolarEdge EP3 

อ่านเพิ่มเติม...

กรุณาอ่านความเดิม 4 ตอนที่แล้วก่อนเน้ออออ.. Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP1 และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP2  และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP3 และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP4

จากตอนที่แล้วได้เกริ่นถึงหลักการทำงาน คร่าวๆ ของ Huawei Hybrid Solution (On-Off Grid Hybrid) ไปบ้างแล้ว สำหรับตอนนี้ ก็จะมากล่าวถึงการทำงานแต่ละโหมด หรือการทำงานแต่ละ State ซึ่งตรงจุดนี้จะสำคัญมากที่จะต้องทำความเข้าใจให้ลึกลงไปอีกหน่อย เพราะเราต้องตั้งค่าการทำงาน ให้เหมาะสม หรือสอดคล้องการใช้ไฟฟ้าภายใน ของลูกค้าแต่ละราย 

เนื่องจากพฤติกรรม การใช้ไฟฟ้า แต่ละรายไม่เหมือนกัน เช่น

     ♦ บ้านคุณหนุ่ม อยู่บ้านกันหลายคน ช่วงกลางวันออกไปทำงานกันหมด ช่วงเย็นย่ำ กลับมาบ้าน ก็มีการใช้ไฟฟ้าเวลากลางคืนเป้นส่วนใหญ่

     ♦ บ้านคุณนุก อยู่บ้านคนเดียว กลางวันไม่ค่อยอยู่บ้าน เน้นสังสรรค์ตอนกลางคืน แต่มีบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟ ต้องมีปั๊มอ็อกซิเจ็นสำหรับปลา ที่กินไฟ 500วัตต์ ตลอด 24 ช.ม.  ดังนั้นไฟฟ้าต้องมีจ่ายตลอดเวลา ห้ามดับเช่นกัน ถ้าไฟดับปลาตายหมดยกคลอกแน่ 

อ่านเพิ่มเติม...

บทฟามนี้สำหรับผู้รับเหมาติดตั้งโซล่าเซลล์ แล้วกันนะครับ 

กรณีที่เกิดปัญหากับ Inverter Huawei สำหรับที่ใช้งานตามบ้านพักอาศัย ที่ติดตั้งขนาด 5 kW. , 10 kW. และ 12 kW.  โดยจะมีแอพลิเคชั่น ชื่อว่า FusionSolar ไว้สำหรับมอนิเตอร์กำลังการผลิต ซึ่งล่าสุดได้อัพเกรดใหม่เป็นโลโก้สีฟ้า      

อ่านเพิ่มเติม...

กรุณาอ่านความเดิม 3 ตอนที่แล้วก่อนเน้ออออ.. Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP1 และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP2  และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP3

 

จริงๆ EP4 ว่าจะดองเค็ม ไว้อีกสักระยะหนึ่ง อันเนื่องจาก ติดภารกิจหลายอย่างไม่ค่อยมีสมาธิเขียน
แต่... บังเอิญ มีคนฝากบอกมาว่า เฝ้าติดตามเพจ และบทความในเว็บของ โซล่าฮับ ตลอด เฝ้ารอrefresh ว่า จะมีบทความใหม่ๆ มาเมื่อไหร่อ่านเพลิน เกินห้ามใจ 555... ว่าไปนั่น

มายอ..ได้ซะที่ไหนล่ะ
เราก็คนบ้ายอ ไม่หยอกเน้อ.. ยิ่งยอ ยิ่งเขียนไม่หยุด 555 ^L^

 

 

3 หลักการทำงาน Huawei Hybrid Solution (On-Off Grid Hybrid)

อ่านเพิ่มเติม...

          พาไปเที่ยวต่างประเทศมั่งดีฝ่า จะได้รับรู้ข่าวคราวความเคลื่อนไหวของแวดวงโซล่าเซลล์ ทั่วโลกว่าเค้ากำลัง พูดคุย เรื่องอะไรกันอยู่

          ซึ่งจากที่ติดตามมา ปี  2016 - 2017 ก็จะตื่นตัวเรื่อง Energy Storage เพราะพี่อีลอน มัสก์ (แห่งรถไฟฟ้า เทสลา) จุดกระแสเรื่องโรงงานสร้างแบตเตอรรี่ lithium-ion energy storage ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ทำให้บริษัท ที่อยู่ในแวดวงโซล่าเซลล์ ก็ต้องออกข่าวคราว เกี่ยวกับการพัฒนา lithium-ion กันยกใหญ่ ซึ่งก็คงต้องรอดูอีกสักระยะหนึ่งนะ ที่หวังว่า ราคาจะถูกลงและอายุการใช้งานนานขึ้น จนทำให้ถึงจุดคุ้มทุนในเร็ววัน

อ่านเพิ่มเติม...

