fbpx

คำนวณและออกแบบระบบโซล่าเซลล์

Conductive Loops คือพื้นที่วงรอบของตัวนำไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับระบบฯ โดยสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก ถ้าอยู่ถูกที่ถูกทางก็จะเป็นประโยชน์ เช่น มอเตอร์ก็เป็นการใช้ประโยชน์ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เหนี่ยวนำจนทำให้โรเตอร์หมุนแล้วทำให้เกิดการสร้างพลังงานกล นั่นเอง

ขอยกตัวอย่าง Conductive Loops

ตัวอย่างหนึ่ง ของConductive  Loops ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ เช่น เรามีม้วนปลั๊กพ่วงที่มีสายยาวมากเกิน 20 เมตรขึ้นไปแล้วขดม้วนอยู่ในโรลสาย ไม่คลี่หรือดึงออกมา จากนั้นเราลองเอาเครื่องอ๊อกเหล็ก มาเสียบปลั๊ก จากโรลสายนั้น แล้วลองเชื่อมเหล็กดู ก็จะรู้ว่าสายนั้นร้อนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากเรายังเชื่อมเหล็กนั้นต่อไปเรื่อยๆ ฉนวนของสายไฟที่อยู่ในโรลสายนั้นก็จะละลาย จนช็อตกันในที่สุด ซึ่งอันนี้ก็เป็นผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า นั่นเอง

 

อ่านเพิ่มเติม...

บทความนี้สำหรับท่านที่อยู่ว่างๆ แล้วอยากจะปวดหัวเล่นๆ555  ซึ่งเป็นคำถาม ที่โซล่าฮับ ไม่มีคำตอบ  เพราะยังไม่มีโอกาสได้ทดลอง ว่าจริงๆแล้ว เราจะเลือกการออกแบบ จำนวนแผงโซล่าเซลล์ กี่แผง ต่อ String แบบใดที่เหมาะสม หรือ ดีที่สุด ในสภาพอากาศในเมืองไทย ? 

♣ จากตารางด้านล่างนี้ คือการออกแบบโซล่าเซลล์ แบบออนกริด โดยการใช้โปรแกรม PVSYST ที่ทำการจำลอง (Simulate) ค่าออกมาว่าเมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ แล้วจะได้พลังงานไฟฟ้าเท่าใด โดยตั้งสมมติฐานว่าใช้อินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อ SMA ขนาด 25 kW. และใช้ แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ JA Solar ขนาด 325 W.

♣ SMA ขนาด 25 kW จะมี 2 MPPT ,  6 String โดยแต่ละ MPPT จะสามารถต่อได้ 3 String ซึ่งแต่ละ MPPT รองรับแรงดันไฟฟ้าได้สูงสุด 1,000 V.  และมีช่วงแรงดันที่เหมาะสมในการทำงานอยู่ระหว่าง 320 - 800 V.

♣ JA Solar 325 W. มีแรงดันสูงสุด สภาวะต่อใช้งาน ประมาณ 37.39 V. 

อ่านเพิ่มเติม...

สำหรับระบบโซล่าเซลล์ แบบอ็อฟกริด ( OffGrid Solar System ) เราต้องทำการคำนวณ หรือหาขนาดอุปกรณ์ ที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสม ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องคำนวณหาก็ประกอบด้วย

1.) จำนวนวันที่สำรองไฟได้ หากไม่มีแสงอาทิตย์
2.) หาพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน
3.) เลือกใช้ระดับแรงดันที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม...

การใช้ซอฟท์แวร์สำหรับการออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการประมาณการ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ก็มีอยู่หลายโปรแกรม ที่มีให้เราได้เลือกใช้ มีทั้งแบบเสียเงิน แบบฟรี ทั้งอย่างง่าย หรือยาก ก็ว่ากันไป ซึ่งจากการที่ทีมงานได้ลองใช้งานแล้ว ก็เลยแคปเจอร์ มาแนะนำในเบื้องต้นก่อนเพื่อเป็นแนวทาง เผื่อท่านใดสนใจ จะได้ไปลองเล่นดูมั่ง

อ่านเพิ่มเติม...

