ก่อนอ่าน EP2 คลิกอ่าน Rapid Shutdown ในระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร? EP1 , Rapid Shutdown ในระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร? EP2 , Rapid Shutdown ในระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร? EP3
มาถึง ณ ตอนนี้ มีนาคม 2565 ที่มีเรื่องราวที่เป็นที่ติดของสังคมเป็นอย่างมาก น้องแตงโม พลาดตกน้ำเสียชีวิต ก็ต้องขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง
ที่นี้มาว่ากันเรื่อง Rapid Shutdown (ภาษไทย เค้าเขียนอย่างนี้รึป่าวไม่แน่ใจ >>> แรพพิด ชัทดาว ) ในเมืองไทย เรานี้ ก็ยังไม่มีการประกาศ กฏ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง กับ Rapid Shutdown แต่ก็มีข่าวแว่วๆว่า วสท. กำลังจะประกาศ แต่ก็ยังไม่ออกมาเป็นทางการ อีกทั้งหาก หาก วสท. ประกาศ ออกมาแล้ว อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่ กกพ. , กฟน. และ กฟภ. จะนำมาใช้อ้างอิง บังคับให้กับผู้ติดตั้งหรือไม่อย่างไร และจะมีระยะเวลา ให้กับผู้ติดตั้งเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนหรือไม่อย่างไร ?
อย่ากระนั้นเลย ตอนนี้ก็มาพูดถึงในชีวิตจริง เมืองไทย กันดีกว่าว่า อุปกรณ์ Rapid Shutdown มียี่ห้อไหน จำหน่ายกันบ้าง และแต่ละยี่ห้อ คุณสมบัติ อย่างไรบ้าง ก็ตามมาดูกัน
แต่ก่อนที่จะไปดู Rapid Shutdown แต่ละยี่ห้อเรา มาดูข้อที่ควรจะต้องพิจารณา ในมุมของผู้ติดตั้ง (Installer) และในมุมลูกค้าหรือผู้ใช้งาน (Owner) อย่างไรบ้าง
- ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แล้วติดอุปกรณ์ Rapid Shutdown เพิ่มได้ไม๊?
- มีระบบมอนิเตอร์หรือไม่?
- ตัดสตริง หรือ ตัดแต่ละแผง หรือตัด2แผง
- ต้องใช้Power Supply ไปจ่ายไฟให้กับ ตัวRapid Shutdown ไม๊?
- ถ้าต้องใช้ไฟ จ่ายให้กับตัว อุปกรณ์ Rapid Shutdown แล้วใช้ไฟ AC หรือ DC กี่โวลท์
- ถ้ามีระบบมอนิเตอร์ แล้วใช้อะไรเป็นตัวมอนิเตอร์? เช่น Wifi , Wifi Direct , Bluetooth , power line , สายแลน , RS485 , Modbus....
- ติดตั้งยากไม๊?
- รับประกันกี่ปี
- ราคาแพงไม๊? แล้ว เทียบกับถ้าติด Power Optimizer แล้ว ดีกว่า หรือถูกกว่า กี่มากน้อย?
- ติดแล้วน้ำจะเข้า เกิดช็อตเหมือนที่ออสเตรเลียไม๊?
- สามารถรีโมท ปิดระบบ แบบระยะไกลได้ไม๊?
- สามารถ ปิดระบบ แบบอัตโนมัติ ได้ไม๊ เช่น เกิดไฟไหม้ แล้วตัดเลย ไรงี๊ ?
............
เอาคำถามไปพอหอมปากหอมคอ ทีนี้เรามาดูแต่ละยี่ห้อกันสเป็ค Rapid Shutdown แต่ละยี่ห้อกันเลย
<<< อุปกรณ์ Rapid Shutdown ที่นำมาให้ดูชมนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ที่ทีมงานโซล่าฮับ นำมาศึกษา หาข้อมูล แล้วนำมาย่อย ให้อ่านเฉยๆ และยังไม่ได้นำมาใช้งานจริง หากมีข้อ ขาดตกบกพร่อง ต้องขออภัยด้วยเน้อ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ก็จะเริ่มนำมาทดลองใช้ดู แล้วก็จะมารีวิว ให้อ่านกันอีกที อีกทั้ง หากท่านใด พบเจอมาว่ามียี่ห้ออื่นใด ที่น่าสนใจก็แจ้งเข้ามาได้ สืบเสาะ ค้นแคะ แกะเกา มาให้นายท่าน ได้รับทราบทั่วกัน >>>
1. ZJBENY >> Solar Panel Rapid Shutdown , Safety Solution , BFS Series
เดิมน่าจะชื่อ ยี่ห้อ BENY เฉยๆ แบรนด์จากประเทศอังกฤษ แล้วน่าจะถูกพี่จีน เทคโอเวอร์ เลยเปลี่ยนชื่อเป็น ZJBENY ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับระบบ Protection ของระบบโซล่าเซลล์ มากว่า 30 ปี
รุ่นที่นำมาดู เป็นรุ่น BFS-11/BFS-12
♦ จากข้อมูลตามรูปข้างต้น จะเห็นว่ามี 2 รุ่น คือรุ่นเล็ก BFS-11 RSD ที่ต่อได้ 2 แผง และรุ่นใหญ่ BFS-12 RSD ที่ต่อได้ 4 แผง แต่ทั้ง2รุ่น นี้รองรับแรงดันไฟฟ้าได้ไม่เกิน 120 V.
