fbpx

ณ วันที่เขียนบทความนี้ เดือน ก.พ.65 ช่วงนี้ในแวดวง คนทำโซล่าเซลล์ ก็ได้ยินการพูดคุยแต่เรื่อง  วสท. จะประกาศมาตรฐานใหม่ ที่จะเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับ Rapid Shutdown และ AFCI (Arc Fault Current Interrup) แล้วก็ขยายความกันใหญ่โตมโหรทึก โดยเฉพาะเซลล์หรือคนที่จะขายอุปกรณ์Rapid Shutdown และตัว AFCI ที่ได้ทีขี้แพะไหล เอ๊ย.. ได้ทีขี่แพะไล่ ใส่ใหญ่เลย ว่าถ้าไม่ติดตั้งมีสิทธิ์ที่จะขออนุญาตไม่ผ่าน เป็นต้น

 EIT STANDARD 2565 intro

วันนี้พอจะเจียดเวลา ที่มีอยู่น้อยนิด (ไม่ว่างเพราะต้อง..นอน..) เลยมาบอกกล่าวเล่าสิบให้ควัง..

Rapid Shutdown หมายถึง การปิดระบบอย่างรวดเร็ว (อันนี้แปลจาก Google Translate มาฮะ) ความหมายลึกๆ คือถ้าเกิดเหตุการณ์ ไม่คาดฝัน หรือเกิดเหตุหน้าสิ่ว หน้าขวาน ก็ต้องทำให้ระบบโซล่าเซลล์ ปิดระบบได้อย่างทันที ทันใดนั่นเอง อ้าวแล้วที่ติดใช้งานกันอยู่ มันไม่ได้ปิดแบบทันทีทันใดรึ!!!

ตามมา...

ก่อนจะเข้าใจเรื่อง Rapid Shutdown เราต้องเข้าใจก่อนว่า

>แผงโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งบนหลังคา ขนาดประมาณ 1 x 2 ม. นั้นเมื่อรับแสงแดดแล้วแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือไฟฟ้า DC (Direct Current) โดยจะเป็นไฟขั้วบวก+ และขั้วลบ- คล้ายๆไฟแบตเตอรี่หรือไฟถ่านไฟฉายนั่นเอง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ก.พ.65 แผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งกันอยู่นี้ มีขนาดกำลังไฟฟ้าประมาณ 300 - 600 วัตต์ และมีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 40 - 60 โวลท์ ต่อแผง

>เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เราใช้อยู่ จะใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ดังนั้นไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลลื จึงนำมาใช้เลยไม่ได้ โดยไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ ต้องผ่านอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ก่อนจึงนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราได้

>ทีนี้จะเห็นว่าติดตั้งกันจำนวนหลายๆแผง บนหลังคานั้น เราไม่ได้นำขั้วบวก ขั้วลบ มาแปลงเป็นไฟฟ้า AC แต่ละแผงนะครับ เราต้องนำมาต่ออนุกรมกันหลายๆแผงก่อน แล้วจึงนำมาต่อเข้ากับตัวอินเวอร์เตอร์ ก่อนแล้วจึงแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ  มาดูรูปการต่ออนุกรมดังรูปด้านล่าง

>แล้วแต่ละบ้าน หรือแต่ละโรงงานต่ออนุกรมกันกี่แผงล่ะ?  >>> ขึ้นอยู่กับสเป็คของแผง สเป็คอินเวอร์เตอร์ และประเภทของการนำไปใช้งาน

   >> ถ้าติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย ใช้อินเวอร์เตอร์ขนาด 3 kW.(กิโลวัตต์) , 5 kW. และ 10 kW. ซึ่งก็จะต่อแผงอนุกรมกัน ประมาณ 4 - 12 แผง เป็นต้น

   >> ถ้าติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ ก็จะใช้อินเวอร์เตอร์ขนาด 20 , 30 , 36 , 60 , 90 , 100 kW. ก็จะต่อแผงอนุกรมกันประมาณ 14 - 25 แผง เป็นต้น

>ทีนี้เมื่อนำมาต่ออนุกรมกันหลายๆแผง ค่าแรงดันก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เช่น

    >> ถ้างานบ้านพักอาศัย ต่ออนุกรมกันประมาณ 8 แผง แรงดันไฟฟ้า ตอนมีแดดแรง ช่วง 11โมง ถึง บ่าย2 ค่าแรงดันไฟฟ้า ประมาณ 300 - 400 โวลท์ (V.)

    >> ถ้างานโรงงานขนาดใหญ่ ต่ออนุกรมกันประมาณ 16 แผง แรงดันไฟฟ้า ตอนมีแดดแรง ช่วง 11โมง ถึง บ่าย2 ค่าแรงดันไฟฟ้า ประมาณ 600 - 800 โวลท์ (V.)

>ไฟฟ้าที่บ้านเราเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แรงดันไฟฟ้าประมาณ 220 โวลท์ (V.) >> แล้วลองคิดดู ไฟฟ้าแรงดัน 220 V. ที่บ้านเราถ้าโดนดูดก็ ไม่รอด ถ้า 300 - 800 V. ช็อตเราก็ไม่น่ารอด

> ถ้าแรงดันไฟฟ้าเท่ากัน วัดกันหมัดต่อหมัด ไฟฟ้ากระแสตรง น่ากลัวกว่าและอันตรายกว่า ไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นอย่างมาก  >>> แล้วน่ากลัวอย่างไร ติดตามตอน EP2 เน้อ

>>>>"L" อย่าลืมให้กำลังใจ กดไลค์ เพจ www.facebook.com/solarhubfc เน้อจะได้ต่อ EP2 อย่างไว...

Rapid Shutdown ในระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร? EP2

Rapid Shutdown ในระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร? EP3

Rapid Shutdown ในระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร? EP4