วิธีที่ 1
>>> เนื่องจากระบบออนกริด คือผลิตไฟฟ้าได้ ต้องใช้ในทันที ดังนั้นผลิตในตอนกลางวัน เราต้องดูว่าเวลากลางวันใช้ไฟฟ้า ช่วงกลางวันจำนวนเท่าใด หาพลังงานไฟฟ้า ที่ใช้ตอนกลางวัน 06.00 – 18.00 น.
>>> สมมติว่าเสียค่าไฟฟ้า 2,425 บ./ด. โดยที่บ้าน ช่วงกลางวันมีคนอยู่บ้าน 1 คน อาจเปิดแอร์ เป็นบางวัน ซึ่งเราต้องประมาณการสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าเวลากลางวัน ประมาณ 50% และค่าไฟฟ้า เฉลี่ย 4 บ./หน่วย
>>> ดูบิลค่าไฟฟ้า ว่าเราใช้ไฟจำนวนกี่หน่วย ในรอบเดือน >> 570 หน่วย แต่ถ้าไม่มีบิลค่าไฟ เราก็น่าจะจำได้ว่า เราเสียค่าไฟเดือนละเท่าไหร่ >>> 2,425 บาท
- ใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด (รวมกลางวัน+กลางคืน) 2,425 ÷ 4 = 606 หน่วย/ด.
- ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉพาะกลางวัน 606 x 50% = 303 หน่วย/ด.
- ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉพาะกลางวัน ใน 1 วัน 303 ÷ 30 = 10 หน่วย/ว.
- เมืองไทย เมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบออนกริด 1 KW. จะผลิตไฟฟ้าได้ ประมาณ 4 หน่วย/วัน
- ดังนั้น เราควรติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาด = 10 ÷ 4 = 2.5 KW.
- แต่ในทางปฏิบัติ ต้องดูขนาดอินเวอร์เตอร์ ที่มีขายในท้องตลาด เช่น 3 KW , 5 KW , 9 KW , 10 KW , 12 KW , 20 KW. เป็นต้น
- และดูขนาดแผงโซล่าเซลล์ ประกอบการออกแบบ >>> ข้อนี้หน้าที่ของ ช่างติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่จะนำเสนอ คลิกเพิ่มเติมด้านล่างเพื่อดู VDO