fbpx

ก่อนเริ่ม EP2 ชอบคำคมอันนี้ มันลึกซึ้งมาก "ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงโลก เริ่มต้นเก็บที่นอนของคุณก่อน" โดนมากกก...555ถถถ...ลึกซึ้งๆ นับถือๆ ข้าน้อย ขอคารวะ...

เข้าอ่านEP1 ที่นี่ >>> รวมคำถาม คำตอบ ติดตั้งโซล่าเซลล์ โซล่าฮับสรุปไว้ให้แล้ว EP1

8. Q.>>> ติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า โดยไม่ขอขายไฟ แล้วไม่ขออนุญาตได้หรือป่าว ?

    A.>>> ตามระเบียบ ของกฟน. และ กฟภ. ที่เราเชื่อมต่อไฟใช้ไฟฟ้าของเค้า ต้องขออนุญาต ทั้งสิ้นไม่มีข้อยกเว้น (แต่ก็ยัง ไม่มีหน่วยกล้าตายฟ้องศาลไคฟง ว่าไม่ต้องขออนุญาตได้หรือป่าว?...โซล่าฮับขอเป็นกองเชียร์แล้วกัน..เดี๊ยวจะไม่มีคนเขียนบทความให้อ่านกัน!) 

 

      - ไม่ขออนุญาตฯ แล้วมีไรป่าว ? >>> ถ้าเค้าจับได้ ว่าเราติดโซล่าเซลล์ แล้วไม่ขออนุญาต ซึ่ง กฟน.เขต และหรือ กฟภ.เขต ที่รับผิดชอบ (อันนี้แล้วแต่เจ้าหน้าที่จะเข้มงวดมากน้อยขนาดไหน) ก็จะแจ้งให้เราปลดโซล่าเซลล์ ออกจากการขนานไฟ มิฉนั้นจะดำเนินคดีตามกฏหมาย .... แต่หลังจากนั้นเป็นไง ทางโซล่าฮับ ก็ไม่ทราบล่ะ แต่ก็ยังไม่ได้ข่าวว่าติดคุก หรือเสียค่าปรับเท่าไหร่ อย่างไร ไม่เป็นที่ปรากฏ

      - แล้ว กฟน. หรือ กฟภ. รู้ได้ไงว่าเราติดโซล่าเซลล์

          @ เจ้าหน้าที่ฯ จดบิลค่าไฟ เห็นมิเตอร์ หมุนถอยหลัง แล้วไปฟ้องส่วนกลางว่าผิดปกติ

          @ เจ้าหน้าที่ไฟฟ้า เห็นแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคา แต่ไม่เห็นมีเรื่องขออนุญาตฯ

          @ ค่าไฟฟ้า ลดลงแบบน่าใจหาย เช่นจาก 5,000บาท/เดือน เหลือ 500 บาท/เดือน เป็นต้น เค้ามีระบบประมวลผลAI เพื่อป้องกันว่ามิเตอร์เราเสียหายรึป่าว (เค้าเป็นห่วงเรา เกรงว่าเราจะเสียค่าไฟมากกว่าที่ใช้จริง...<('L')>

          @ การไฟฟ้าฯบางเขต อาจเครื่องมือตรวจจับ วัดค่ากระแสไฟฟ้าย้อนกลับเข้าโครงข่ายการไฟฟ้าฯ

 

9.Q.>>> ถ้าติดโซล่าเซลล์ แล้วเราไม่ใช้ไฟตอนกลางวันแล้วไฟจากโซล่าเซลล์ มันไปไหนล่ะ?

   A.>>> ถ้าบ้านเราใช้ไฟ น้อยกว่าที่โซล่าเซลล์ผลิตได้ ไฟฟ้าที่เหลือ ก็จะไหลย้อนกลับไปยังโครงข่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ไปจ่ายยังบ้านใกล้ๆ (อันนี้น่าจะดีกับการไฟฟ้าฯนะ เพราะว่าเก็บค่าไฟจากบ้านข้างๆได้ แต่ก็เสียค่าไฟในภาพรวม ให้ กฟผ. ลดลงหน่อย... อ่ะคิดไปเรื่อยเปื่อย..)

