ตัวอย่าง Single Line ของSolar Rooftop(SolarRoof X-Ray6)

เริ่มต้นด้วยตัวอย่างSingle Line Solar Rooftop ซึ่งจากตัวอย่างรูปนี้จริงๆมี Inverter ขนาด 25 kWp. จำนวน 3 ตัว (แต่ตัดมาให้ดูแค่ตัวเดียว) เริ่มจากด้านขวามือ ไล่มาทางซ้ายมือ
เริ่มต้นด้วยตัวอย่างSingle Line Solar Rooftop ซึ่งจากตัวอย่างรูปนี้จริงๆมี Inverter ขนาด 25 kWp. จำนวน 3 ตัว (แต่ตัดมาให้ดูแค่ตัวเดียว) เริ่มจากด้านขวามือ ไล่มาทางซ้ายมือ
จุดที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ Inverter ก็มีข้อควรพิจารณาอยู่หลายประการ เช่น
1.ควรติดตั้งใกล้กับแผง PV เนื่องจากหากวางใกล้กันก็จะทำให้ประหยัดสายไฟ DC ที่เดินจาก PV ไปยัง ตู้ Combiner Box ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะติดตั้งในห้อง Inverter Room (ก็มีบ้างบางแห่งที่ ติดตั้งตู้ Combiner Box ไปติดตั้งบนหลังคาที่ใกล้กับแผง PV แล้วจึงดึงสายไฟที่มีการรวมหลายString แล้ว ไปยังห้อง Inverter Room ) อีกทั้งหาก ติดตั้ง Inverter ห่างจาก PV มากเกินไป เป็นร้อยๆเมตร อาจมีผลเรื่องแรงดันตกคร่อม ซึ่งเราก็ต้องเพิ่มขนาดสายให้ใหญ่ขึ้นไปอีก
ความเดิมคราวก่อน เราได้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือ PV บนหลังคาแล้ว ต่อจากนั้นเราก็ต้องเดินสายไฟฟ้า DC หรือเค้าเรียกกันว่า สาย PV1-F โดยใส่ในท่อร้อยสาย(Conduit) หรือรางสายไฟ (WireWay) เพื่อเดินมายัง DC Combiner Box (เป็นจุดรวมสายไฟ DC แต่ละ String มาต่อขนานกันเพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แต่โวลท์เท่าเดิม) ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะติดตั้งอยู่ในห้อง Inverter Room หรือใกล้กับตัวInverter สำหรับท่อร้อยสาย และรางเดินสายไฟก็มีทั้งแบบใช้ภายนอกอาคารและใช้ภายในอาคาร (เดี๊ยวค่อยลงรายละเอียดในตอนถัดๆไป)
การประมาณการ ค่าการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่เหล่ามืออาชีพนักออกแบบระบบโซล่าเซลล์ เค้านิยมใช้กันก็มี โปรแกรม PVSYST ครับที่ใช้กันเยอะซึ่งราคาก็แพงเอาเรื่องอยู่ ประมาณ 1,025 usd /1 license และการใช้งานก็ยุ่งยากซ้ำซ้อนต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้โปรแกรม
กรณีที่เรามีความต้องการที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคาโรงงานเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า เราสามารถที่จะลองประมาณการก่อนได้ว่า เมื่อเราติดตั้งแล้ว เราจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้สักกี่หน่วย หรือกี่ยูนิต กันแน่ แล้วมันจะคุ้มค่าเงินลงทุนที่เราลงไปหรือไม่ วันนี้โซล่าฮับ จะมาแนะนำระบบประมาณการ ค่าการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่เชื่อถือได้ ที่สำคัญคือ ฟรี! ครับ นั่นคือ>>> PVWatts Calculator
หลังจากที่มึนงงกับ การออกแบบการต่อแผงโซล่าเซลล์ไปก่อนหน้านี้กันแล้วกันแล้ว ทีนี้จะพามาดูการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ สำหรับโรงงาน ทั้งนี้หากจะแบ่งลักษณะการติดตั้ง Solar PV Rooftop ผมขอแบ่งเป็น 2 ลักษณะ (มีอย่างอื่นอีกหรือป่าว ไม่แน่ใจครับ แต่ขอกล่าว 2 ลักษณะแล้วกันครับ)
1.ติดตั้งยึดติดบนหลังคา หรือ Roof Mounting
1.1 หลังคาแบบเมทัลชีต
1.2 หลังคาซีแพ็ค
1.3 หลังคากระเบื้อง
2.ติดตั้งบนดาดฟ้าของอาคาร หรือ Ground Mounting
