ทำไมถึงเรียกว่า ”ศิลปะ” ?
♦บางครั้ง ใช้แผงและอินเวอร์เตอร์ รุ่นเดียวกัน แต่ ติดตั้ง คนละแห่งกัน ก็ยังต่ออนุกรมแผงไม่เหมือนกัน
เพราะมีปัจจัยอื่นๆ ที่นำมาพิจารณา ไม่เหมือนกัน ดังตัวอย่างนี้ ที่มีการกำหนดจำนวนแผง ไว้แล้วว่า 85 แผง เราจึงต้อง จัดวาง ให้ลงก่วน
♦ หรือหน้างาน มีทิศติดตั้งที่จำกัด หรือ การไวริ่งสายระหว่างโต๊ะ ซึ่งเรื่องพวกนี้คนออกแบบ ในห้องแอร์ อาจไม่เข้าใจ
จะเข้าใจก็ต่อเมื่อ ได้เป็นคนคอนเน็คสายเอง และหรือเป็นคนจัดแผงเอง หรือเป็นคนบำรุงรักษาเอง จึงจะเข้าใจ ^**^
♦ กรณีนี้ ใช้แผง Canadian solar by Energy Dynamics Thailand ขนาด 600 w. ซึ่งมี Imp 17แอมป์กว่า
ซึ่งเราเบิ้ลสตริง ใน Mpptเดียวกันไม่ได้ เพราะ Huawei inverter 50 kw. รองรับกระแสได้เพียง 30A. ถ้าเบิ้ลสตริง ก็ปาเข้าไป 35A. ซึ่งเกินกำลังที่Inverter แปลงไฟได้
♦ แต่จริงๆแล้ว เบิ้ลสตริงได้ อินเวอร์เตอร์ไม่พัง ฟิวส์ไม่ขาด เพราะ Inverter ทนได้ 40A./Mppt แต่ประสิทธิภาพ หายไปประมาณ 14% ในช่วงที่มีความเข้มแสงมาเต็มพิกัด (มาจาก ((35-30)/35 )*100 = 14%
♦ ต่ออนุกรมกัน 21แผง/สตริง 3สตริง แยกแต่ละ Mppt (แต่ละ Mppt ก็เหมือนอินเวอร์เตอร์ย่อยๆ อิสระต่อกัน ที่รวมอยู่ในอินเวอร์เตอร์เดียวกัน) และสตริง4 เราต่อ 22แผง/สตริง เพื่อจะได้ครบลงตัวที่ 85 แผง
.
♦ แล้วจะต่ออนุกรมกัน ได้มากสุดกี่แผง?
เท่าที่ Inverter Huawei รองรับได้ ก็ประมาณ 1,100 V เราก็แค่ เอา 1,100/ Voc = 1,100/41.3 = 24แผง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นี่ก็เป็นตัวอย่างอีกแห่งหนึ่ง ของ The Art of PV Design.
จากรูปและบทความด้านบน จะเห็นว่า ข้อจำกัดอย่างหนึ่ง คือได้ระบุจำนวนแผงที่จะติดตั้งไว้แล้ว ว่าต้องติดตั้ง จำนวน 85 แผง ซึ่งเรื่องทิศการติดตั้ง มีแค่ 2ทิศ และพื้นที่การติดตั้ง ก็ไม่ค่อยมีประเด็น
สำหรับตามรูปล่างนี้ จะเห็นว่าเราติดตั้งบนดาดฟ้า ซึ่งมีพื้นที่ติดตั้ง 3 จุด(แถวบ้านเรียก 3กระหย่อม...คนที่ไน๋ว่ะ555)
♠ดังนั้นการจัดสตริง หรือการต่ออนุกรมกัน ก็จะพยายามติดตั้งจำนวนแผง ให้พอดีกับการต่ออนุกรม ในจุดนั้นๆ
♠ จะเห็นว่าจุดแรก เราวางแผงได้ 40 แผง เราก็เลยทำอนุกรม 20แผง/สตริง และจุดที่2 , 3 สามารถวางแผงได้มากขึ้น ก็เลยต่ออนุปกรม 24แผง/สตริง
♠ จริงๆจุดที่ 3 สามารถวางแผงเพิ่มได้อีก แต่เราต้องมาดูข้อจำกัดของ Inverter ที่ต้องมีแรงดันไม่เกิน 1,100 V./String >>> 1,100 / 41.3v = 26.6 แผง แต่ว่าเราไม่อยากให้แรงดันมันสูงมากเกินไป
♠ เพราะบางวัน บางช่วงเวลาของตอนเที่ยง ของเดือนมี.ค. หรือ เม.ย. บางปี ที่บ้านเรามีความเข้มแสง มากถึง 1,150 w/ตรม. ซึ่งก็ทำให้ค่าแรงดัน เพิ่มเกินไปอีกจากที่คำนวณไว้ อาจเกินกว่า 1,100 V ที่อินเวอร์เตอร์จะรองรับได้
เราเลยอนุกรม 24แผง ก็พอ (41.3 x 24= 991.2 V.)
♠ จะเห็นว่าแผง Canadian Solar กระแสสูง(18A.) แต่แรงดันต่ำ(41V.) ซึ่งเราจะไม่นำมาต่อสตริง หรือขนาน ใน MPPT เดียวกัน เพราะแอมป์จะเกินจากที่อินเวอร์เตอร์รับได้
♠ แต่หากเป็นแผง ยี่ห้ออื่นๆ เช่น Longi กระแสต่ำ(14A.) แต่แรงดันสูง(49V.) ซึ่งเราสามารถที่จะเบิ้ลสตริง ใน MPPT เดียวกันได้
***แต่ข้อควรระวัง หากจะนำมาเบิ้ลสตริง หรือขนานกันใน MPPTเดียวกัน ต้องมีจำนวนแผงอนุกรมเท่ากันทั้ง2สตริง และทิศทางการรับแสงต้องทิศทางเดียวกันเท่านั้น
มิฉะนั้นแล้วจะมีค่าความต่างศักย์ระหว่างสตริง ซึ่งก็ทำให้ประสิทธิภาพตก หากปล่อยไปนานๆเข้า ก็อาจทำให้แผงและอินเวอร์เตอร์ เสื่อมก่อนเวลาอันควร (ถ้าเป็นอินเวอร์เตอร์รุ่นใหม่ๆ จะฟ้องว่า Voltage Mismatch)
จบ... The Art of PV Design. ศิลปะการต่ออนุกรมแผง
^L^"