fbpx

17. Export Control / Zero Export   หรือตัวหรี่ ของอินเวอร์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ ตรวจวัดการใช้งานของโหลดรวมภายในบ้าน หรือโรงงาน (ลูกค้า) ซึ่งแต่ละแบรนด์ อาจเรียกชื่อต่างกัน เช่น Smart Sensor, Energy Meter , Smart Logger , Watt Node … เป็นต้น แต่สรุปรวมคือ ฟังก์ชั่น Zero Export ย้อนกลับต้องเป็นศูนย์ หรือตัวหรี่กำลังการผลิตของอินเวอร์เตอร์ ให้เป็นไปตามสภาวะการใช้ไฟฟ้า ของโหลดรวมภายในโรงงานในช่วงขณะเวลานั้นๆ

       ♦ กรณีที่โรงงานติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ขนาดกำลังผลิต 500 กิโลวัตต์ โดยออกแบบตามการใช้ปริมาณไฟฟ้าที่เหมาะสมของโรงงานในเวลาปกติแล้ว แต่ทางโรงงานจัดเวลาพักกลางวันให้กับพนักงานในเวลา 12.00 - 13.00 น. พร้อมกันทุกแผนก จึงมีการปิดระบบเครื่องจักรทั้งหมด ยกเว้นระบบเครื่องปรับอากาศในสำนักงาน ซึ่งจะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโรงงานต่ำลง (สมมติเหลือใช้งานเพียง 100 กิโลวัตต์) จึงสวนทางกับปริมาณการผลิตไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ (ช่วงเวลาดังกล่าวอาจผลิตได้สูงถึง 400 กิโลวัตต์) กรณีเช่นนี้อุปกรณ์ Zero Export ก็จะทำการลดทอนกำลังการผลิตของอินเวอร์เตอร์ ลง เหลือ 100 กิโลวัตต์
ซึ่งอุปกรณ์ ที่ตรวจวัดขนาด และหรือทิศทางกระแส ก็คือ CT โดยเราจะทำการคล้อง CT ที่เมนไฟ ของบ้าน หรือโรงงาน เพื่อวัดค่าในภาพรวม แล้วส่งต่อไปยังตัว Zero export

 

คุณติดโซลาร์ไว้บนหลังคา แผงผลิตไฟฟ้าได้อย่างบ้าคลั่งตอนแดดจัด แต่ไฟบ้านคุณไม่ใช้เยอะขนาดนั้น...

ไฟมันเลยอยากจะวิ่งออกจากบ้านคุณ พุ่งไปหาระบบการไฟฟ้า (การไฟฟ้าก็แบบ… เอ๊ะ ใครใช้ฉันเป็นแบตฟรี?)

💡 นี่แหละที่ “Export Control” เข้ามาจัดการ! มันจะเหมือน “การ์ดกันไฟ” ไม่ให้ไฟโซลาร์ วิ่งออกไปนอกบ้าน ไฟต้องอยู่ในบ้านเท่านั้น ห้ามวิ่งเล่นนอกบ้าน!

เพราะการไฟฟ้าบางที่ เขาหวงมิเตอร์ ไม่อยากให้ไฟเราย้อนกลับไปหาเขา

🤖 Zero Export Mode: คือ ขั้นสุดของความหวงไฟ  “ผลิตแค่ไหน ใช้เท่านั้น! ไม่เหลือ ไม่ปล่อย ไม่เผื่อใคร!”

ระบบจะคอยบาลานซ์ว่า: ถ้าโหลดบ้านใช้ 2,000W → อินเวอร์เตอร์จะปล่อยแค่ 2,000W จากแผง

ถ้าไม่ได้ใช้ → ไม่ปล่อยอะไรเลย (แม้แดดจะเปรี้ยงสุดชีวิต)

🎯 แล้วเราจะเปิดใช้ทำไม?
✅ ป้องกันไม่ให้ไฟย้อนเข้าระบบการไฟฟ้า (ถ้ากฎหมายไม่อนุญาต)

✅ ไม่ได้ขออนุญาตขายไฟฟ้า

✅ หมดปัญหา “มิเตอร์หมุนกลับ”

✅ รักษามิตรภาพกับการไฟฟ้าไว้ไม่ให้พัง 

 

18. AC Coupled  🔌 ก่อนอื่น: AC Coupled คืออะไร? (แบบเข้าใจง่าย) ปกติระบบโซลาร์ที่มีแบตเตอรี่มี 2 แบบใหญ่ๆ:

DC Coupled = แผงโซลาร์ต่อเข้ากับแบตโดยตรงผ่านอินเวอร์เตอร์

AC Coupled = แผงโซลาร์อยู่ระบบหนึ่ง แล้ว “เพิ่มอินเวอร์เตอร์แบต” อีกตัว ผ่านระบบ ไฟ AC