การต่อนำไปก็ตามรูปคือต้อง นำ 2 แผง มาอนุกรมกัน จากนั้นก็นำ + และ - ของแต่ละแผงมาเข้ายังตัว Rapid Shutdown ซึ่งก็จะมีขั้ว + , - เพื่อต่อไปยังตัว Rapid Shutdown ตัวถัดไปเรื่อยๆ จนครบสตริงนั้น
♦ โดยจะต้องมีไฟ DC 24 V. คอยป้อนให้กับตัว Rapid Shutdown ทุกตัว ซึ่งตัวแหล่งจ่ายไฟนี้ ซึ่งก็จะเป็นตัว BFS-ESW-11,BFS-ESW-12:200-480V หรือเรียกว่า Emergency Button Switch ที่คอยแปลงไฟฟ้า AC 220 V เป็น 24 Vdc. จ่ายไปยัง Rapid Shutdown แต่ละตัวซึ่งก็จ่ายไฟให้กับ Rapid Shutdown ได้ 20 , 40 , 45 , 90 , 75 ,150 ขึ้นอยู่กับรุ่น Rapid Shutdown และ Emergency Button Switch ที่ใช้งาน ดังรูปด้านล่าง
โดยมีหน้าที่จ่ายไฟให้กับ ตัววงจร แล้วก็ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ ตัดวงจรด้วย ซึ่งก็คือเมื่อเรากด Button Switch แล้วก็จะตัดไฟที่จ่ายไปยัง ตัว RSD ที่อยู่บนหลังคา
♦ หลักการของ Rapid Shutdown ยี่ห้อ ZJBENY ก็คือ ตัว Emegency Button Switch มีหน้าที่จ่ายไฟให้กับ ตัว RSD ที่ต่ออยู่กับแผงโซล่าเซลล์ แล้วก็ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ ตัดวงจรด้วย ซึ่งก็คือเมื่อเรากด Button Switch แล้วก็จะตัดไฟที่จ่ายไปยัง ตัว RSD ที่อยู่บนหลังคาทำให้ตัดไฟฟ้า DC ของแผงไม่ให้ลงมายังด้านล่าง
♦ อีกฟังก์ชั่นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ที่ตัว RSD บนหลังคาจะมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ โดยเมื่อตรวจจับอุณหภูมิได้เกิน 85 องศาเซลเซียส ระบบก็จะตัดวงจรไฟฟ้า DC ออก เพราะสันนิษฐานว่าอาจเกิดเหตุไฟไหม้บนหลังคา
♦ แต่จะเห็นว่า เมื่อมีการต่อ2แผงแล้ว ใน Data Sheet ระบุว่ารองรับแรงดันได้ไม่เกิน 120 V. แต่จากบทความก่อนหน้านี้ จะเห็นว่า เมื่อปี 2019 NEC ระบุว่า ในขอบเขตของ Array ต้องมีแรงดันไม่เกิน 80 V. ดังนั้น 120 V ก็ไม่ตรงตามเงื่อนไขของ NEC 2019
♦ สำหรับ ZJBENY แล้วใน Data Sheet จึงมีระบุหมายเหตุ ไว้ว่า
Note: If your market requires NEC2017/NEC2020 requirement, we recommend one RSD BFS-11 connects 1 panel(≥40V) or
2 panels (<40V); BFS-12 connects 2 panels (≥40V) or 4 panels (<40V).
>>> แปลว่า หมายเหตุ: หากลูกค้าหรือตลาดของคุณต้องการข้อกำหนด NEC 2017/NEC 2020 เราขอแนะนำ RSD BFS-11 หนึ่งตัวเชื่อมต่อ 1 แผง (≥40V) หรือ
2 แผง (<40V); BFS-12 เชื่อมต่อ 2 แผง (≥40V) หรือ 4 แผง (<40V)
♦ หากเรามีการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เสร็จแล้ว ถ้าจะติดตั้ง Rapid Shutdown เพิ่มเติม ก็คงจะมีความยุ่งยากพอควร เพราะต้องมีการรื้อแผงโซล่าเซลล์ออก แล้วนำมาต่ออนุกรม กับตัว RSD คิดดูว่าจะวุ่นวายขนาดไหน อีกทั้งก็ต้องเดินสายไฟฟ้า DC 24 V. เพื่อจ่ายไฟให้กับ RSD อีกด้วย
♦ สำหรับ รุ่น BFS-11/BFS-12 ไม่มีระบบมอนิเตอร์ ทำหน้าที่แค่ตัด ต่อวงจร ไฟฟ้าแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาเท่านั้น
♦ ราคาแต่ละตัว ที่จำหน่ายในเมืองไทย ราคาต่อตัว ก็น่าจะเกินพันบาท ขึ้นไปแน่ ซึ่งก็ต้องลองดูว่าติดตั้งแล้วคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุน หรือไม่ อันนี้ท่านก็ต้องลองพิจารณาดูเองครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก บ.IdeaField https://www.ideafield.co.th ผู้จัดจำหน่าย Rapid Shutdown ยี่ห้อ ZJBENY https://www.zjbenydc.com
=================================================================================
สามารถโหลด Data sheet ของ Rapid Shutdown ยี่ห้อ ZBENY ที่นี่ www.solarhub.co.th/images/rapid-shutdown/Rapid-Shutdown-Datasheet-ZJBENY-2022.pdf