หลังจากที่มึนงงกับ การออกแบบการต่อแผงโซล่าเซลล์ไปก่อนหน้านี้กันแล้วกันแล้ว ทีนี้จะพามาดูการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ สำหรับโรงงาน ทั้งนี้หากจะแบ่งลักษณะการติดตั้ง Solar PV Rooftop ผมขอแบ่งเป็น 2 ลักษณะ (มีอย่างอื่นอีกหรือป่าว ไม่แน่ใจครับ แต่ขอกล่าว 2 ลักษณะแล้วกันครับ)
1.ติดตั้งยึดติดบนหลังคา หรือ Roof Mounting
1.1 หลังคาแบบเมทัลชีต
1.2 หลังคาซีแพ็ค
1.3 หลังคากระเบื้อง
2.ติดตั้งบนดาดฟ้าของอาคาร หรือ Ground Mounting
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สำหรับในตอนนี้จะขอยกตัวอย่างการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาแบบเมทัลชีตครับ เนื่องจากหลังคาในโรงงานส่วนใหญ่ จะเป็นแบบเมทัลชีต
1. หลังจากที่ได้ทำการสำรวจหน้างานแล้ว ก็ต้องหาทางขึ้นบนหลังคา หากในโรงงานไม่มีบันไดลิงเพื่อขึ้นบนหลังคา ทีมงานก็ต้องทำนั่งร้านชั่วคราวเพื่อใช้ขึ้นไปบนหลังคา ซึ่งระหว่างนี้ทีมงานอีกทีมหนึ่งก็ทำบันไดลิงอีกด้านหนึ่งด้วย เพื่อเป็นทางขึ้นถาวร
2. ติดตั้งบันไดลิง เพื่อให้ทางโรงงานสามารถขึ้นไปบนหลังคาสำหรับขึ้นไปตรวจสอบ บำรุงรักษา ล้างแผงโซล่าเซลล์ ต่อไปในอนาคต
3. ติดตั้งชุดจับยึดแผง PV หรือเราเรียกกันว่า Mounting
- สำรวจ วัด มาร์ก ตำแหน่ง เพื่อเตรียมติดตั้ง Mounting
- รูป เมาท์ติ้ง และการติดตั้ง Mounting บนหลังคาเมทัลชีต สำหรับการขันน็อต ก็ต้องขันน็อต ยึดMounting โดยต้องใช้ประแจปอนด์ ขัน เพื่อให้ได้แรงบิด หรือความแน่นของน็อต ได้อย่างเหมาะสม ไม่หย่อนหรือตึงจนเกินไป
(คลิกดูที่ภาพ เพื่อดูภาพที่ใหญ่ขึ้น ชัดเจนขึ้น)
4. เมื่อติดตั้ง Mounting เสร็จก็จัดเตรียมเอาแผงโซล่าเซลล์ขึ้นบนหลังคา หากมีจำนวนมากหลายร้อยแผ่น เราก็ต้องใช้รถเครน ยกกระเช้าใส่แผงโซล่าเซลล์ แล้วทยอยไปวางบน Mountingที่ได้ติดตั้งบนเมทัลชีตแล้ว ทั้งนี้กระเช้าที่ใส่แผง โดยใช้เครนยกนั้น เราจะไม่วางลงบนหลังคา เนื่องจากมีน้ำหนักมาก อาจมีผลกระทบกับโครงสร้างของหลังคา
5. หลังจากที่นำแผงโซล่าเซลล์ มาวางบน Mounting แล้ว ทีมงานอีกทีมหนึ่งก็ทยอย ใส่แคล้มป์ ยึดติดแผง กับ Mounting โดยขั้นตอนนี้ ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรเพื่อให้ได้ระยะที่ถูกต้องและสวยงาม เมื่อจัดแผงเข้าที่ เข้าทางได้ระยะที่เหมาะสมสวยงามแล้ว ก็ต้องขันน็อต ยึดแผง โดยต้องใช้ประแจปอนด์ ขัน เพื่อให้ได้แรงบิด หรือความแน่นของน็อต ได้อย่างเหมาะสม ไม่หย่อนหรือตึงจนเกินไป (ระยะเวลา 5 ปี ควรจะมีการขันน็อต ด้วยประแจปอนด์ 1 ครั้ง)
6. ช่วงที่ปรับแต่ง จัดแผง PV อีกส่วนหนึ่งก็จัดการติดตั้ง Race Way หรือรางเดินสายไฟฟ้า ซึ่งเราต้องใช้ Race Way แบบชุบกัลวาไนซ์ (HDG : Hot Dip Galvanized ) ซึ่งทำให้ค่อนข้างทนทาน แดด และฝน ตามรูปด้านล่าง รวมทั้งการจั๊มสายแต่ละแผงเข้าด้วยกัน (อนุกรมกัน ตามที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว) ซึ่งแต่ละแผง PV จะมีจังชั่นบ็อกที่มีสายขั้วบวก และะ ลบ ที่ใ่ส่หัวคอนเน็คเตอร์ MC4 มาให้แล้ว สายยาวประมาณ 90-120 ซ.ม. (ขึ้นอยู่ในแต่ละยี่ห้อ)
7. จัดการเดินสายไฟฟ้า โดยจัดเรียงให้เป็นระเบียบเรียบร้อยภายใน Race Way ซึ่งสายไฟฟ้านี้ จะเป็นสายไฟฟ้า DC ซึ่งเราเรียกว่าสาย PV1-F ซึ่งขนาดที่ใช้ จะมาอธิบายอีกทีโอกาสหน้าครับ วันนี้ดูตามรูปคร่าวๆไปก่อน