AC Coupled จะให้ อินเวอร์เตอร์ 2 ตัว คุยกันผ่านไฟบ้าน (AC) โดย Solis Hybrid (S6-EH1P...) จะเป็นตัวหลักควบคุมระบบ

🧩 ใช้ AC Coupled กรณีไหน?
♦ คุณมี โซลาร์ที่ติดไปแล้ว แบบไม่มีแบต (On-Grid)

♦ อยากเพิ่มแบตโดยไม่รื้อระบบเดิม

♦ ใช้ระบบ Hybrid อย่าง Solis S6-EH1P(3-8)K-L-PLUS เพื่อควบคุมแบต

♦ มีโหลดที่ต้องสำรองไฟ เช่น Wi-Fi, CCTV, แสงสว่าง ฯลฯ

⚙️ ต้องต่ออย่างไร?

      → ระบบเดิมมี ไฟ AC ออกจาก Inverter ไปเชื่อมเข้าเบรคเกอร์ไฟบ้าน

      → เมื่อเราติดอินเวอร์เตอร์ Solis S6-EH1P(3-8)K-L-PLUS เพิ่ม ก็แค่โยกสายไฟ AC จากอินเวอร์เตอร์เดิม มาเข้ายังตูด (พอร์ท Gen) ของ Solis ที่ติดตั้งใหม่ แล้วไฟ AC ที่ออกจาก Solis ก็เชื่อมโยงไปเข้าเบรคเกอร์ ไฟบ้าน ก็เป็นอันสำเร็จ

      → เราก็สามารถเชื่อมไฟทั้งระบบเดิม และระบบใหม่เข้ากันได้แล้ว โดยเราก็ดูมอนิเตอร์ กำลังการผลิตจาก Soliscloud เพียงแห่งเดียวก็เห็นทั้งระบบเดิมและระบบใหม่

 

19. Self-consumption : การใช้พลังงานด้วยตัวเอง หมายถึง...🔋 “ไฟจากแผงโซลาร์ผลิตมา → ใช้ในบ้านเราทันที ไม่ขาย ไม่ปล่อย ไม่โยนให้ใคร!”

💡 อธิบายแบบง่ายที่สุด: แสงแดดส่องแผงโซลาร์ → แผงผลิตไฟฟ้า ไฟฟ้านี้จะถูกส่งให้บ้านคุณใช้งานก่อน เช่น ทีวี, แอร์, ตู้เย็น

♦ ถ้าใช้ไฟน้อยกว่าไฟที่ผลิตได้ → เหลือ = ค่อยว่ากันอีกที (เช่น ส่งกลับกริด หรือเก็บแบต ถ้ามี)

♦ แต่ถ้าใช้มากกว่าไฟที่ผลิตได้ → ค่อยดึงไฟจากกริดมาช่วย

🤔 ทำไม Self-consumption ถึงสำคัญ?
✅ ช่วยลดค่าไฟได้มากที่สุด เพราะไม่ต้อง “ซื้อไฟ” จากการไฟฟ้า

✅ ได้ใช้ไฟฟรีจากแสงอาทิตย์ทันที ไม่ต้องผ่านการแปลงหลายรอบ

✅ ลดภาระพีคโหลด (Peak Load) ของบ้าน

✅ ถ้ามีแบต → ชาร์จแบตจากส่วนเกินได้

🧠 สรุปแบบคนชอบประหยัด: Self-consumption คือ “เอาแดดของเรา...มาใช้ไฟของเรา...เพื่อลดบิลของเรา” “ผลิตเอง ชงเอง กินเอง จ่ายน้อยลงแน่นอน!”

  

20. Cycle Life  ของแบตเตอรี่ลิเธียม (Lithium Battery) คือ… 🔄 “จำนวนรอบการชาร์จ-ดิสชาร์จที่แบตสามารถทำได้ ก่อนความจุจะเสื่อมลงมาถึงระดับที่กำหนด (เช่น 80%)”

🧪 อธิบายแบบง่าย: สมมุติว่าแบตเตอรี่เต็ม 100% → ใช้หมดเหลือ 0% = 1 Cycle  หรือ ชาร์จจาก 50% → 100% แล้วใช้จนเหลือ 50% = 0.5 + 0.5 = 1 Cycle

🔋 Cycle Life สำคัญยังไง? เป็นตัวบอก อายุการใช้งานของแบต ถ้า Cycle Life สูง = ใช้ได้นาน = คุ้มค่า

💡 แบตลิเธียมทั่วไปควรมีค่าเท่าไหร่?
ประเภท Cycle Life โดยประมาณ หมายเหตุ
🔌 LiFePO₄ (เช่น BYD, PylonTech) 6,000 – 8,000 รอบ ที่ DoD 80–100%

🎯 เปรียบเทียบอายุการใช้งาน:

ถ้าใช้งานวันละ 1 cycle → แบต LiFePO₄ ที่มี 6,000 cycles = ใช้ได้ 16 ปี+ (แต่ต้องมีระบบ BMS และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และ ถ้าDODต่ำๆ ( สัก 70-80% ไรงี้)  ก็ช่วยยืดอายุการใช้งานได้)

🧠 สรุปแบบคนชอบคุ้ม: “Cycle Life สูง = แบตอยู่กับเราได้นาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ประหยัดระยะยาว” “ชาร์จวนไป ไม่ตายง่าย แบตใช้ได้ยันลูกเรียนจบ!”

