fbpx

อันเนื่องจากบทความที่ได้เคยกล่าวถึง การต่อหรือขนานไฟเข้าระบบจำหน่ายฯ โซล่าเซลล์ แบบออนกริด และจากการไปพบกับทีมงานช่างเทคนิคและวิศวกรของโรงงานในหลายๆแห่ง ที่มีการใช้ไฟฟ้าทั้งแรงต่ำ (220/380 V.) และไฟฟ้าแรงสูง (3.3 kV , 11 kV , 22 kV ...) สามารถที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าได้หรือไม่ ? แล้วมันมีหลักการอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ...ตามมาครับ

 

+++ บางท่านอาจสงสัยว่า มีด้วยเหรอ โหลดที่ใช้ไฟฟ้าแรงสูง >> ขอตอบว่ามีครับ ส่วนใหญ่ก็เป็นโรงงาน ที่ต้องใช้มอเตอร์ขนาดใหญ่มากๆ เช่น โรงงานหลอมเหล็ก โรงงานรีไซเคิ้ลโลหะต่างๆ ที่มอเตอร์ใช้ไฟฟ้าแรงสูง 3kV.,3.3kV. , 4 kV, 5 kV, ... เป็นต้น +++

ขอใช้ภาพด้านล่างแทนคำอธิบาย ของคำถามที่ว่า โรงงาน ใช้ไฟฟ้าทั้งแรงต่ำและแรงสูง ติดโซล่าเซลล์ ประหยัดค่าไฟได้ป่าว? ซึ่งน่าจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ

รูปที่1

รูปที่1 แสดงถึงกรณีที่ติดโซล่าเซลล์ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า โดยเชื่อมต่อไฟฟ้าจากโซลล่าเซลล์ ที่ MDB แรงต่ำ ซึ่งเป็นโรงงานที่มีการใช้ไฟฟ้าแรงต่ำ 220/380 V. สำหรับใช้กับโหลดทั่วไปในสำนักงาน และใช้ไฟฟ้าแรงสูง 3.3 kV. สำหรับใช้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ไฟฟ้าแรงดัน 3.3 kV. 

โดยทางโรงงานก็ขอเชื่อมต่อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ ที่ขนาดแรงดัน 22 kV. ซึ่งก็มีมิเตอร์ไฟฟ้าแรงสูง (คล้อง CT ) สำหรับวัดค่าการใช้ไฟฟ้าที่แรงสูง 22 kV. แล้วก็วางหม้อแปลง2 ตัว โดยตัวที่ 1 ก็แปลงเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำ 220/380 V. สำหรับใช้กับโหลดทั่วไปในสำนักงาน  และตัวที่ 2 ก็วางหม้อแปลงเป็นไฟฟ้าแรงดันสูง 3.3 kV. เพื่อไปจ่ายให้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับขยุ้มเหล็ก

 

รูปที่2

สำหรับรูปที่2 แสดงการใหลของกระแสไฟฟ้าของ โซล่าเซลล์ที่ผลิตได้ ก็จะมาจ่ายให้กับโหลดในหม้อแปลงแรงต่ำจนหมด(ตามรูปคือลูกศรสีน้ำเงิน) และอีกส่วนหนึ่งก็ดึงกระแสไฟฟ้ามาจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ มาชดเชยด้วยอีกทางหนึ่ง (ลูกศรสีแดง)

+++ที่ประหยัดค่าไฟฟ้าก็เพราะ เราไม่ได้ดึงไฟ จากการไฟฟ้าฯมาใช้งานจ่ายโหลดทั้งหมด โดยโหลดจะดึงไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มาใช้ก่อน ถ้าไม่พอค่อยดึงของการไฟฟ้าฯมาใช้งาน ดังนั้นมิเตอร์ของการไฟฟ้าฯ ก็จะหมุนน้อยลง ตามที่เรานำมาใช้งานเท่านั้น+++

 

รูปที่3

สำหรับรูปที่ 3 กรณีสำนักงานหยุดทำงาน ก็ทำให้ไม่มีการใช้ไฟฟ้าในอ็อฟฟิศ ดังนั้นไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลล่าเซลล์ ก็จะไหลสเต็ปอัพ (Step-Up) ผ่านหม้อแปลงแรงต่ำย้อนไปจ่ายให้กับ หม้อแปลงแรงสูงใกล้เคียง ซึ่งอยู่ในมิเตอร์ตัวเดียวกัน (ตามลูกศรสีน้ำเงิน) และบางส่วนก็ดึงไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ มาบางส่วนจ่ายให้กับโหลดมอเตอร์แรงสูงต่อไป

 

จากรูปข้างต้นทั้ง 3 รูป ก็เป็นคำตอบว่า ติดระบบโซล่าเซลล์สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ทั้งด้านแรงต่ำและแรงสูง ที่อยู่ในมิเตอร์เดียวกันได้ โดยให้ยึดหลักๆว่า โหลดจะดึงกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายที่ใกล้ที่สุดก่อน (ในที่นี้ก็คือแหล่งจ่ายจากโซล่าเซลล์ เพราะแหล่งจ่ายของการไฟฟ้าฯอยู่ไกลกว่า) 

ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือ จะต้องออกแบบขนาดการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ให้เหมาะสมกับขนาดของโหลดที่ใช้งาน เพราะหากเราติดโซล่าเซลล์ขนาดมากเกินกว่าที่โหลดในมิเตอร์ของเราใช้งาน ก็เป็นการลงทุนที่มากกว่าความต้องการ หรือผลิตไฟฟ้าแล้วทิ้งไปเสียเปล่าๆ ซึ่งก็มีผลให้ระยะเวลาการคืนทุน หรือ Payback Period ยาวนานขึ้นไปอีกครับ

*ระบบไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน 1,000 โวลท์
**ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลท์