ขั้นตอนแรก
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เสมือนจัดเตรียมเสบียงกลัง ก่อนออกรบ ของพร้อม คนพร้อม ทีมงานก็ทำงานแบบยาวๆ จะบายจัย...
แต่ถ้าคนพร้อม แต่ของขาด นี่ ถ้าใครเป็นทีมช่างจะเข้าใจ ต้องนอนรอของ 2-3สัปดาห์ ว่างจัด ต้องไปหาตกปลา แถวๆไซท์ จนปลาในคลองไม่เหลือล่ะ... หลังๆ ด้อมๆมองๆ แถวๆตลิ่งท่าน้ำหลังวัดล่ะ...เล็งๆปลาสวายแน่ๆเลย555...อ๊ะล้อเล่ง..
จากรูป ทีมงานเข้าหางปลา ทำเป็นสายกราวด์ บายพาส จุดต่อRail , จุดต่อwalkway , จุดต่อRaceway ...
ทำไมๆ เอาสายไฟ เข้าเลยไม่ได้รึ?
.
ไม่ได้ๆ เพราะ จุดที่เราจะทำเป็นวัสดุ อลูมิเนียม แล้วถ้าเราเอาสายไฟทองแดง ไปทำบายพาส แค่ สัปดาห์เดียว จะเกิดฟลักเขียวที่จุดต่อ เพราะวัสดุทั้ง2 ทำปฏิกิริยากัน แล้วเกิดความเป็นฉนวน แล้วทำให้นำไฟฟ้าไม่ดี
.
เราจึงต้องเอาหางปลา ที่เป็นตะกั่วหรือทองแดงชุบตะกั่ว เป็นตัวกลางประสาน ระหว่างวัสดุ อลูมิเนียม กับทองแดง ซึ่งก็ทำให้ไม่เกิดฟลักเขียว นั่นเอง
.
เพื่ออะไร? ทั้งๆที่ เราเอา โอห์มมิเตอร์ วัดค่าความเป็นตัวนำที่จุดต่อทั้ง2ฝั่ง ค่าความเป็นตัวนำก็ขึ้นนิ ทำไมๆๆๆๆ ต้องทำให้มันดูยุ่งยากนักนิ?
.
เพราะ ตอนฟ้าลง , ฟ้าเซิร์ท , แรงดันกระโชก มันไม่ได้มาแค่มิลลิแอมป์เท่ากับมิเตอร์ซักหน่อย มันมาเป็นหลัก หลายพัน หลายหมื่นโวลท์ หรือหลายหมื่นแอมป์ ความเป็นตัวนำแค่rail แตะๆกัน มันไม่เพียงพอ
.
เราจึงต้องทำเส้นทางบายพาส ให้กระแส มันไหลลงสู่ บ่อกราวด์ แล้วสูญสลายหายไปในพื้นโลก โดยเร็วที่สุด โดยที่ยังไม่ทันได้เกิดอันตรายกับอุปกรณ์ ในระบบ
.
คล้ายๆ เราทำท่อระบายน้ำฝน ให้ใหญ่ขึ้น น้ำฝนจะได้เดรนน้ำทิ้งลง อย่างรวดเร็ว ไม่อั้นเป็นคอขวด
.
ติดตั้งให้ระบบฯทำงานผลิตไฟฟ้านั้น ก็ยากระดับหนึ่ง
แต่ทำอย่างไรให้ระบบฯ ผ่านไป เกิน 3แดด 3ฝน 3หนาว นั้น
ยากยิ่งนักที่จะบ่นเพ้อ
อยากบอกเธอทุกคำจากใจ
ไกลสุดไกลที่แห่งใดไร้ค่า
เปลี่ยวเหงาใจไม่มีเธอ…
.
จบ
==========================
ขั้นตอนสุดท้าย ก่อนจะออนระบบฯ ก็คือการเชื่อมขนานไฟ
- นัดวันที่โรงงานหยุดผลิต 1วัน เพื่อดับไฟทั้งโรงงาน
- ติดตั้งตู้ MDB for Solar
.
- ลากสาย AC Solar (สาย CV-FDหรือXLPE) ไปยังตู้ MDB โรงงาน
.
- หาก ตู้ MDB for Solar อยู่ใกล้กับ MDB โรงงาน ระยะไม่เกิน 7.5 ม. และมองเห็นด้วยสายตา เราสามารถ นำสายไฟ AC for Solar เชื่อมเข้าที่ บัสบาร์ ของ MDBโรงงาน ได้เลย
.
- แต่หาก ตู้ MDB for solar อยู่คนละห้อง หรือระยะทางสายไกลกว่า 7.5 ม. เชื่อมตรงเข้าบัสบาร์ ไม่ได้ เพราะการไฟฟ้าฯจะตรวจฯไม่ผ่าน ต้องเข้าเบรคเกอร์ลูกย่อย โซล่าเซลล์ก่อน
.
-หากตู้ MDBโรงงานเต็ม ไม่มีช่องใส่เบรคเกอร์ ลูกย่อย ก็ต้องทำตู้Tie In ตั้งใกล้ๆตู้ MDBโรงงาน แล้วค่อยโยงสาย AC จากตู้ Tie In ไปยังบัสบาร์ MDB โรงงานอีกทอดหนึ่ง
.
- คล้อง CT ดังรูป เป็นการคล้อง CT แรงต่ำ ซึ่ง CT ก็จะมีคล้องสำหรับ class monitoring (PQ meter , zero export )และ class protection ( relay protection)
.
- กรณี คล้อง ct แรงสูง ตัวct แรงสูง จะมี 2 core ในตัวเดียวที่มี class monitoring และ class protection
^**^................^L^...............^**^