fbpx

1. สายไฟ DC ช็อต หรือลี๊ก หรือ อาร์ค จนทำให้เกิดไฟไหม้ได้

งานนี้ ไปรับงานแก้ไข (สมัย ยังไม่ค่อยมีงานของตัวเอง ใครจ้าง เราทำหมด) สาเหตุจากสายไฟ ฉนวน ถลอก จากการลากสายที่ไม่ระวัง และ แผงทับสาย บี้ไป บี้มา จนสายถลอก สาย + ถลอก ไปแตะราง Rail ฝั่งหนึ่ง  และ สาย – ไปแตะ ราง Rail อีกฝั่งหนึ่ง พอนานๆไป ทำให้ ใต้แผง ร้อนจนไหม้ อาจจะไม่ได้ไหม้ ในทันที ทันใด คงใช้ระยะเวลาหนึ่ง (อาจจะ 3 เดือน 6 เดือน ) กรณีนี้ พึ่งติดตั้งได้แค่ 4 เดือน ที่ใต้แผง และสายไฟ ร้อนจนละลาย กรณีนี้ ถ้ายังไม่แก้ไข ไฟไหม้ทั้งหลังคา แน่นอน

   

  ====================

2. สายไฟ DC ช็อต หรือลี๊ก หรือ อาร์ค จนทำให้เกิดไฟไหม้ได้ 

งานนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่มีข่าววงใน ไม่สามารถเปิดเผยได้ (ในวงเหล้า พอได้) สาเหตุก็น่าจะ สายไฟ DC ช็อต หรือลี๊ก จนทำให้ หัว PV Connector หรือสายไฟไหม้ อันนี้เดาล้วนๆ

  ====================

 

3. ติด ราง หรือ Rail ไม่บาลานซ์ หรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนด 

ปกติระยะจากขอบแผง ถึง Rail จะอยู่ระหว่าง 30 – 60 ซ.ม. ขึ้นอยู่กับขนาดแผง เพื่อรักษาสมดุล การจับยึดแผง

หาก ระยะจากขอบแผงเว้นน้อยเกินไป ก็จะทำให้แผงตรงกลางแอ่น นานๆไป แผงวงจรด้านในแผง ชำรุดเสียหาย หรือแคร็กซ์

หาก ระยะจากขอบแผงเว้นมากเกินไป พอนานๆไป ตรงปลายๆแผงก็แอ่นเป็นปีกนก แผงวงจรด้านใน ชำรุดเสียหาย หรือแคร็กซ์

   ====================

 

4. สายกราวด์ จิ้มส่งเดช และไม่มีสายกราวด์ ระหว่าง Wireway และ Walkway และไม่มีการเชื่อต่อลงบ่อกราวด์ 

จุดต่อของ Walkway , Wireway ต้องมีสายกราวด์ เชื่อมต่อระหว่างกัน เพื่อรองรับกระแสกระโชก (ที่มาจากฟ้าผ่า , ฟ้าลง , ไฟเซิร์ท ) เพื่อบายพาสลงบ่อกราวด์ แล้วไหลลงพื้นโลก สูญสลายหายไปในเวลาอันรวดเร็ว

หากไม่มีสายกราวด์ เชื่อมตรงจุดต่อ Walkway , Wireway หากเกิดฟ้าลง ก็อาจทำให้เกิดกระแสกระโชกไปยังอุปกรณ์ในระบบ ทำให้ชำรุดเสียหาย

สายกราวด์ จากบนหลังคา ลากลงมาจากหลังคา ลูกเพ่..ช่าง จิ้มๆ แท่งกราวด์ล็อด โยนใส่ไปใต้ตึกเฉยๆ โดยไม่มีการตอกกราวดล็อดเลย (มันน่าจับมาดีดหูนักแล...เอ๊ะ รึว่าพี่ช่างโดนกดราคาจนต่ำติดดิน จนก็ต้องทำตามราคาที่ได้รับมา)