การต่อแผงโซล่าเซลล์ ก่อนอื่นต้องรู้ Specification ของ ตัวแผงโซล่าเซลล์ (ต่อจากนี้จะเรียก PV นะครับ) และ อินเวอร์เตอร์ ก่อน เพื่อจะได้นำมาออกแบบได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งต้องมีความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าเบื้องต้นมาก่อน ซึ่งบทความก่อนหน้านี้ ทางทีมงานโซล่าฮับได้ปูพื้นฐานไปมากพอควรแล้ว สามารถไปหาอ่านได้ที่ facebook.com/solarhub.co.th และที่เว็บ solarhub.co.th ที่เมนู ความรู้เบื้องต้นทางไฟฟ้า เช่น
- การต่ออนุกรม ทำให้ แรงดัน(V)เพิ่ม , กระแส(A) เท่าเดิม , กำลังไฟฟ้าเพิ่ม
- การต่อขนาน ทำให้ กระแส(A)เพิ่ม , แรงดัน(V) เท่าเดิม , กำลังไฟฟ้าเพิ่ม
- สูตรพื้นฐานทางไฟฟ้า P=ExI , E=P/I , I=P/E
จากการที่ทีมงานโซล่าฮับได้ไปพบลูกค้า หรือผู้ที่สนใจจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ทั้งในบ้าน สำนักงาน ในโรงงานขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ พบว่าอาจจะมีความกังวล และความเข้าใจในรายละเอียดการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า หรือในบางครั้ง อาจเรียกว่า Solar PV RoofTop ซึ่งในเมืองไทยอาจจะยังไม่ค่อยมีข้อมูล หรืออาจมีแต่เป็นข้อมูลที่กระจัดกระจาย ที่ต้องใช้เวลาในการศึกษา ทำความเข้าใจ โดยบางท่านอาจจะมีความกังวลว่า ต้องติดตั้งโดยใช้แบตเตอรี่ด้วยหรือไม่?
ประมาณการติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด บนหลังคา เชื่อมกับระบบจำหน่ายฯ สำหรับผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Solar RoofTop OnGrid) โดยมีรายละเอียดขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าในแต่ละวัน , แต่ละเดือน , จำนวนเงินที่ประหยัดค่าไฟในแต่ละเดือน และปี , จำนวนแผง PV ที่ใช้ , ขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้ง , จำนวนเงินลงทุน และระยะเวลาคุ้มทุน ทางทีมงานโซล่าฮับ ได้รวบรวมและคำนวณเพื่อเป็นแนวทางหรือไกด์ไลน์ สำหรับผู้ที่สนใจจะติดตั้งโซล่าเซลล์
วิศวกร หรือช่างเทคนิคในโรงงาน อาจจะกังวลหรือเกิดคำถาม อยู่ในใจหลายอย่าง ว่าหากติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าแล้ว จะมีผลกระทบกับระบบไฟฟ้าหรือเครื่องจักรในโรงงานหรือไม่? ทีมงานจึงขอรวมคำถามและคำตอบ ดังนี้
1. Q. ต้องติดตั้งโดยใช้แบตเตอรี่หรือไม่?
พลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา ( Solar PV RoofTop ) เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า นี้เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยแบบ 1-Phase หรือ 3-Phase ที่ใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันจำนวนมาก โดยติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาด 1-10 KW ซึ่งมีอุปกรณ์ส่วนประกอบที่ต้องติดตั้ง ดังนี้
หากเราจะนำระบบโซล่าเซลล์ แบบอ๊อฟกริด มาใช้เป็นพลังงานหลัก เราจึงต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดก่อนว่า พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งไม่สามารถผลิตใช้งานได้ตลอดเวลา เหมือนกับโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ(เขื่อน) หรือพลังงานไอน้ำ(จากถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ) ที่สามารถผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากเรานำระบบไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มาใช้เป็นพลังงานหลักแล้ว เราก็ต้องคำนึงถึงการเก็บพลังงานไฟฟ้า มาใช้งานในช่วงที่ไม่สามารถผลิตมาใช้งานได้ซึ่งก็คือช่วงกลางคืนหรือช่วงไม่มีแสงแดด ซึ่งอุปกรณ์ที่จะเก็บพลังงานไฟฟ้าก็คือแบตเตอรี่ นั่นเองครับ
ต้องใช้พื้นที่หลังคาเท่าไหร่ อย่างไรและต้องหันไปทางทิศใด?