เนื่องจากมีมิตรสหาย2 ท่าน ขอให้ทางแอดมิน ช่วยแนะนำวิธีการออกแบบระบบการติดตั้งโซล่าเซลล์ เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ไม่เอาสูตรที่ซับซ้อน เนื่องจากไปอ่านหนังสือแล้วมึนๆงงๆ ดังนั้นแอดมินจึงได้จัดทำเป็นPresentation ให้กับมิตรสหาย และก็ได้ติวเข้มแบบง่ายๆไปเรียบร้อยแล้ว ไหนๆก็ทำเป็นไฟล์Presentation แล้ว เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ ก็ขอนำมาให้ท่านที่สนใจไปลองอ่านดู

อ่านเพิ่มเติม...

หลังจากที่มึนงงกับ การออกแบบการต่อแผงโซล่าเซลล์ไปก่อนหน้านี้กันแล้วกันแล้ว ทีนี้จะพามาดูการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ สำหรับโรงงาน ทั้งนี้หากจะแบ่งลักษณะการติดตั้ง Solar PV Rooftop ผมขอแบ่งเป็น 2 ลักษณะ (มีอย่างอื่นอีกหรือป่าว ไม่แน่ใจครับ แต่ขอกล่าว 2 ลักษณะแล้วกันครับ)

1.ติดตั้งยึดติดบนหลังคา หรือ Roof Mounting 

     1.1 หลังคาแบบเมทัลชีต

     1.2 หลังคาซีแพ็ค

     1.3 หลังคากระเบื้อง

2.ติดตั้งบนดาดฟ้าของอาคาร หรือ Ground Mounting

อ่านเพิ่มเติม...

เริ่มต้นด้วยตัวอย่างSingle Line Solar Rooftop ซึ่งจากตัวอย่างรูปนี้จริงๆมี Inverter ขนาด 25 kWp. จำนวน 3 ตัว (แต่ตัดมาให้ดูแค่ตัวเดียว)  เริ่มจากด้านขวามือ ไล่มาทางซ้ายมือ

อ่านเพิ่มเติม...

จากรูปตัวอย่างการต่อแผง PV สำหรับการติดตั้งแบบ Ongrid จะเห็นว่าเราต่อแผงอนุกรมกัน 4 ชุด หรือเรียกว่า 4 String โดยแต่ละ String อนุกรมกัน 17 PV 

ทำไมต้องเป็น 17 PV 4 String ด้วย...ทามมายยย?

ต่ออนุกรมกันมากกว่านี้ได้ไหม?

ต่อขนานกันมากกว่านี้ได้ไหม?

เราจะหาคำตอบเหล่านี้ ได้จากการดูที่ Specification ของ อินเวอร์เตอร์ ที่เรานำมาใช้งาน ตามรูป ครับ

อ่านเพิ่มเติม...

จุดที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ Inverter ก็มีข้อควรพิจารณาอยู่หลายประการ เช่น

1.ควรติดตั้งใกล้กับแผง PV เนื่องจากหากวางใกล้กันก็จะทำให้ประหยัดสายไฟ DC ที่เดินจาก PV ไปยัง ตู้ Combiner Box ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะติดตั้งในห้อง Inverter Room (ก็มีบ้างบางแห่งที่ ติดตั้งตู้ Combiner Box ไปติดตั้งบนหลังคาที่ใกล้กับแผง PV แล้วจึงดึงสายไฟที่มีการรวมหลายString แล้ว ไปยังห้อง Inverter Room ) อีกทั้งหาก ติดตั้ง Inverter ห่างจาก PV มากเกินไป เป็นร้อยๆเมตร อาจมีผลเรื่องแรงดันตกคร่อม ซึ่งเราก็ต้องเพิ่มขนาดสายให้ใหญ่ขึ้นไปอีก

อ่านเพิ่มเติม...

การต่อแผงโซล่าเซลล์ ก่อนอื่นต้องรู้ Specification ของ ตัวแผงโซล่าเซลล์ (ต่อจากนี้จะเรียก PV นะครับ) และ อินเวอร์เตอร์ ก่อน เพื่อจะได้นำมาออกแบบได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งต้องมีความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าเบื้องต้นมาก่อน ซึ่งบทความก่อนหน้านี้ ทางทีมงานโซล่าฮับได้ปูพื้นฐานไปมากพอควรแล้ว สามารถไปหาอ่านได้ที่ facebook.com/solarhub.co.th และที่เว็บ solarhub.co.th ที่เมนู ความรู้เบื้องต้นทางไฟฟ้า เช่น

- การต่ออนุกรม ทำให้ แรงดัน(V)เพิ่ม  , กระแส(A) เท่าเดิม , กำลังไฟฟ้าเพิ่ม

- การต่อขนาน  ทำให้  กระแส(A)เพิ่ม , แรงดัน(V) เท่าเดิม , กำลังไฟฟ้าเพิ่ม

- สูตรพื้นฐานทางไฟฟ้า P=ExI  , E=P/I  , I=P/E

อ่านเพิ่มเติม...

ความเดิมคราวก่อน เราได้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือ PV บนหลังคาแล้ว ต่อจากนั้นเราก็ต้องเดินสายไฟฟ้า DC หรือเค้าเรียกกันว่า สาย PV1-F โดยใส่ในท่อร้อยสาย(Conduit) หรือรางสายไฟ (WireWay) เพื่อเดินมายัง DC Combiner Box (เป็นจุดรวมสายไฟ DC แต่ละ String มาต่อขนานกันเพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แต่โวลท์เท่าเดิม) ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะติดตั้งอยู่ในห้อง Inverter Room หรือใกล้กับตัวInverter  สำหรับท่อร้อยสาย และรางเดินสายไฟก็มีทั้งแบบใช้ภายนอกอาคารและใช้ภายในอาคาร (เดี๊ยวค่อยลงรายละเอียดในตอนถัดๆไป)

อ่านเพิ่มเติม...

ตัวอย่างการคำนวณ แบบอ๊อฟกริด อีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าค่อนข้างมากและต้องการสำรองไฟฟ้า ไว้ใช้2 วัน กรณีไม่มีแดด ดังนั้นจึงต้องใช้ขนาดอินเวอร์เตอร์ ที่ใหญ่ขึ้นและเพิ่มจำนวนแบตเตอรี่มากขึ้นด้วย โดยทำนำ3PV อนุกรมกัน ได้ประมาณ 112 VDC (เนื่องจากอินเวอร์เตอร์รับได้สูงสุด 145 VDC) รวม 4 String นำทั้ง4 String มาขนานกัน เพื่อให้ได้ค่าวัตต์ที่เพิ่มขึ้น (แต่โวลท์เท่าเดิม และแอมป์เพิ่มขึ้น ซึ่งได้เคยอธิบายไปแล้ว ที่บทความก่อนหน้านี้)
นำ PV ขาบวก แต่ละString มาเข้าฟิวส์แยกแต่ละString แล้วต่อไปเข้า DC Breaker ซึ่งก่อนเข้า DC Breaker เชื่อมไปยังSurge Protection ก่อน
นำขาลบ ยิงตรงเลยไม่ต้องผ่านฟิวส์ ออกจาก DC Breaker ก็เข้า Hybrid Inverter
อ่านเพิ่มเติม...

การประมาณการ ค่าการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่เหล่ามืออาชีพนักออกแบบระบบโซล่าเซลล์ เค้านิยมใช้กันก็มี โปรแกรม PVSYST ครับที่ใช้กันเยอะซึ่งราคาก็แพงเอาเรื่องอยู่ ประมาณ 1,025 usd /1 license และการใช้งานก็ยุ่งยากซ้ำซ้อนต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้โปรแกรม 

กรณีที่เรามีความต้องการที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคาโรงงานเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า เราสามารถที่จะลองประมาณการก่อนได้ว่า เมื่อเราติดตั้งแล้ว เราจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้สักกี่หน่วย หรือกี่ยูนิต กันแน่ แล้วมันจะคุ้มค่าเงินลงทุนที่เราลงไปหรือไม่ วันนี้โซล่าฮับ จะมาแนะนำระบบประมาณการ ค่าการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่เชื่อถือได้ ที่สำคัญคือ ฟรี! ครับ นั่นคือ>>> PVWatts Calculator

อ่านเพิ่มเติม...