ความเดิม 2 ตอนที่แล้ว Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP1 และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP2

2.3 Backup Box ทำหน้าที่ คล้าย Automatic Transfer Switch : ATS กล่าวคือเมื่อกรณีที่ ไฟ ของการไฟฟ้าดับ ที่บ้านเราก็ยังสามารถใช้ไฟฟ้าได้ จากแบตเตอรี่ ซึ่งตัว Backup Box ทำหน้าสลับแหล่งจ่ายมารับไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ แทน

* ทั้งนี้หากเราติดระบบไฮบริด มีแบตเตอรี่ LUNA2000 แล้ว แต่ไม่ติด BackUp Box กรณีที่ไฟการไฟฟ้าดับ ที่บ้านเราก็จะดับด้วย ซึ่งตัว BackUp Box นี้ก็ประมาณ 3-4หมื่นบาท ก็ลองๆพิจารณาดู 

**อ้อ อีกอย่างนึงถ้าที่บ้านเป็นไฟฟ้า 3 เฟส แล้วมี Backup Box พอไฟการไฟฟ้าดับ ระบบก็จะจ่ายไฟเป็นไฟฟ้า 1เฟส เท่านั้น

***สำหรับหลักการทำงานโดยละเอียด จะกล่าวในตอนถัดๆไป  ช่วงนี้ค่อยๆนวดไปเรื่อยๆก่อน

อ่านเพิ่มเติม...

( ไม่ใช่โฆษณา แต่ อวยใส้แตก แหกใส้ฉีก SolarEdge ห้ามลอกเลียนแบบครับ )

SolarEdge (Episode3) จบแล้วครับนาย!!!

จาก ว่าด้วยเรื่องอินเวอร์เตอร์ ออนกริด ยี่ห้อ SolarEdge (Episode1) และ ว่าด้วยเรื่องอินเวอร์เตอร์ ออนกริด ยี่ห้อ SolarEdge (Episode2) กล่าวถึงไปแล้ว 6 ข้อ

ตอนนี้ มาว่ากันเรื่องข้อกังวล และคำถามเกี่ยวกับ อินเวอร์เตอร์ โซล่าเอดจ์

 1.อุปกรณ์ Power Optimizer เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แล้วนำไปติดตั้งใต้แผงโซล่าเซลล์ ที่อากาศร้อนอิ๊บอ๊ายเลย มันจะทนไหวเรอะ เดี๊ยวก็พังอ๊ะดิ๊ !!!

  +++ ใช่ครับ เป็นข้อกังวลที่ SolarEdge เค้าก็รับรู้และรับทราบ ก็เลย การันตี หรือ รับประกัน หรือ Warranty อุปกรณ์ Power Opimizer ระยะเวลา 25 ปี ดังนั้นถ้าเสียเค้าเปลี่ยนให้ (ที่ทางทีมงานใช้มา 2 ปี ก็ยังไม่เคยเจอเสีย แต่นานๆไปก็ยังตอบไม่ได้ครับ ต้องให้ระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์)

อ่านเพิ่มเติม...

กรุณาเข้าอ่าน EP1 ก่อนเน้อ เพื่อปูพื้นก่อนว่าไปไง มาไง >>>  Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP1

2.2 แบตเตอรี่ ใช้ชื่อรุ่นว่า LUNA 2000-(5-30)-S0 ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้า ไว้ใช้ในเวลาที่เหมาะสม ตามที่เราได้ตั้งค่าตามต้องการ สำหรับแบตเตอรี่ ของหัวเว่ย LUNA2000 สามารถนำมาต่อใช้งานได้ทั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ ระบบ 3 เฟส ซึ่ง จะมีขนาดความจุ 3 ขนาดความจุ  ประกอบด้วย 5 kWh. , 10 kWh. และ 15 kWh. โดยมีรายละเอียดสเป็ค ได้อธิบายตามรูปด้านล่าง

อ่านเพิ่มเติม...

