ช่วงจังหวะ นี้มีแรงกระตุ้นที่ทำให้มีแพสชั่น : Passions (555ภภภ. ล่อภาษาประกิตเข้าให้ ) ให้เขียนถึง Inverter Sungrow อันเนื่องมาจาก Inverter ยี่ห้อดัง ยี่ห้อฮิต ขาดตลาด แถมขึ้นราคาอีกต่างหาก แถมเบิ้ลเข้าไปอีกว่า ถ้าซื้ออินเวอร์เตอร์ เค้าต้องให้จองก่อน แล้วจะคิดเป็นค่าเงินUS Dollar แต่จ่ายเงินไทยนะ (เพราะค่าเงินไทย อ่อนลงมากๆ ) เค้าจึงขอแก้ปัญหาได้ง่ายมากๆ มาให้กับ EPC หรือผู้รับเหมา รับความเสี่ยงไปแทนแล้วกัน เออ!!! ง่ายดีวุ๊ย ^l^"
>>> กำไรที่มีอยู่น้อยนิด ที่พอจะจุนเจือทีมงานให้เดินต่อได้ ก็เป็นอันว่าต้องมาเจอค่าของขึ้น และต้องมารับความเสี่ยงค่าเงินบาทอีก
>>> พึ่งเคยเจอเหมือนกันที่ ผู้รับเหมาแบบบ้านๆ ต้องมาเสี่ยงเรื่องค่าเงิน อัตราแลกเปลี่ยนด้วยว่ะ ซึ่งถ้าเป็น เทรดเดอร์ หรือดีสตริบิวเตอร์ ก็ว่าไปอย่าง เพราะเป็นอาชีพซื้อมา ขายไป ที่เค้ามีความชำนาญอยู่แล้ว
>>> ก็เลยเป็นที่มาว่าจะลองเขียนรีวิว การใช้งาน ของ อินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อ Sungrow ที่โซล่าฮับได้ลองติดตั้งใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง ทั้งแบบออนกริด และแบบไฮบริด เพื่อเป็นทางเลือกให้เพื่อนช่างพิจารณาดู จะได้ไม่ต้องหวังพึ่งเพียงยี่ห้อใด ยี่ห้อหนึ่ง ครับ
อ๊ะ มาเข้าเรื่อง Inverter ยี่ห้อ Sungrow : ซันโกรว
เรามาดูภาพรวมอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อ ซันโกรว กันก่อนว่ามีประวัติโชกโชน มากน้อยแค่ไหนในวงการ PV Inverter มาดูกัน...
ไปค้นหามาจากกราฟ เมื่อปี 2020 ส่วนแบ่งการตลาดของ ตลาดอินเวอร์เตอร์สำหรับระบบโซล่าเซลล์ เค้าเรียกกันว่า PV Inverter แถบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ยอดขายและส่งสินค้าแล้ว หัวเหว่ย กับ ซันโกรว เค้าเบียดกันนิดหน่อย Huawei 28% และ Sungrow 23% ดังรูปด้านล่าง แต่ตอนนี้ปี 2022 แล้วก็ไม่แน่ใจว่าอันดับจะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด
Sungrow เกิดเมื่อปี ค.ศ.1997 หรือ พ.ศ.2540 หรือ เป็นวัยเบญจเพศพอดีเลย 25 ปี โดยทำธุรกิจอยู่ 10 ประเภท ดังรูปด้านล่าง
ตามรูปด้านบนก็เป็นการนำเสนอทั่วไป แต่ที่น่าสนใจคือก็พึ่งรู้เหมือนกัน ว่า Sungrow มีโรงงานผลิตในประเทศไทย แต่ก็ไม่รู้ว่าผลิตเฉพาะส่งออกหรือส่งขายในประเทศไทยด้วย
จากข้อมูลเว็บของ Sungrowpower.com เค้าแบ่งแยกการใช้งานเป็น 3 ส่วน
ประกอบด้วย
1.สำหรับบ้านพักอาศัย
2.สำหรับโครงการเชิพานิชย์
3.สำหรับโครงการระบบโครงข่ายสาธารณูปโภค
ทีมงานโซล่าฮับ ก็จะขอกล่าวเฉพาะรุ่นบ้านพักอาศัย และโครงการเชิงพานิชย์ ที่ได้สัมผัสและเกี่ยวข้องกับเราพอล่ะ ( ดังคำกล่าวที่ว่า "ยังไม่ได้สัมผัส อย่าพึ่งตัดสินคน" คำนี้ยังคงใช้ได้เสมอ )
Sungrow Inverter 1 เฟส รุ่น SG5.0RS
อันดับแรกเรามาดู Data sheet ของ Sungrow SG5.0RS
จาก Data sheet ขอสรุปเป็นข้อข้อๆ ให้เข้าใจง่าย ดังนี้
1.Sungrow SG5.0RS สำหรับงานบ้านพักอาศัย ขนาด 5 kW. 1 Phase ปรับปรุงขึ้นมาให้ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างไรบ้าง?