เทคโนโลยีการผลิตแผงโซล่าเซลล์ สามารถผลิดกระแสไฟฟ้าได้ประมาณแผงละ 300 W ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (เม.ย.59) โดยมีขนาด ประมาณ (กว้างxยาวxหนา) 100 x 200 x 4 ซ.ม. และ มีน้ำหนักประมาณ 25 – 30 ก.ก. ดังนั้นแผงจะมีน้ำหนักประมาณ 12 – 15 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่ง หากหลังคาที่สร้างมาไม่เกิน 10 ปี ก็สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ แต่หากเกิน 10ปี ต้องตรวจสอบโครงสร้างก่อนว่าสามารถรับนำหนักของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่จะนำมาติดตั้งได้หรือไม่
จากการที่ทีมงานโซล่าฮับ ได้รวบรวมและเขียนบทความเกี่่ยวกับ ข้อมูลเบื้องต้นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ : โซล่าเซลล์ ที่ได้ลงใน facebook/solarhub.co.th และลงในเว็บ SolarHub.co.th ไปแล้วนั้น ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี แต่เนื้อหาหรือบทความกระจัดกระจาย บางท่านอาจจับต้นชนปลายไม่ถูก ดังนั้นจึงได้รวบรวมเป็นไฟล์ PDF เพื่อจะได้ง่ายในการอ่านเพิ่มเติมหรือศึกษาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ท่านสามารถดาวโหลดข้อมูลเบื้องต้นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ : โซล่าเซลล์ ได้ที่นี่
เนื่องจากในขณะนี้ (เม.ย.59) ภาครัฐได้ปิดการรับสมัครการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เมื่อ 30 มิถุนายน 2558 ( ซึ่งหากเข้าโครงการนี้ ภาครัฐจะจ่ายค่ารับซื้อไฟ 6.96 บาท/หน่วย ) ดังนั้นในที่นี้จะแนะนำการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า สำหรับบ้านพักอาศัย โดยใช้รูปแบบการติดตั้งระบบ ออนกริด ( On Grid ) หรือ แบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า (ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษารูปแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์ได้ที่นี่) โดยมีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องให้ความสำคัญในการพิจารณา และขอตอบคำถามเป็นรายข้อ ดังนี้
จากข้อมูล เว็บของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน Energy Regulatory Commission ระบุว่า ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแล้ว หรือเพื่อใช้ภายในอาคารหรือกิจการซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับได้ Online บน Website ของสำนักงาน กกพ. ส่วนกลางหรือสำนักงาน กกพ. ประจำเขตในแต่ละพื้นที่อาคารตั้งอยู่
คือระบบที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แล้วไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่าย ของการไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระบบนี้เหมาะกับสถานที่ไม่มีไฟฟ้า หรือที่ไฟเข้าไม่ถึง ไม่คุ้มที่จะเดินลากสายไฟยาวๆเข้ามาใช้เนื่องจากต้นทุนสูง โดยเพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าขอจำแนกประเภท จากการนำไปต่อเพื่อใช้งานดังนี้
สำหรับท่านที่กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาติดตั้ง Solar PV RoofTop เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย ทางทีมงาน SoLarHub.co.th ขอรวบรวมเป็นลิงค์ ตามลำดับความสำคัญเพื่อการทำความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยข้อดีคือสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายให้กับ การไฟฟ้าฯ (ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการก่อน ) หรือนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเองเพื่อลดค่าไฟฟ้า หากผลิตไม่พอใช้อุปกรณ์ควบคุมก็จะนำไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้ามาใช้งานทดแทน
เรามีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยได้รับความไว้วางใจให้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ รูฟท็อป ชนิดออนกริด (Solar PV Rooftop OnGrid) จำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย
1.การไฟฟ้านครหลวง เขตบางกะปิ จำนวน 61.20 KW
2.การไฟฟ้านครหลวง เขตบางพูด จำนวน 61.20 KW
3.การไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย จำนวน 122.40 KW
ปัจจุบัน มาตั้งสำนักงานที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี แผนที่ บ.โซล่าฮับ ลาดหลุมแก้ว
♦ จุดเริ่มต้นของ โซล่าฮับ คือเป็นผู้รับเหมาย่อย หรือ Sub Contractor รับงานติดตั้งโซล่าเซลล์ ตั้งแต่ปี 2558 สั่งสมประสบการณ์ มาสักระยะหนึ่งก็พบสัจจธรรม ที่ว่า ราคาค่าแรง ก็จะถูกกด ลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการติดตั้งตามที่ผู้ว่าจ้าง (Main Contractor) กำหนดมา บางเรื่องมันไม่ถูกต้องทั้งในทางปฏิบัติ และไม่ถูกต้องทั้งในทางทฤษฎี เพราะเค้าก็ต้องทำในต้นทุนที่ถูกจำกัด (แต่ละคน แต่ละหน้าที่ ก็จะมีกำแพงขีดกั้น ทำให้ผลกระทบก็เกิดขึ้นกับลูกค้า )
♦ รวมๆแล้ว ทำงานแบบขัดความรู้สึก และถ้ายังฝืนรับงานเป็น ซับคอนแทรคเตอร์ ต่อไปก็มีแต่ถอยหลังลงคลอง เหมือนกับหมาวิ่งบนทางด่วน ต้องวิ่งไปเรื่อย อย่างเดียว ห้ามหยุด ถ้าหยุดก็โดนรถชนตาย แต่ก็จะเหนื่อยไปตลอดชีวิต ไม่มีความสุขในการทำงาน และใช้ชีวิต มองไม่เห็นอนาคต...
ซึ่งช่วงหลังๆมานี้ ทางโซล่าฮับ ก็เน้นจับมือกันเป็นพันธมิตร : พันธะ+มิตรที่ดี ที่เน้นความถนัดหรือจุดเด่น ของคู่ค้ากันดีกว่า เพื่อจะได้ช่วยกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ดีที่สุด กับลูกค้า
>>> ที่กล่าวข้างต้นมิใช่ว่า การเป็นผู้รับเหมาย่อย ไม่ดี หรือไม่มีอนาคตนะครับ ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคล หรือเส้นทางที่ท่านเลือกเดิน <<<
ขอกล่าวถึงอายุการใช้งานและการรับประกันของ การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้
1.แผงโซล่าเซลล์ หรือ แผง PV ย่อมาจาก PhotoVoltaic หรือ solar panel (ในวงการฯเค้าเรียกชื่อกันหลายอย่างครับ เลยขอเอ่ยไว้หน่อย เผื่อท่านไปได้ยินมาจะได้ไม่งง ว่ามันคือไรหว่า) ส่วนใหญ่แผง PV ประสิทธิภาพในปีแรกเมื่อติดตั้ง จะลดลงประมาณ 2.5 % เนื่องจากมีผลึกที่ประกอบเป็นโซล่าเซลล์ ทำปฏิกิริยากับสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อม และหลังจากนั้น ปีที่ 2-25 ประสิทธิภาพจะลดลงปีละประมาณ 0.7 % ดด้านล่างนี้เป็นตารางแสดงรายละเอียด การลดลงของประสิทธิภาพแบบคร่าวๆ
1.บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ เขียนแบบ และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ คุณภาพมาตรฐานสากล มุ่งเน้นความคุ้มค่า ปลอดภัย
ที่ผ่านมาทีมงานโซล่าฮับ ได้รับคำถามจากท่านลูกค้าจำนวนมากว่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆอย่างเช่น ที่บ้านใช้แอร์ 3 เครื่อง ใช้พัดลม 3 ตัว ตู้เย็น 2เครื่อง เครื่องซักผ้า1เครื่อง TV 3 เครื่อง.... และอื่นๆอีกมากมาย จะติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟได้ไหม ต้องติดขนาดเท่าใด เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และประหยัดค่าไฟได้เท่าไหร่ ? เป็นต้น จากคำถามข้างต้น ทางทีมงานโซล่าฮับขออธิบายแบบง่ายๆดังนี้