( ไม่ใช่โฆษณา แต่ อวยใส้แตก แหกใส้ฉีก SolarEdge ห้ามลอกเลียนแบบครับ )

***แล้วมี Power Optimizer มันดียังไง? 

จาก ว่าด้วยเรื่องอินเวอร์เตอร์ ออนกริด ยี่ห้อ SolarEdge (Episode1) กล่าวถึง ไปแล้ว 3 ข้อ 

-----------------------------------------------------------

***การติดอุปกรณ์  Power Optimizer มี 2 แบบ คือถ้าใช้อินเวอร์เตอร์รุ่นเล็ก เช่น 5 หรือ 10 kW. ก็จะติดตั้ง Power Optimizer 1ตัวต่อ1 PV , รุ่น 25 หรือ 27.6 kW. ติดตั้ง Power Optimizer 1ตัวต่อ2 PV ***

     4.การมอนิเตอร์ระบบ หากใช้อินเวอร์เตอร์ ที่ไม่มี Power Optimizer การดูประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ก็จะดูได้เป็นราย String (อาจเป็น 5 - 25 แผง ขึ้นอยู่กับการจัดString ของอินเวอร์เตอร์แต่ละรุ่น) ดังนั้นหากประสิทธิภาพของระบบลดลง อย่างผิดปกติ เราก็ต้องทำการ หยุดระบบเพื่อทำการตรวจสอบเป็นรายแผง ว่าแผงใดกันแน่ที่เสีย (โดยอาจใช้ I-V Checker ตรวจสอบ ไล่ไปทุกแผง) ซึ่งก็อาจทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบพอสมควร

อ่านเพิ่มเติม...

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้

     ตอนนี้มาลงรายละเอียดระบบอินเวอร์เตอร์ หัวเว่ย โดยดูจากคู่มือนำเสนอของ Huawei แล้วเค้าตั้งชื่อว่า FusionSolar Residential Smart PV Solution. ซึ่งดูจากชื่อแล้วจะไม่ได้มีเฉพาะอินเวอร์เตอร์ อย่างเดียวแน่ๆ เพราะมีคำว่าโซลูชั่น แล้วก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์ สำหรับบ้านพักอาศัย ทีนี้ก่อนที่จะเข้าเรื่องของ  Huawei FusionSolar Residential Smart PV Solution. เราต้องมาทำความเข้าใจ เรื่องพื้นฐานก่อนที่จะเข้าเรื่อง Huawei Hybrid

ก่อนจะเข้าเรื่องต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก หัวเว่ย ประเทศไทย https://www.huawei.com/th/  และ บริษัท โพลีเทค จำกัด http://www.polytech.co.th/ 

อ่านเพิ่มเติม...

( ไม่ใช่โฆษณา แต่ อวยใส้แตก แหกใส้ฉีก SolarEdge ห้ามลอกเลียนแบบครับ )

          ทำไมมาเขียนถึง อินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อSolarEdge หล่ะ รับงานมาแน่เลย ?

ขอตอบเลยว่า ใช่...เอ้ย ไม่ใช่ ไม่ใช่...555...      

จริงๆแล้ว ก็แค่ไม่รู้จะเขียนเรื่องไรแล้ว หมดภูมิความรู้ที่จะเขียน นึกไม่ออก...

          และก็พอดีกับทีมงานของโซล่าฮับ ส่วนใหญ่ไปนำเสนอลูกค้าก็จะ ออกแบบใช้อินเวอร์เตอร์ SolarEdge ซะเป็นส่วนใหญ่ ก็เลยได้คลุกคลี ตีโมงมาบ้างพอสมควร ประกอบกับการไปนำเสนอลูกค้า บางครั้งเวลาไม่ค่อยพอ ที่จะได้พูดถึงคุณสมบัติแจ่มๆของSolarEdge ดังนั้นก็เลยเอาคุณสมบัติที่พิเศษ แจ่มๆ มาเขียนไว้ตรงนี้เลย จะได้แบ่งปันกันรู้ด้วย

อ่านเพิ่มเติม...

สำหรับว่าด้วยอินเวอร์เตอร์ Sungrow EP2 ตอนนี้ จะกล่าวถึงคุณลักษณะ รูปร่าง หน้าตา รวมถึงการติดตั้ง ว่าเป็นอย่างไร ตามไปดูกัน

ท่านที่ยังไม่ได้อ่าน EP1 ไปอ่านได้ที่นี่ ว่าด้วยอินเวอร์เตอร์ Sungrow EP1

>>> รูปร่างหน้าตา 

Inverter ยี่ห้อ SUNGROW รุ่น SG5.0RS สำหรับ 1 เฟส 220 V. ขนาด 5 กิโลวัตต์ มีขนาด กว้าง 41 ซ.ม. , สูง 27 ซ.ม. , หนา 15 ซ.ม.  มีหน้าจอ LED digital display & LED indicator แสดงผล

อ่านเพิ่มเติม...

Solar Panel : แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดีที่สุด , ดีที่สุดในด้านไหนบ้าง , คุณภาพดีที่สุด , ทนทานที่สุด , ผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด , เมื่อนานไปประสิทธิภาพลดลงน้อยที่สุด , ราคาคุ้มค่าที่สุด , การรับประกันยาวนานที่สุด , ผลิตจากจีน หรือยุโรป , รับประกันตั้ง 25 ปี แล้วบริษัทที่ผลิตจะอยู่ถึงวันที่รับประกันหรือป่าว , ? 

อ่านเพิ่มเติม...

ปัจจุบันนี้ เมื่อเราติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แล้วเราสามารถที่จะมอนิเตอร์กำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แบบออนไลน์ ได้แบบเรียลไทม์ ( Real Time Monitoring) โดยการมอนิเตอร์ดังกล่าว เราจะดูจากอินเวอร์เตอร์ของแต่ละยี่ห้อ ที่ทำระบบขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะดูได้จากเว็บบราวเซอร์ (ผ่านทางคอมพิวเตอร์) และแอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ ทั้ง ANDROID และ IOS เช่น

HUAWEI INVERTER ดูผ่านเว็บที่ https://sg5.fusionsolar.huawei.com  และดูผ่านแอปพลิเคชั่น ชื่อ Fusion Solar

อ่านเพิ่มเติม...

ทำไมต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ ประเภท Poly Crystalline ในการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้า บนหลังคา ใช้ Mono , Thin Film ไม่ได้เหรอ?

นี่คือคำถามที่ เราได้รับมาจากการไปนำเสนอโรงงานหรือสำนักงานที่มีความสนใจจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า คำตอบช่วงแรกๆของเราก็ ตอบไปตามตรงว่า ก็ต่างประเทศส่วนใหญ่ เค้าก็ใช้ Poly กันทั้งนั้นแหละ แต่คำตอบลึกๆแล้ว เราก็ให้ความกระจ่างไม่ได้ ว่าเพราะเหตุใด?

อ่านเพิ่มเติม...

ช่วงจังหวะ นี้มีแรงกระตุ้นที่ทำให้มีแพสชั่น : Passions (555ภภภ. ล่อภาษาประกิตเข้าให้ ) ให้เขียนถึง Inverter Sungrow อันเนื่องมาจาก Inverter ยี่ห้อดัง ยี่ห้อฮิต ขาดตลาด แถมขึ้นราคาอีกต่างหาก แถมเบิ้ลเข้าไปอีกว่า ถ้าซื้ออินเวอร์เตอร์ เค้าต้องให้จองก่อน แล้วจะคิดเป็นค่าเงินUS Dollar แต่จ่ายเงินไทยนะ (เพราะค่าเงินไทย อ่อนลงมากๆ ) เค้าจึงขอแก้ปัญหาได้ง่ายมากๆ มาให้กับ EPC หรือผู้รับเหมา รับความเสี่ยงไปแทนแล้วกัน  เออ!!! ง่ายดีวุ๊ย ^l^"

>>> กำไรที่มีอยู่น้อยนิด ที่พอจะจุนเจือทีมงานให้เดินต่อได้ ก็เป็นอันว่าต้องมาเจอค่าของขึ้น และต้องมารับความเสี่ยงค่าเงินบาทอีก
>>> พึ่งเคยเจอเหมือนกันที่ ผู้รับเหมาแบบบ้านๆ ต้องมาเสี่ยงเรื่องค่าเงิน อัตราแลกเปลี่ยนด้วยว่ะ ซึ่งถ้าเป็น เทรดเดอร์ หรือดีสตริบิวเตอร์ ก็ว่าไปอย่าง เพราะเป็นอาชีพซื้อมา ขายไป ที่เค้ามีความชำนาญอยู่แล้ว