สำหรับงานบ้านพักอาศัย ขนาด 5 kW. 1 Phase ที่ปรับปรุงขึ้นมาให้ดีขึ้นกว่าเดิม คือมี 2 MPPT (รุ่นเดิมมีแค่ 1 MPPT) ซึ่งมันดีกว่ายังไง?
>>> 2 MPPT ก็เหมือนมีอินเวอร์เตอร์ย่อย 2 ตัว ในร่างเดียว ดังนั้นมันจึงเป็นอิสระต่อกัน ซึ่งบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ในเมืองไทย ก็เป็นบ้านทรงจั่ว ที่มีพื้นที่การรับแสงคนละฝั่งกัน ดังนั้นเช้ามา ฝั่งหนึ่งก็ได้รับแสงมากกว่าจั่วอีกฝั่งหนึ่ง ดังนั้นหากเราต่ออนุกรมแผงทั้งหมด 2 ฝั่งเป็น MPPT เดียวกัน แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าก็จะแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อมีความแตกต่างกัน ฝั่งที่รับแสงได้น้อยกว่า(กระแสและแรงดันก็น้อยกว่า) ก็จะเป็นโหลดของอีกฝั่งหนึ่ง (แทนที่ทั้ง2ฝั่งจะช่วยกันผลิตพลังงานไฟฟ้า แต่กลับเป็นว่าฝั่งหนึ่งพาย แต่อีกฝั่งหนึ่งเอาเท้าราน้ำ เป็นต้น)
>>> อินเวอร์เตอร์ สำหรับงานบ้านพักอาศัย ในเมืองไทยสำคัญมาก ที่จะต้องมี 2 MPPT เพื่อการต่อแผงโซล่าเซลล์ แยกฝั่งหลังคาที่รับแสงไม่เท่ากัน ให้อยู่คนละ MPPT กัน เช่น
> เราตั้งขนาด 5.85 kWp. โดยใช้แผง 450 W. 13แผง ติดตั้งบ้านทรงจั่ว เราก้อนุกรมแผง ฝั่งหนึ่ง 6 แผง เป็น MPPT1 และอนุกรมแผง 7แผง เป็น MPPT2 ซึ่งก็จะทำให้ MPPT เดียวกันรับแสงในทิศทางเดียวกัน และไม่เกิดความแตกต่างของแรงดันและกระแส เป็นต้น
>>> ซึ่งจากจุดนี้ Sungrow SG5.0RS ได้ปรับปรุงเป็นแบบ 2 MPPT แล้วเรียบร้อย
2.ผลผลิตสูง : HIGH YEILD
>>> ใช้ได้กับแผงทั่วไปและแผงแบบไบเฟเชี่ยล
>>> แรงดันสตาร์ทต่ำ >> อันนี้ก็เป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่ง เทียบง่ายๆว่าเราต่ออนุกรมแผงน้อยก็สามารถผลิตไฟได้ หรืออินเวอร์เตอร์ ตื่นเช้ามาทำงานก่อนชาวบ้านเค้า เดีียวค่อยมาดูเทียบกันกับยี่ห้ออื่น
>>> มีระบบป้องกัน Potential induced degradation (PID) *อันนี้เรื่องยาวว่างๆ ค่อยมาเล่าให้ฟัง สรุปคือป้อกันการดีเกรดของแผง หรือการป้องกันไม่ให้ประสิทธิภาพของแผงลดลงก่อนเวลาอันควร
3.เป็นมิตรกับการติดตั้ง : USER FRIENDLY SETUP *อันนี้ไม่ใช่ว่ายี่ห้ออื่น จะเป็น ศัตรูกับผู้ติดตั้งนะ
>>> Plug and Play >>> เสียบแล้วร้อง เอ๊ย...ไม่ใช่ เสียบแล้วใช้ได้เลย
>>> One click access to iSolarCloud >>> คลิกทีเดียวขึ้นคลาวด์ *อันนี้น่าจะเว่อร์ไปหน่อย น่าจะต้องหลายคลิกอยู่นะ
>>> ออกแบบปรับปรุงเรื่อระบายความร้อนให้ดีขึ้น
4.ปลอดภัยเชื่อถือได้ : SAFE AND RELIABLE
>>> มีวงจรป้องกันการเกิดอาร์คฟอลท์ >>> อาร์คฟอลท์ ก็คือการที่ระบบตรวจจับไฟ DC ว่ามีจุดต่อหรือจุดช็อตรึป่าวโดยดูตรวจจับากรูปคลื่นไฟกระแสตรงมีกระเพื่อมหรือผิดปกติหรือไม่ อันนี้ดีนะ *ว่างๆค่อยมาลงรายละเอียด
