การประมาณการ ค่าการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่เหล่ามืออาชีพนักออกแบบระบบโซล่าเซลล์ เค้านิยมใช้กันก็มี โปรแกรม PVSYST ครับที่ใช้กันเยอะซึ่งราคาก็แพงเอาเรื่องอยู่ ประมาณ 1,025 usd /1 license และการใช้งานก็ยุ่งยากซ้ำซ้อนต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้โปรแกรม
กรณีที่เรามีความต้องการที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคาโรงงานเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า เราสามารถที่จะลองประมาณการก่อนได้ว่า เมื่อเราติดตั้งแล้ว เราจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้สักกี่หน่วย หรือกี่ยูนิต กันแน่ แล้วมันจะคุ้มค่าเงินลงทุนที่เราลงไปหรือไม่ วันนี้โซล่าฮับ จะมาแนะนำระบบประมาณการ ค่าการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่เชื่อถือได้ ที่สำคัญคือ ฟรี! ครับ นั่นคือ>>> PVWatts Calculator
สามารถดูการแนะนำการใช้งาน PVWATTS ในรูปแบบ VDO ได้ที่นี่
PVWATTS เป็นระบบประมาณการค่าการผลิตกระแสไฟฟ้าและประมาณค่าใช้จ่าย โดยทำงานผ่านระบบเว็บ ที่ http://pvwatts.nrel.gov ซึ่ง NREL : National Renewable Energy Laboratory เป็นหน่วยงานในสังกัดของ U.S. Department of Energy, Office of Energy Efficiency and Renewable Energy, operated by the Alliance for Sustainable Energy, LLC. โอ้วยาวเหลือเกิ้น..สรุปคือเป็นหน่วยงานทดลองและทดสอบเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ภายใตสังกัดกระทรวงพลังงานของอเมริกา จึงทำให้มั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่ามีความแม่นยำของข้อมูล ไม่ใช่ไก่กานะจ๊ะ
สามารถดูวิธีการประมาณการฯ ตามคู่มือข้างล่างนี้ครับ
อันดับแรก เข้าเว็บ http://pvwatts.nrel.gov
1.กรอก Location หรือ Lat,Long ของสถานที่ที่เราต้องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
2.หรือจะใส่เป็นชื่ออำเภอ หรือ จังหวัด ภาษาอังกฤษก็ได้
3.ในตัวอย่างนี้ขอ กรอกเป็น Lat,Long จากนั้นคลิก "GO"
4.เมื่อคลิกแล้วมาทีหน้าถัดไป โดยจะแสดง Lat,Long ตามที่เรากรอกมาในตอนแรก
5.เนื่องจากLat,Long ที่เรากรอกคือตัวเมืองหาดใหญ่ ซึ่งช่องนี้จะโชว์ว่า ได้อ้างอิงเกี่ยวกับอากาศของเมือง George TOWN ประเทศมาเลเซีย (หากเราเลือกโซนภาคกลางตรงนี้ก็จะโชว์เป็น BANGKOK)
6.แสดงแผนที่ตำแหน่ง ตามที่เราได้กรอก Lat,Long ไว้ ก็คือหาดใหญ่ นั่นเอง
7.จากนั้นคลิก ปุ่ม >
8.DC System Size (kW) กรอกขนาดกำลังการผลิตที่เราจะติดตั้ง หน่วยเป็น kW ในที่นี้ยกัวอย่างติดตั้งที่ขนาด 100 kW. (ถ้าติดตั้งตามบ้านพักอาศัยก็ไม่เกิน 10 kW แต่ถถ้าเป็นโรงงานก็ำม่เกิน 1,000 kW )
9.Module Type มีให้เลือก 3แบบ 1.Standard 2.Premuim 3.Thin Film ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้จะใช้แผงแบบ Standard
10.Array Type ประเภทการติดตั้ง เราเลือกแบบ Fixed (roof mount) คือติดตั้งอยู่กับที่บนหลังคา
11.System Loss (%) มีค่าดีฟอลท์อยู่แล้ว เราเอาตามนั้น
12.Tilt (deg) มุมแผง PV ที่ติดตั้ง ในที่นี้เราเลือก 5 องศา
13.Azymuth (deg) มุมอซิมูท มีค่าดีฟอลท์อยู่แล้ว 180 เราเอาตามนั้น
14.Advance Prameters ปุ่มนี้เมื่อคลิกเข้าไป ก็มีการตั้งค่าอื่นๆเพิ่ม หากไม่คลิกเข้าไปข้ามไปเลยก็ได้ เพราะระบบจะมีการใส่ค่าที่ประมาณการเบื้องต้นให้อยุ่แล้ว
14.1 DC to DC Size Ratio ส่วนใหญ่ที่ใช้คือ 1.1 ( เป็นอัตราส่วนที่จะติดตั้งกำลังไฟฟ้าของ PV เมื่อเทียบกับอัตรากำลังไฟฟ้าสูงสุดที่อินเวอร์เตอร์รองรับ เช่น อินเวอร์เตอร์ขนาด 10 kWp. เราจะติดตั้ง PV 11 kW ( 10 x 1.1 ) )\
14.2 Inverter Efficiency (%) ประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ ต้องไปดูที่ Data Sheet ของอินเวอร์เตอร์ ที่เราจะนำมาใช้งาน ถ้าใช้ยี่ห้อดีๆหน่อยก็ได้สัก 98 % ขึ้นไปครับ
14.3 Ground Coverage Ratio อันนี้เอาค่าตามดีฟอลท์ 0.4 เลยครับ
15.System Type เลือกเป็น Residential
16.Average Cost of Electricity Purchase of Utility ($/kWh) ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่จ่ายให้การไฟฟ้า มีหน่วยเป็น usd/หน่วย ในที่นี้ประมาณว่า 4.2บาท/หน่วย ก็เท่ากับ 0.12usd/หน่วย (kwh=1หน่วย)
17.Loss Calculator เป็นการคำนวณหาค่าสูญเสียอย่างละเอียด หัวข้อนี้จะลงลึกเกินไปขอข้ามไปเลย โดยระบบจะใส่ค่าประมาณการให้แล้วตามข้อ 11.
18.Draw Your System กรณีที่เราจะกำหนดขนาดของหลังคาเพื่อจะประมาณการว่าจะสามารถติดตั้งPV ได้สูงสุดกี่ kW
18.1 เมื่อคลิกเข้ามาแล้วจะมีป็อปอัพ เป็นรูปจากดาวเทียมในตำแหน่ง Lat,Long ที่เราได้ระบุไว้ จากนั้นเราก็ทำการคลิกกำหนดตำแหน่งบนหลังคา ตามที่เราจะติดตั้ง เมื่อครบทั้ง 4 มุมแล้วก็จะได้เป็นกรอบ 4 เหลี่ยม พร้อมกับได้ค่า ขนาดกำลังไฟฟ้าที่เราจะติดตั้ง ตามช่อง 8
19.คลิก > เพื่อไปต่อ
20.จากตัวอย่างเราใส่ค่ากำลังการติดตั้งที่เราจะติดตั้ง 100 kW. (ตามข้อ 8) เมื่อ Estimated จากโปรแกรมแล้วจะได้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 188,946 kWh/ปี หรือ 188,946 หน่วย/ปี
21.ค่าเฉลี่ยในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าใน1วัน ซึ่งแสดงเป็นรายเดือน ในแต่ละเดือนไม่เท่ากันช่วงหน้าร้อนก็จะได้เยอะหน่อยเกิน 5 kW/ตรม./วัน แต่เฉลี่ยทั้งปีแล้วประมาณ 4.81 kW/ตรม./วัน ซึ่งอันนี้คือโซนภาคใต้ของไทย แต่ถ้าลองเลือกLocation แถวภาคกลางก็จะได้เฉลี่ยทั้งปีเกิน 5 kW/ตรม./วัน
22.AC Energy (kWh) แสดงค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ใน1ปี โดยแสดงแยกเป็นรายเดือน ทั้งปีรวมผลิตได้ 188,946 หน่วย หรือ kWh.
23.Energy Value ($) จำนวนเงินที่เราได้รับจากการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ จากที่เราใส่ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 1.2$ หรือ 4.2บาท จากข้อ16 สรุปแล้วเรามีรายรับจากการผลิตกระแสไฟฟ้าครั้งนี้รวมปีละ 22,673 $ หรือ 793,555 บาท
24.คลิกดาวโหลด รายงานเป็นไฟล์ csv (เปิดด้วยexcel) แสดงเป็นรายเดือน
25.คลิกดาวโหลด รายงานเป็นไฟล์ csv (เปิดด้วยexcel) แสดงเป็นรายชั่วโมง
ตัวอย่างรายงานเป็นรายเดือน การผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบโซล่าเซลล์ ที่ดาวโหลดมาตามข้อ 24
ตัวอย่างรายงานเป็นรายวัน การผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบโซล่าเซลล์ ที่ดาวโหลดมาตามข้อ 25