>>> ก็เลยเป็นที่มาว่าจะลองเขียนรีวิว การใช้งาน ของ อินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อ Sungrow ที่โซล่าฮับได้ลองติดตั้งใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง ทั้งแบบออนกริด และแบบไฮบริด เพื่อเป็นทางเลือกให้เพื่อนช่างพิจารณาดู จะได้ไม่ต้องหวังพึ่งเพียงยี่ห้อใด ยี่ห้อหนึ่ง ครับ

อ๊ะ มาเข้าเรื่อง Inverter ยี่ห้อ Sungrow : ซันโกรว

เรามาดูภาพรวมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อ ซันโกรว กันก่อนว่ามีประวัติโชกโชน มากน้อยแค่ไหนในวงการ PV Inverter มาดูกัน...

อ่านเพิ่มเติม...

เนื่องจากในปัจจุบันนี้ (พ.ค.60) เทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอุปกรณ์หลัก 2 อย่างที่เป็นหัวใจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ คือ แผงโซล่าเซลล์ และ อินเวอร์เตอร์ วันนี้ขอกล่าวถึงประเภทของ Solar Inverter ที่มีวิวัฒนาการให้มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะกับการใช้งานในแต่ละประเภท 

Solar Inverter มีหน้าที่แปลงไฟฟ้า DC (จากแผงโซล่าเซลล์) ให้เป็นไฟฟ้า AC เพื่อนำมาต่อโหลดเพื่อใช้งานต่อไป 

ต้องขอออกตัวก่อน ว่าข้อมูลที่กล่าวถึงด้านล่างนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลโซล่า อินเวอร์เตอร์ ที่ทีมงานโซล่าฮับไปเจอะเจอมา ณ ในเวลานี้ (พ.ค.60) ซึ่งต่อไป อาจจะมีพัฒนาการหรือมี Innovation ที่เพิ่มความสามารถของ อินเวอร์เตอร์ ที่มากยิ่งๆขึ้นไปอีก หรือหากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องการแบ่งปัน หรือเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง รบกวนแจ้งมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ facebook.com/solarhub.co.th เพื่อทางทีมงานจะได้ตรวจสอบแก้ไขต่อไปครับ ทั้งนี้ก็จะได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม...

เนื่องจากขณะนี้ เม.ย.65 แผงโซล่าเซลล์ มีขนาดกำลังการผลิตต่อแผงที่มากขึ้น เป็นมากกว่า 500 W. บางยี่ห้อก็เกิน 600 Wต่อแผงแล้ว  แต่ก็ต้องแลกมากับขนาดของแผงที่ใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักที่มากขึ้นกว่าเดิม  เช่น บางยี่ห้อ ของเดิมขนาด 450 W. มีขนาด 1 x 2 ม. และนำหนักประมาณ 25 ก.ก. พอพัฒนาให้มีกำลังไฟฟ้ามากขึ้นเป็น 540 W. ขนาดก็เพิ่มขึ้นเป็น 1.25 x 2.35 ม. และน้ำหนักเพิ่มเป็น 32 ก.ก. เป็นต้น 

อ่านเพิ่มเติม...

โหลด (Load) หรือ ภาระทางไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เรานำมาต่อไฟฟ้าเพื่อใช้งานภายในบ้านทั่วๆไป นี่แหละครับ บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องมาพูดถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เรานำมาต่อใช้งานกับระบบด้วย ก็เรามีอยู่แล้วนิ ?


ก็เพราะว่าระบบไฟฟ้าที่เราผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งไม่สามารถผลิตใช้งานได้ตลอดเวลา เหมือนกับโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ(เขื่อน) หรือพลังงานไอน้ำ(จากถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ) ที่สามารถผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากเรานำระบบไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มาใช้เป็นพลังงานหลักแล้ว เราก็ต้องคำนึงถึงการเก็บพลังงานไฟฟ้า มาใช้งานในช่วงที่ไม่สามารถผลิตมาใช้งานได้ซึ่งก็คือช่วงกลางคืนหรือช่วงไม่มีแสงแดด ซึ่งอุปกรณ์ที่จะเก็บพลังงานไฟฟ้าก็คือแบตเตอรี่ นั่นเองครับ

อ่านเพิ่มเติม...