fbpx

การต่อแผงโซล่าเซลล์ ก่อนอื่นต้องรู้ Specification ของ ตัวแผงโซล่าเซลล์ (ต่อจากนี้จะเรียก PV นะครับ) และ อินเวอร์เตอร์ ก่อน เพื่อจะได้นำมาออกแบบได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งต้องมีความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าเบื้องต้นมาก่อน ซึ่งบทความก่อนหน้านี้ ทางทีมงานโซล่าฮับได้ปูพื้นฐานไปมากพอควรแล้ว สามารถไปหาอ่านได้ที่ facebook.com/solarhub.co.th และที่เว็บ solarhub.co.th ที่เมนู ความรู้เบื้องต้นทางไฟฟ้า เช่น

- การต่ออนุกรม ทำให้ แรงดัน(V)เพิ่ม  , กระแส(A) เท่าเดิม , กำลังไฟฟ้าเพิ่ม

- การต่อขนาน  ทำให้  กระแส(A)เพิ่ม , แรงดัน(V) เท่าเดิม , กำลังไฟฟ้าเพิ่ม

- สูตรพื้นฐานทางไฟฟ้า P=ExI  , E=P/I  , I=P/E

 

ดังนั้นจากรูป เราก็ต้องเอา Data Sheet ของแผง PV ยี่ห้อ REC รุ่น จากประเทศนอรเวย์ รุ่น REC315PE72 มาดูกันครับ ตามรูปข้างล่างนี้ สำหรับData Sheet ของอินเวอร์เตอร์ จะกล่าวในบทความถัดไป

1.Normal Power Pmpp (wp) = 315  >>หมายความว่า กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ผลิตได้ หรือหากมีแดดจัดๆ แล้วผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 315 W นั่นเอง

2.Normal Power Voltage Vmpp (V) = 37.5 >> หมายความว่า ตอนมีแดดจัดๆ แล้วผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 315 W แล้วแรงดันไฟฟ้าจะมีค่าเท่ากับ 37.5 V นั่นเอง

3.Short Circuit Current  Isc (A) = 8.93     >> หมายความว่า หากมีการช็อตของแผง PV จะมีกระไฟฟ้า 8.93 A ซึ่งมีเอาไว้คำนวณค่าฟิวส์ และค่าขนาดสายไฟที่จะใช้

4.Panel Efficiency  =  16.2%  >> คือประสิทธิภาพของแผง PV ยิ่งสูงยิ่งดี

*ELECTRICAL DATA @ STC (Standard Test Condition) คือการทดสอบแผงเซลล์เมื่อได้รับแสงความเข้ม (Irradiance) 1000 W/m² อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่ที่เราดูเอามาใช้เทียบเคียงหรือออกแบบ ก็ใช้แบบนี้ STC ครับ

**ELECTRICAL DATA @ NOCT (Nominal Operating Cell Temperature) คือ การทดสอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ความเข้มแสง (Irradiance) 800 W/m² อุณหภูมิปกติ