 ====================

 

5. จุดต่อ Rail ต้องมีสายกราวด์เชื่อมระหว่าง Rail 

จุดต่อของ Rail ต้องมีสายกราวด์เชื่อมต่อระหว่างกัน โดยสายกราวด์เป็นทองแดง แล้วใส่หางปลาตะกั่ว เพื่อรองรับกระแสกระโชก (ที่มาจากฟ้าผ่า , ฟ้าลง , ไฟเซิร์ท ) เพื่อบายพาสกระแส ลงบ่อกราวด์ แล้วไหลลงสู่พื้นโลก สูญสลายหายไปในเวลาอันรวดเร็ว

เหตุที่ต้องใส่หางปลาตะกั่วเพราะ หากทองแดง เชื่อมกับอลูมิเนียม(Rail) โดยตรง แล้วผ่านมาระยะหนึ่งจะเกิดฟลั๊กเขียวหรือสนิม ทำให้นำไฟฟ้าไม่ดี เกิดค่าความต้านทานมากขึ้น เราจึงต้องนำหางปลาตะกั่วเป็นตัวกลาง ประสาน เพราะตะกั่วเข้าได้กับทองแดงและอลุมิเนียม (เข้าได้ทุกสถาบัน)

  ====================

 

6. การเชื่อมกราวด์ ระหว่างโต๊ะ ด้วย Ground Lug 

จุดต่อระหว่างโต๊ะ เราจะใช้ Ground Lug เป็นตัวเชื่อม โดยลากสายกราวด์ต่อผ่าน Ground Lug แล้วต้องใส่หางปลาตะกั่ว ที่หัวแถวแต่ละโต๊ะยาวๆไปเลย แต่จากรูปนี้อุปกรณ์นำมาใช้ถูกต้อง

แต่คนนำไปใช้ไม่ถูกต้องเพราะ ลากสายกราวด์ ผ่าน Ground Lug โดยไม่ปลอกสาย และไม่ใส่หางปลาตะกั่ว จึงทำให้น็อต Ground Lug ขันไปโดนฉนวนสาย ไม่โดนตัวสายทองแดง เป็นผลให้ระบบกราวด์ ลงไปไม่ถึงบ่อกราวด์ 

ทีมโซล่าฮับ ใช้ Ground Lug แล้วปลอกสายกราวด์ ลากสายยาวตั้งแต่โต๊ะแรก ไปยังโต๊ะสุดท้าย แล้วทำการบัดกรีสายกับ  Ground Lug ด้วยหัวแร้งตะกั่ว เพื่อเป็นตัวกลางประสานระหว่าง ทองแดง กับ อลูมิเนียม

  ====================

 

7. น็อตปิดฝารางสายไฟ เราไม่ใช้ แต่เราใช้ J Bolt หรือประกับ บน-ล่าง แทน 

ปัญหาน็อตปิดฝาราง คือต้องใช้สกรู ขันอัดบนฝาทะลุไปยังตัวราง ซึ่งเคยเจอปัญหาว่า หัวน็อตไปเจาะสายไฟ DC ที่เราเชื่อมระบบแล้ว ทำให้เกิดการช็อตได้

อีกอย่าง คือบางครั้งรูฝา ไม่ตรงรูราง ทำให้เราต้องเจาะรูใหม่แล้ว จึงทำให้เกิดขี้เหล็ก ลงบนหลังคาเมทัลชีต เป็นต้นเหตุให้เกิดสนิมบนหลังคา และทำให้หลังคารั่ว ในอันดับต่อมา

 

ทีมโซล่าฮับ เลือกใช้รางสายไฟ แบบ Pพดนพฟำก ธพฟั ชนิดที่มี J Bolt หรือ ตัวประกับบน-ล่าง ปิดฝาราง แทนการยึดด้วยน็อต

