จากรูปตัวอย่างการต่อแผง PV สำหรับการติดตั้งแบบ Ongrid จะเห็นว่าเราต่อแผงอนุกรมกัน 4 ชุด หรือเรียกว่า 4 String โดยแต่ละ String อนุกรมกัน 17 PV
ทำไมต้องเป็น 17 PV 4 String ด้วย...ทามมายยย?
ต่ออนุกรมกันมากกว่านี้ได้ไหม?
ต่อขนานกันมากกว่านี้ได้ไหม?
เราจะหาคำตอบเหล่านี้ ได้จากการดูที่ Specification ของ อินเวอร์เตอร์ ที่เรานำมาใช้งาน ตามรูป ครับ
1. Max. DC Power = 20,440 W >> คือกำลังไฟฟ้าสุงสุด ที่อินเวอร์เตอร์รองรับได้คือ 20,440 W ตัวอย่างการต่อแผง PV แบบ Ongrid เราใช้ 68 PV และใช้ขนาด 315 W รวมกำลังไฟฟ้าสูงสุด 68x315= 21,420 W (อุ๊ต๊ะ... แล้วทำไมผมใช้เกินกับที่ Spec. อินเวอร์เตอร์กำหนดไว้ ไม่พังหรา..) ไม่พังครับ เพราะมีทฤษฎีว่า ให้เอา 1.1 คูณค่ากำลังไฟฟ้าสุงสุด ที่อินเวอร์เตอร์รองรับได้ ในที่นี้ก็คือ 1.1x20440 = 22,484 W ดังนั้นที่เราใช้กำลังไฟจากแผงรวม 21,420 W จึงไม่เกินค่าตามที่ทฤษฎีกำหนดไว้ครับ
แต่บางท่านอาจสงสัยอีกว่าทำไมต้องกำหนดเอา 1.1 มาคูณด้วย มันมาจากไหนกัน >> มาจากหลายสาเหตุ เช่น
- เนื่องจากในปีแรก ประสิทธิภาพของแผงPV จะลดลงประมาณ 2.5 % เนื่องจากผลึกที่ประกอบเป็นโซล่าเซลล์ ทำปฏิกิริยากับสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อม และหลังจากนั้น ปีที่ 2-25 ประสิทธิภาพจะลดลงปีละประมาณ 0.7 % ดังนั้นที่ Spec. แผงบอกว่าผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด 315 W ถ้านำมาติดตั้งจริงในปีแรก ก็จะผลิตได้ประมาณ 307.125 W
- การที่แผง PV จะแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเต็ม 100% ตามที่ผลิตมานั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ จะเกิดการสูญเสียในสายไฟฟ้า , การติดตั้งมีผลให้ประสิทธิภาพลดลง,อุณหภูมิที่มากหรือน้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส ก็ทำให้ประสิทธิภาพลดลง , ปริมาณแสงแดดที่มาตกกระทบ ฯลฯ
ดังนั้นเราจึงตั้งสมมติฐานว่า แผง PV เมื่อนำมาติดตั้งแล้วจะไม่ได้ประสิทธิภาพมาเต็ม 100 % เนื่องจากค่าที่มากับ Spec.นั้นมาจากการทดสอบในห้องแล็ปซึ่งควบคุมปัจจัยต่างๆไว้ได้ ตาม STC หรือ Standard Test Condition (แค่ข้อแรกก็มึนงงแล้วครับ 55)
2.Max.Input Voltage = 1,000 V >> แรงดันไฟฟ้า ที่รองรับได้ คือ 1,000 V ดังนั้นถ้าเรามาดู Spec. ของแผงPV ที่ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุด Vmpp = 37.5 V ดังนั้นจากที่เรานำแผงมาต่ออนุกรมกัน 17 PV แล้วก็จะได้แรงดันสูงสุดในString = 37.5x17 = 637 V ซึ่งเป็นค่าที่อินเวอร์เตอร์ รองรับได้ ครับ
3.MPP voltage rang = 320 - 800 V >> ช่วงแรงดันไฟฟ้าเหมาะสมที่อินเวอร์เตอร์ทำงาน คือ 320 - 800 V สำหรับ MPP คืออะไรเดี๊ยวค่อยอธิบายเพิ่มในโอกาสหน้าครับ เดี๊ยวงงกันไปใหญ่
4.rated input voltage = 600 V >> แรงดันไฟฟ้าที่อินเวอร์เตอร์ ทำงานได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด คือ 600 V
5.Min. input voltage = 150 V / start input voltage = 180 V >> แรงดันไฟฟ้าเข้าอินเวอร์เตอร์ต่ำสุด คือ 150 V และ แรงดันไฟฟ้าที่อินเวอร์เตอร์เริ่มทำงาน 188 V
6.Max. input current input A / input B = 33 A / 33 A >> ในอินเวอร์เตอร์ 1 ตัว จะมี 2 MPPT หรือ 2 input ดังนั้นที่เรานำ PV มาขนานกัน 2ชุดนั้น ก็นำมาเข้าที่ input A และ input B นี้นี่เองครับ และแต่ละinput ก็รองรับกระแสได้ 33 A ดังนั้นการขนานแผง PV เข้ามากระแสต้องไม่เกิน 33 A ครับ ซึ่งจากรูปตัวอย่าง PV ที่ต่อเข้ามา มีกระแสสูงสุด สภาวะช็อตเซอร์กิต Isc = 8.93+8.93 = 17.86 A (มาจากไหน ลองย้อนไปดูที่บทความก่อนหน้านี้ครับ) ซึ่งอินเวอร์เตอร์รองรับได้
7.Number of Independent MPP input / string per MPP input = 2 / A:3 , B:3 >> หมายความว่าในอินเวอร์เตอร์ตัวนี้มี 2 MPP ที่ไม่ขึ้นต่อกันเลย (จริงๆก็เหมือนมีอินเวอร์เตอร์ 2ตัวแหละครับ อันนี้ก็มีความสำคัญในการออกแบบติดตั้งแผงครับ และ MPP คืออะไรเดี๊ยวค่อยอธิบายเพิ่มในโอกาสหน้าครับ ) / และในแต่ละString ก็มีConnector ให้ต่อสายที่มาจาก PV ชุดละ 3 connector เหมือนให้ต่อได้ input ละ 3 string แหละครับ
8.Power Factor at rated power = 1 >> ค่า power factor มีค่าเท่ากับ 1 คือดีเยี่ยม แต่ยี่ห้ออื่นก็ลองๆไปหาดูครับ อาจจะได้ไม่เท่านี้ สำหรับค่า power factor คืออะไร ก็ไปหาดูได้ที่ Solar Energy FAQ Episode 4 ข้อที่ 26 ครับ
9.Max. efficiency / European efficiency = 98.4% / 98.0% >> ค่าประสิทธิภาพของโซนอเมริกา = 98.4 % , ค่าประสิทธิภาพของโซนยุโรป = 98.0 % (แหม่ รวมทดสอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก็ไม่ได้ จะต้องมาแยกทำไมให้วุ่นก็ไม่รู้ ก็เหมือ นิ้ว กับ เซ็นติเมตร แหละครับ คนละค่ายกัน )
สำหรับค่าอื่นๆก็ลองๆไปอ่านดูกันเองครับ ผมเลือกเอาเฉพาะที่สำคัญเพื่อนำมาอธิบายการออกแบบเบื้องต้น ให้รู้หลักการคร่าวๆแค่นี้ก่อนครับ
แล้วเจอกันตอนหน้า ที่เข้มข้นขึ้นครับ