>>> มีระบบป้องกันการกัดกร่อน
5.ระบบบริหารจัดการอย่างหล่อ : SMART MANAGEMENT
>>> ข้อมูลอัพเดทอย่างไว *สงสัยได้ยิน Installerบ่นถึงยี่ห้อหนึ่งที่อัพเดทข้อมูลมอนิเตอร์ช้ามาก
>>> มอนิเตอร์ตลอด 24x7 *จริงๆอันนี้ไม่ต้องบอกก็ได้นะ ยี่ห้ออื่นเค้าก็ทำกันได้ ปกติอยู่แล้ว
>>> ดูค่า I-V Curve แบบออนไลน์ *อันนี้เข้าท่านะ ถ้าดูได้จริงและฟรี เพราะอีกยี่ห้อหนึ่งเสียตังค์ เดี๊ยวต้องลองทดสอบดูจริงๆจังๆ
6.ด้านอินพุท : Input (DC) *กล่าวถึงรุ่น 5 kW.เน้อ
>>> กำลังไฟฟ้าของแผงใส่ได้เต็มที่ 7.5 kWp. หรือDC to AC ratio 50 % *ถ้าใครใส่เกินการรับประกันอาจขาด แต่จริงๆแล้วเมืองไทยผมว่าใส่ไม่ควรเกิน 10-30% พอล่ะถ้าเกินอาจเกิดฝั่งDCล้นไปเปลืองเงินโดยใช่เหตุ
>>> แรงดันไฟฟ้าใส่ได้สูงสุด 600 V.
>>> แรงดันแผงทำงาน 40 V. / แรงดันที่ระบเริ่มทำงาน 50 V. *อันนี้ยังงงๆ กับความหมาย
>>> แรงดันที่อินเวอร์ผลิตไฟฟ้าได้พลังงานสูงสุดคือ 360 V.
>>> ช่วงแรงดันที่ทำงาน 4 - 560 V.
>>> มี 2 MPPT หรือมี 2 อินเวอร์เตอร์ย่อย ในร่างเดียว ดูข้อดีที่ข้อ1 โน่นเลย ^
>>> แต่ละ MPPT มี Terminal ให้แค่ 1 String *ปัจจุบันสำหรับงานบ้านพักอาศัย แผงที่ผลิตออกมา ไม่มีความจำเป็นต้องขนานสตริงแล้ว เพราะกระแสสูงเกิน 10A. ดังนั้นเบิ้ลกันก็ไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเกินจากที่อินเวอร์เตอร์ทนได้อยู่แล้ว
>>> แต่ละ MPPT จ่ายกระแสได้ 16 A. รวม 2 MPPT ก็เป็น 32 A.
>>> แต่ละ MPPT ทนกระแสได้ 20 A. รวม 2 MPPT ก็เป็น 40 A.
7.ด้านเอาท์พุท : Output AC
>>> กำลังไฟฟ้าออก 5,000 W.
>>> กำลังไฟฟ้าสูงสุด 5,000 W.
>>> กระแสออก 21.8 A. ที่ 230V.
>>> กระแสออกสูงสุด 22.8 A.
>>> แรงดันไฟฟ้าทำงาน 220 , 230 , 240 V.
>>> ช่วงแรงดันไฟฟ้าทำงาน 154 - 276 V.
>>> ความถี่ของกริดการไฟฟ้า 50 Hz / ทำงานช่วง 45 - 55 Hz
>>> ฮาร์โมนิค น้อยกว่า 3%
>>> Power Factor มากกว่า 0.99
8.ด้านประสิทธิภาพ
>>> ประสิทธิภาพสูงสุด 97.9%
>>> ประสิทธิภาพโซนยุโรป 97.9%
9.ด้านระบบป้องกัน
>>> มีมอนิเตอร์ของไฟการไฟฟ้า
>>> มีระบบป้องกันใส่ DC สลับขั้ว
>>> มีระบบป้องกันใส่ AC ช็อตเซอร์กิต
>>> มีระบบป้องกันกระแสลีค
>>> มี DC surge type2 / มี AC surge type2
>>> มี DC Switch
>>> มีมอนิเตอร์กระแสสตริง
>>> การหยุดตัดกระแสสตริง *เป็นอ๊อพชั่นเสริม
>>> มีระบบป้องกันการเกิด Potential induced degradation (PID) *อันนี้เรื่องยาวว่างๆ ค่อยมาเล่าให้ฟัง สรุปคือป้อกันการดีเกรดของแผง หรือการป้องกันไม่ให้ประสิทธิภาพของแผงลดลงก่อนเวลาอันควร
=======================================================
ตอนหน้า เรามาพบกับหน้าตาจริงๆ ของอินเวอร์เตอร์ รุ่น SG5.0RS และการติดตั้ง โปรดติดตามตอนต่อไป