fbpx

สำหรับระบบโซล่าเซลล์ แบบอ็อฟกริด ( OffGrid Solar System ) เราต้องทำการคำนวณ หรือหาขนาดอุปกรณ์ ที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสม ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องคำนวณหาก็ประกอบด้วย

1.) จำนวนวันที่สำรองไฟได้ หากไม่มีแสงอาทิตย์
2.) หาพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน
3.) เลือกใช้ระดับแรงดันที่เหมาะสม
4.) หาขนาดความจุแบตเตอรี่
5.) หาขนาดอินเวอร์เตอร์
6.) หากำลังไฟฟ้าและจำนวนแผงที่ใช้งาน
7.) หาขนาดชาร์จเจอร์ หรือ ชาร์จคอนโทรลเรอร์ ( Charger or Charge Controller )
8.) เลือกดู สเปค หรือดาต้าชีท (Specification / Data Sheet) ของอุปกรณ์ ที่จะนำมาใช้

 

สำหรับข้อ 1 - 7 นั้น เคยกล่าวไว้ในหัวข้อก่อนหน้าโน้น นานแล้ว ลองหาอ่านดูครับ

ที่เพิ่มมาข้อ 8 เนื่องจากเมื่อเราได้ทำการคำนวณแล้ว ว่าเราควรใช้อุปกรณ์แต่ละอย่าง ขนาดเท่าใดแล้ว ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ เราต้องหาอุปกรณ์ ที่มีในท้องตลาดให้ได้ตรงกับที่เราออกแบบมา ในที่นี้ก็เลยได้ทำรูปการต่อแผงโซล่าเซลล์ ให้ได้กำลังไฟฟ้าตรงตามที่ออกแบบมา และต้องไปต่อเข้ากับตัวอินเวอร์เตอร์ หรือ ชาร์จเจอร์ ให้ได้ ดังรูปตัวอย่าง

จากรูปข้างบนนี้ เราคำนวณแล้วว่าต้องการ กำลังไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ ไม่น้อยกว่า 1,500 W และเราใช้ ไฮบริด อินเวอร์เตอร์ ที่มีชาร์จเจอร์ ในตัว ซึ่งในอินเวอร์เตอร์ตัวนี้ ต้องการแรงดันไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ มาเข้าอินพุท ระหว่าง 30 - 130 Vdc และกระแสไฟฟ้า ไม่เกิน 60 A. 

ดังนั้น เราจึงใช้แผง ขนาด 270 W ที่มีแรงดันขณะต่อใช้งานหรือเรียกว่า Vmp ที่ 31.7 V อนุกรมกัน 2 แผง ก็ได้ประมาณ 63.4 Vdc ( 31.7x2 =63.4 Vdc ) แล้วนำมาขนานกันจำนวน 3 ชุด หรือ 3 String ก็จะได้เป็น 1 Array ทำให้ได้กำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น  1,620 W แต่แรงดันเท่าเดิม และกระแสขณะช็อตวงจร Isc ก็เพิ่มขึ้นเป็น 27.27 A ( 9.09x3=27.07A ) ซึ่งก็ตรงตามสเป็ค ของไฮบริด อินเวอร์เตอร์ระบุไว้ 

นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อเราคำนวณว่าใช้อุปกรณ์ ขนาดเท่าใดแล้ว ไม่ใช่ว่าจะจบงาน แต่เราก็จะต้องหาอุปกรณ์มาต่อใช้งานให้ได้ตามที่ได้ออกแบบไว้

 

 

ขยายความต่อเรื่องการต่อแผงโซล่าเซลล์ เอาให้ดูง่ายขึ้นไปอีก ก็ดูตามรูปด้านล่างนี้

 

ตามรูปนี้ ตัวอย่างใช้แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ JINKO SOLAR ขนาด 270 W. ซึ่งมีค่า

Voc : แรงดันขณะเปิดวงจร

Vmp

Imp

Isc