*** ข้อนี้อาจไม่มีถูกผิด ขึ้นอยู่กับท่านจะพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ***

  ====================

 

8. น็อตยึดรางสายไฟกับ Rail เราไม่ใช้ แต่เราใช้ Hold Down Clamp ยึดรางสายไฟแทน 

การยึดรางสายไฟ มีวิธีการจับยึดหลายอย่าง แล้วแต่ที่ช่างแต่ละคน จะนำไปใช้งาน และหรือ โรงงานผลิต จะออกแบบให้ลูกค้านำไปใช้

แต่หารู้ไหมว่า ที่ออกแบบการใช้งานมาบางครั้งก็เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ หากช่งไม่ตั้งคำถาม หรือไม่สังเกต ก็ใช้ต่อๆกันมา

ซึ่งที่พบเจอคือ ใช้วิธีการเจาะรูรางสายไฟ แล้วอัดสกรูเกลียวปล่อยยึด ซึ่งปัญหาคือ ต้องมีการเจาะรู รางสายไฟ เพื่อให้ตรงกับรางสายไฟ (เพราะไม่สามารถกำหนดระยะเจาะรูจากโรงงานฯ เพราะหน้างานแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน) ทำให้เกิดขี้เหล็กตกลง บนหลังคา และเกิดสนิมบนหลังคาเมทัลชีต ในอันดับต่อไป 

ทีมโซล่าฮับ ใช้ Hold Down Clamp เป็นตัวยึดรางสายไฟ เพื่อไม่ต้องเจาะรางสายไฟ ในการยึดเข้ากับ Rail

  ====================

 

9. การต่อรางสายไฟ ไม่ควรใช้น็อตยึด แล้วส่วนแหลมคมอยู่ในราง 

หัวน็อตเกลียวปล่อย อยู่ด้านนอก แสดงว่าส่วนแหลมคมอยู่ในราง ซึ่งทำให้บาดสายไฟได้ 

ทีมโซล่าฮับ ใช้รางสายไฟชนิด Perforated Tray ที่ได้มาตฐาน ไม่มีการยึดน็อต ที่ส่วนแหลมคม เข้าด้านในราง

Perforated Tray มีฝาปิดเพื่อกันแดด และกันฝนบางส่วน โดยด้านล่างมีช่องเล็กๆ เพื่อไม่ให้น้ำขังในราง

  ====================

 

10. ลดการใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก บนหลังคา เปลี่ยนจากเฟล็กซ์กัน น้ำเป็นท่อ IMC

ลดการใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก และลดการใช้วัสดุที่เป็นสนิมง่าย บนหลังคา เนื่องจากระบบโซล่าเซลล์ต้องอยู่คู่หลังคาไม่น้อยกว่า 20 ปี

  ====================

 

 11. ต๊าฟเกลียวท่อ IMC แล้วจุ่มสีกัลวาไนซ์เย็น

จากที่เราใช้ท่อ IMC ซึ่งก็ต้องมีการตัดท่อแล้วต๊าฟเกลียว ซึ่งเมื่อตัดแล้วเราก็ต้องจุ่มหรือพ่นสีกัลวาไนซ์เย็น เพื่อยืดระยะเวลาการเกิดสนิม ไม่มากก็น้อย อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ทำเลยนะ

  ====================

 

12. ลากสายไฟ DC ด้วยความระมัดระวัง ป้องกันคมท่อบาดสาย

ที่ปลายท่อเราต้องใส่บูชชิ่ง และขณะทำการลาดสาย เราก็ต้องป้องกันคมท่อบาดสาย โดยการรองด้วยกระดาษที่ปลายท่อ และต้องมีทีมงานคอยปล่อยสาย ตามระยะโค้งต่างๆ

  ====================

 

13. คลี่สายไฟ DC ด้วยความระมัดระวัง ต้องใช้ผ้าใบหรือบลูชีท ปูพื้นป้องกันสายถลอก

  ====================

 

