fbpx

ว่าด้วยเรื่องของ Relay Protection และ Zero Export หรือตัวกันย้อน

Relay Protection รีเลย์ โปรเท็คชั่น
        ♠ จริงๆแล้ว Relay Protection ในความหมายของช่างไฟฟ้าทั่วไป ก็คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันระบบโครงข่ายไฟฟ้า หากตรวจพบว่ามีสิ่งผิดปกติในโครงข่ายไฟฟ้า ก็จะตัดวงจรออก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในภาพรวมของระบบ ในวงกว้าง ซึ่งตัว Relay Protection นี้ก็จะมีความสามารถ หรือมีการตรวจจับค่าความผิดปกติทางไฟฟ้าหลายอย่าง หรือเรียกว่าเป็นการทำงานเป็นแบบมัลติฟังก์ชั่น แต่ในแวดวงโซล่าเซลล์ ส่วนใหญ่จะพูดถึงฟังก์ชั่น รีเลย์กันย้อน ซะเป็นส่วนใหญ่ โดยหลักการก็คือ


         เราติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบออนกริด สำหรับใช้ในโรงงาน ในช่วงเวลากลางวัน แต่อาจมีบางช่วงเวลา หรือบางวัน ที่โรงงานเราหยุด ก็ทำให้เราไม่ได้ใช้ไฟฟ้าหรือใช้โหลดลดน้อยลง ดังนั้นโซล่าเซลล์ที่เราผลิตได้ก็อาจจะเหลือ จากการใช้งานภายในโรงงาน ซึ่งไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ ในโรงงานเราก็จะไหลออก ออกไปยังโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ หรือโรงงานอื่นๆ บริเวณใกล้เคียง ซึ่งหากเป็นอย่างนี้หลายๆโรงงาน ก็อาจทำให้ ระบบสายส่ง หรือหม้อแปลง ไม่สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าเหลือ ที่ไหลย้อนกลับเข้าระบบสายส่งได้ ดังนั้น การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงได้ออกระเบียบหรือข้อบังคับมาว่า หากพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากระบบโซลล่าเซลล์ เหลือจากการใช้งานภายในโรงงาน ห้ามไหลย้อนกลับออกไปยังโครงข่ายของการไฟฟ้า 


รูปที่1. แสดงการไหลของกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ และจากการไฟฟ้าฯ

highvolt grid connect pea mea4
       ♠ จากรูปที่1. หากเป็นวันอาทิตย์ ที่โรงงานหยุดการทำงาน การใช้กระแสไฟฟ้า ทั้ง 3 หม้อแปลง ก็จะลดต่ำลง ซึ่งก็อาจทำให้กระแสไฟฟ้า จากระบบโซล่าเซลล์ ไหลย้อนกลับไปยังโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ ซึ่งก็จะต้องมีการติดตั้ง Relay Protection ป้องกันกระไฟฟ้าไหลย้อนกลับ ตามระเบียบการไฟฟ้าฯ

     ♠ วิธีการที่จะบล็อก ไม่ให้กระแสไฟฟ้า จากระบบโซล่าเซลล์ ไหลย้อนกลับไปยังโครงข่ายของการไฟฟ้า (Grid) ก็ต้องคล้อง CT หรือ Current Transformer เพื่อตรวจวัดทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ ว่ามีไหลออกไปนอกโรงงานหรือไม่ (ถ้ามีไหลออก ที่ Meter ของระบบโซล่าเซลล์ จะแสดงค่าเป็น –ลบ ) ซึ่งถ้ามีแสดงว่าในช่วงเวลานั้น โหลดภายในโรงงานมีการใช้ปริมาณไฟฟ้าน้อยกว่า ปริมาณไฟฟ้าที่ระบบโซล่าเซลล์ผลิตได้ ส่วนใหญ่จะเกิดในเวลาเที่ยงวัน ซึ่งเป็นเวลาพักของพนักงาน และปิดระบบการทำงานของเครื่องจักร หรือในวันหยุดของโรงงาน เช่น เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นต้น
      ♠ เมื่อ CT ตรวจพบกระแสไหลย้อนดังกล่าว ก็จะส่งสัญญาณมายังอุปกรณ์ Relay เพื่อตรวจสอบว่ามีค่าเกินกว่าข้อกำหนดของการไฟฟ้า ตามที่ได้ Setting ไว้หรือไม่ ถ้ามีค่าเกิน Relay ก็จะส่งสัญญาณต่อไปยังอุปกรณ์ Shunt Trip ภายในเมนเบรกเกอร์ของ MDB ระบบโซล่าเซลล์ เพื่อทำการตัดวงจร เมื่อเป็นเช่นนี้ระบบโซล่าเซลล์ ก็จะไม่ทำการผลิตไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับโหลดของโรงงาน จนกว่าจะมีการรีเซ็ตระบบ แล้วออนเมนเบรกเกอร์ของ MDB ระบบโซล่าเซลล์ ขึ้นมาใหม่ >>> หากผู้ดูแลระบบฯ ไม่ได้ดูระบบมอนิเตอร์อยู่ตลอดเวลา ก็อาจทำให้ไม่ทราบว่า ขณะนี้ระบบโซล่าเซลล์ หยุดผลิต อันเนื่องจากเบรคเกอร์ ทริป จากกระแสไหลย้อน (จึงไม่ได้ทำการ ออนเมนเบรกเกอร์ ของ MDB ระบบโซล่าเซลล์ ขึ้นมาใหม่ ) เป็นผลให้สูญเสียโอกาสในการผลิตไฟฟ้า จากโซล่าเซลล์ อย่างน่าเสียดาย

        ♠ วิธีการบล็อก ไม่ให้กระแสไฟฟ้า จากระบบโซล่าเซลล์ ไหลย้อนกลับไปยังโครงข่ายของการไฟฟ้า (Grid) โดยการติดตั้ง Relay เพียงอย่างเดียว จะมีผลเสียกับทางโรงงาน (ลูกค้า) เป็นอย่างมาก หากเมนเบรกเกอร์ตัดในวันหยุดเช่นวันอาทิตย์ แล้วทางโรงงานไม่ได้ตรวจสอบในวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันทำงาน ทางโรงงานก็จะใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ประโยชน์จากระบบโซล่าเซลล์ เลย จนกว่าจะมีการออนเมนเบรกเกอร์ของ MDB ระบบโซล่าเซลล์

>>> โปรดติดตามตอนต่อไป ว่าด้วยเรื่องของ Relay Protection และ Zero Export สำหรับระบบโซล่าเซลล์ EP2 กล่าวถึง Zero Export มาแก้ไขปัญหา ก่อนที่ Relay จะสั่งตัดเมนเบรคเกอร์