           - ซึ่งถ้าบ้านเราเป็นมิเตอร์จานหมุน ก็จะหมุนย้อนกลับทาง แล้วตัวเลขก็จะถอยหลังกลับไปด้วย ซึ่งก็จะมีผลว่า ถึงแม้ว่าเราไม่อยู่บ้าน หรือไม่ใช้ไฟฟ้าตอนกลางวัน ก็ทำให้ค่าไฟฟ้าเราลดลงด้วย เพราะมิเตอร์หมุนถอยหลัง ตราบใดที่มีแสงแดด แต่วิธีนี้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบ ของการไฟฟ้าฯ เพราะถ้าเราไปขออนุญาตให้ถูกต้อง การไฟฟ้าฯ ก็จะมาเปลี่ยนเป็น ดิจิตอล มิเตอร์  ถึงแม้ว่าไฟฟ้าไหลย้อนกลับก็จริง แต่ตัวเลขมิเตอร์ ไม่ได้ถอยตามไปด้วย

           - แต่ถ้าติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แล้วติดตัวกันย้อน หรือ Zero Export กรณีที่เราไม่ได้ใช้ไฟฟ้า ก็จะทำให้ไม่มีไฟฟ้าไหลย้อนกลับไปยังโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ เพราะอินเวอร์เตอร์ก็จะผลิตไฟฟ้า ให้พอดีกับที่เราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรา

 

 10. Q.>>> ขอเชื่อมขนานไฟ ต้องติดอุปกรณ์อะไรมั่ง ไหนชี้แจงแถ-ลง มาซิ?

     ข้อนี้ไคลแม๊ก ขีดเส้นใต้ ทำตัวหนา ทำสีแดง ทำตัวเอน ไว้เลย    

 

    A.>>> - กรณีของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เชื่อมขนานไฟแรงต่ำ (หรือไม่มีหม้อแปลงของตัวเอง) ถ้าติดตั้งขนาดไม่เกิน 15 kw. (จากขนาดรวมของแผงโซล่าเซลล์) ต้องติด Zero Export หรือตัวกันย้อน

              - กรณีของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เชื่อมขนานไฟแรงสูง (หรือมีหม้อแปลงของตัวเอง) และหรือมีขนาดติดตั้งเกิน 15 kW.ขึ้นไป ต้องติดตั้ง Relay Protection และหรือ Zero Export หรือตัวกันย้อน เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งได้เขียนรายละเอียดไว้แล้วคลิกไปดูโดยพลัน (EP4) Relay Protection และ Zero Export สำหรับระบบโซล่าเซลล์

             - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เชื่อมขนานไฟแรงต่ำ (หรือไม่มีหม้อแปลงของตัวเอง) ถ้าติดตั้งขนาดไม่เกิน 15 kw. บังคับให้ติดตั้ง Zero Export หรือตัวกันย้อน (อันนี้บางพื้นที่ก็ไม่ต้องติดกันย้อนนะ ก็งงอยู่ ขึ้นกับแต่ละเขต อุ๊บหรือขึ้นกับแต่ละคนกรวจ..พูดลอยๆ) และต้องติดตั้งเบรคเกอร์ ชนิด RCBO

              - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เชื่อมขนานไฟแรงสูง (หรือมีหม้อแปลงของตัวเอง) ละหรือมีขนาดติดตั้งเกิน 15 kW.ขึ้นไป บังคับให้ต้องติดตั้งระบบ Relay Protection เท่านั้น  โดย Zero Export ไม่ได้บังคับ >>> แต่ถ้าผู้รับเหมาไม่ติด Zero Export ก็จะเกิดเป็นปัญหาการใช้งานในอนาคตที่ Relay

              - หากติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ขนาดตั้งแต่ 250 kW.ขึ้นไป (ดูจากขนาดของอินเวอร์เตอร์) ทั้งกฟน. และ กฟภ. บังคับให้ติดตั้ง Power Quality Meter (PQM)

              - หากติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ขนาดตั้งแต่ 200 kW.ขึ้นไป (ดูจากขนาดแผงโซล่าเซลล์) ต้องขอใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม พค.2 จาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่ง ทาง พพ. ก็จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการติดตั้งที่หน้างาน (กรณีนี้ เราทำเรื่องยื่นไปที่ กกพ. ที่เดียว แล้ว กกพ. ก็จะประสานต่อให้เอง)

              - ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด ไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม ต้องแจ้ง กับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการผลิตไฟฟ้า ซึ่งถ้าเป็นการขออนุญาตติดตั้งตามบ้านพักอาศัย ต้องขออนุญาตที่ กกพ.เขต ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศมีอยู่ 13เขต http://www.erc.or.th/OERCWEb/map.aspx  แต่การขออนุญาตสำหรับนิติบุคคลหรือโรงงานขนาดใหญ่ ก็ต้องขออนุญาตที่ กกพ. สำนักงานใหญ่ อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 19 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 

          

>>>เอาพอเป็นกระษัยแค่นี้ก่อน เดี๊ยวงง ไปกันใหญ่ แต่แว่วๆมาว่า ภายในปี 2564 อาจมีระเบียบใหม่ ว่าไม่บังคับติด Relay Protection ทั้ง กฟน. และ กฟภ.!!!<<<