 14. ติดตั้ง Wireway หรือ Cable Tray อย่างถูกต้องควรต้องมีซัพพอร์ท

การติดตั้ง Wireway , Cable Tray หรือรางสายไฟ ติดผนัง ควรต้องทำซัพพอร์ท เพื่อยึดท้องรางกับซัพพอร์ท ( ไม่ใช่ยึดท้องรางกับผนัง ซึ่งทำให้ท้อรางไม่ได้รับน้ำหนักสาย และตอนเปิดฝาราง สายไฟอาจร่วงลงมาได้)

  ====================

 

15. สายไฟฟ้าใต้แผง ต้องเก็บ ให้เรียบร้อย ห้ามหย่อนย้อย ลงแตะบนพื้นหลังคาเด็ดขาด

หากสายไฟ หย่อนย้อยพาดบนหลังคา ก็จะทำให้เจอร้อน ฝน เป็นผลให้ฉนวนสายไฟ เสื่อมก่อนเวลาอันควร จนทำให้เกิด Insulation Fault

  ====================

 

 16. ซัพพอร์ตท่อน้ำ ต้องยึดกับแอลและใส่ยูโบลท์ ตามรูปยึดกับแค้มป์ประกับซึ่งขึ้นสนิมง่ายในเวลาแค่ไม่ถึงปี

 ====================

 

17.ซัพพอร์ตท่อ IMC ไม่ควรใช้สกรูยิงเข้ากับเรียว ควรใช้อุปกรณ์ของเม้าส์ติ้งที่ทั่วไปเรียกว่าเม็ดมะยมยึดกับเรียวแทน

 การจับยึดส่วนประกอบอื่นๆ เช่น Wireway , Walkway , Water Pipe , LifeLine , Life Guard ทีมโซล่าฮับ จะใช้อุปกรณ์ของ Mounting เป็นตัวจับยึด เนื่องจากเป็นอลูมิเนียม ที่ทนทานไม่เป็นสนิม

***ซึ่งทำให้เราใช้อุปกรณ์ประกอบของmounting มากกว่าทั่วๆไป***

 ==================== 

 

18. การจับMounting ของ RedDot ที่มีรายละเอียดแบบลึกซึ้ง

  ====================

 

19. ออกแบบวางแผง ต้องวางต่อกันไม่เกิน 2 แผง เพื่อสะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษา

  ====================

 

20. ควรติดตั้งระบบน้ำอย่างเหมาะสม เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษา

  ====================

 

21. พื้นฐานทางช่างที่ดี ติดตั้งให้ได้ระยะเหมาะสม และ สวยงาม

  ====================

 

22. จุดต่อทางไฟฟ้า ต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ ขันให้แน่น ป้องกันเกิดเหตุไฟไหม้

 

ใช้ Thermo Scan วัดอุณหภูมิ แล้วพบว่าตำแหน่งตามในรูป มีอุณหภูมิมากกว่าจุดอื่น 40 °c  ตรวจสอบแล้วพบว่า ขันไม่แน่น

 

ขันน็อต อัดได้อีก 2 รอบ (ถ่าย Thermo Scan แล้วอุณหภูมก็ปกติเท่าๆกับจุดอื่น แต่หารูปไม่เจอ)

 

*** สายไฟควรบิดหางปลาให้ขนานก่อนขันน็อต ตามรูปนี้คือหางปลาไม่สนิทแล้วขันอัดได้อีก 2รอบ นี้คือต้นเหตุของไฟไหม้ตู้ ***

  ====================

 

23. ลำเลียงแผง บนหลังคา ใช้กระเช้า ห้อยยกด้วยเครน ไม่วางลงบนหลังคา

 ====================

 

24. KYT ( Kiyen , Yoshi , Training ) อันตราย , คาดการณ์ , ฝึกอบรม 

 

====================================================================================================