ความเดิมคราวก่อน เราได้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือ PV บนหลังคาแล้ว ต่อจากนั้นเราก็ต้องเดินสายไฟฟ้า DC หรือเค้าเรียกกันว่า สาย PV1-F โดยใส่ในท่อร้อยสาย(Conduit) หรือรางสายไฟ (WireWay) เพื่อเดินมายัง DC Combiner Box (เป็นจุดรวมสายไฟ DC แต่ละ String มาต่อขนานกันเพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แต่โวลท์เท่าเดิม) ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะติดตั้งอยู่ในห้อง Inverter Room หรือใกล้กับตัวInverter สำหรับท่อร้อยสาย และรางเดินสายไฟก็มีทั้งแบบใช้ภายนอกอาคารและใช้ภายในอาคาร (เดี๊ยวค่อยลงรายละเอียดในตอนถัดๆไป)
Wire Way หรือรางเดินสายไฟฟ้า ภายนอกอาคาร ที่ต้องทนแดด ทนฝน ต้องใช้แบบ Hot Dip Galvanized (HDG) เท่านั้นนะครับ ไม่งั้นอยู่ไม่ถึง 20 ปีนะครับ และท่อโค้งๆ นั่นก็เป็น เฟล็กโลหะกันน้ำสำหรับภายนอกอาคาร หรือ Flexible Conduit ( มีทั้งแบบนอกอาคารและ ในอาคาร ก็ต้องเลือกใช้ให้ถูกประเภทนะครับ แต่ในทางวิศกรรมควรใช้เฟล็กให้น้อยที่สุดก็จะเป็นการดี เราจะใช้เฟล็กกรณีที่ไม่สามารถเดินท่อได้ หรือหน้างานที่ทำงานท่อยากลำบาก เพราะท่อร้อยสายน่าจะมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเฟล็ก ครับ ) ซึ่งมีไว้สำหรับใส่สายบางส่วนที่มาจากแผง PV แต่ละString เพื่อมารวมเข้า Wire Way ตรงไปยัง Inverter Room
เดินท่อร้อยสายแบบ IMC ( Intermediate Metal Conduit) แล้วเลี้ยวโค้งโดยใช้ เฟล็กกันน้ำสำหรับภายนอกอาคาร |
ตรงนี้ก็สำคัญครับ คอนเน็คเตอร์ หรือข้อต่อ ที่เชื่อมระหว่าง ท่อIMC กับเฟล็กโลหะกันน้ำ ถ้าเป้นแบบนอกอาคารต้องใช้ คอนเน็คเตอร์ คาดสีเหลือง แต่ถ้าเป็นเฟล็กโลหะ(สีดำ)ในอาคาร ก็ใช้คอนเน็คเตอร์ คาดสีฟ้า |
ท่อร้อยสาย ต่อเข้ากับ Wire Way โดยใช้เฟล็กโลหะกันน้ำ เป็นตัวเชื่อมต่อ ซึ่งภายนอกต้องใช้ คอนเน็คเตอร์ คาดเหลืองนะครับอย่าลืม ทำไมต้องใช้คาดเหลือง? ก็เพราะว่าจะทนทานกว่าคาดดำ ครับ |
การจัดเรียงสายไฟฟ้า ภายในรางเดินสายไฟ ต้องจัดเรียงให้เป้นระเบียบเพื่อง่ายในปฏิบัติงานหรือการบำรุงรักษาบำรุง |
รางเดินสายไฟฟ้า หรือ Wire Way แบบ HDG |
ตัวอย่าง Wire Way ขนาดใหญ่ ประมาณ 600 ม.ม. ซึ่งรองรับสายได้จำนวนมาก ของระบบโซล่าเซลล์ขนาด 1 MW |
แสดงการเดิน Wire Way มายังจุดติดตั้ง Inverter ซึ่งกรณีนี้เราติดตั้ง Inverter บนดาดฟ้าอาคาร แล้วทำชุดซัพพอท มายึดติดตัว Inverter |