 

21. Emergency Load/ Backup Load : คือ โหลดที่แยกไว้กรณีที่ไฟกริดดับ ซึ่งโหลดต้องรับไฟจากแหล่งจ่ายจากโซล่าและแบตเตอรี่เท่านั้น แต่สำหรับช่อง หรือพอร์ทต่อไปใช้งาน เราจะเรียก EPS (Emergency Power Supply)

แล้วทำไมไฟกริดดับ ไม่จ่ายไฟบ้านทั้งหลังล่ะ ? ก็เพราะอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ ยังมีข้อจำกัด จ่ายไฟทั้งหมดไม่ไหว ถ้ายังขืนจะให้จ่ายทั้งหลัง อินเวอร์เตอร์อาจพัง หรือแบตเสื่อมก่อนเวลาอันควร.
ซึ่งโหลดที่สำรองไฟกรณีไฟดับ นี้ต้องไม่เกินจากที่อินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่จ่ายได้ ส่วนใหญ่จ่ายไฟให้โหลดเฉพาะที่จำเป็น

เช่น ตู้เย็น, ไวไฟ, ไฟส่องทาง ต้องเดินสายแยกจากโหลดหลัก เราก็จะทำเป็นเบรคเกอร์ย่อย สำหรับแบ็คอัพโหลด หรือ อีเมอร์เจ็นซี่โหลด
🔋 ทำไปเพื่ออะไร?
ให้ไฟฟ้ายังจ่ายได้บางจุด แม้ระบบกริดจะดับ

ช่วยป้องกันข้อมูลหาย / กล้องวงจรปิดดับ / ตู้ปลาแห้ง / แม่ด่า / ไฟรั้วกันขโมย / ถังอ๊อกซิเจนผู้ป่วย

ลดผลกระทบจากไฟฟ้าดับในบ้าน

ทำให้บ้านดู “ไฮเทค” แบบมีสไตล์ “ดับทั้งซอย ไฟบ้านเรายังปิ้งขนมปังได้!”

🔌ไฟดับทั้งหมู่บ้าน...แต่ “Wi-Fi บ้านเราไม่ดับ!” เพราะเราต่อ Wi-Fi ไว้กับ Backup Load / EPS นั่นเอง 😎

 

 

22. Peak Shaving คือเทคนิคหรือฟังก์ชันในการลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟสูงสุด (เรียกว่า “Peak Load”) เพื่อลดภาระโหลดต่อระบบไฟฟ้า และลดค่าไฟฟ้าที่คำนวณจาก “พีคสูงสุด” โดยเฉพาะในระบบที่คิดค่าไฟตาม Demand Charge (มักใช้กับโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่) 

โดย Solis Hybrid รุ่นใหม่สามารถตั้ง Peak Shaving Mode ได้ผ่านแอป SolisCloud หรือหน้าจอ
สามารถกำหนด: ขนาดโหลดที่ถือว่าเป็นพีค

ช่วงเวลาที่ต้องการลดพีค (เช่น 10:00–16:00) จะให้ใช้แบตเท่าไหร่ เพื่อช่วยลดพีค

 

🔋 ระบบที่มี Peak Shaving จะสั่งให้ใช้ “ไฟจากแบตเตอรี่” แทน
เพื่อลด “ยอดพีค” และ “ยอดค่าไฟที่ต้องจ่าย”

🎯 ทำไมต้อง Peak Shaving?
✅ อัตราค่าไฟฟ้า สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ การไฟฟ้าฯ เค้าจะมีการเก็บค่าความต้องการพลังไฟฟ้า โดยคิดเป็น บาทต่อkW.ในเดือนนั้นๆ หากค่าใดสูงสุด ก็นำค่านั้นมาคิดเงินเลย (ส่วนใหญ่เราเรียกว่า ค่าพีค )
✅ ลดค่าไฟช่วงแพง

✅ ลดการดึงโหลดเกินพิกัดจากกริด

✅ ป้องกัน “Demand Charge” ในระบบพาณิชย์

✅ ทำให้ระบบไฟเสถียรขึ้น

✅ ระบบไฟฟ้าโรงงานหรือสำนักงานจะประหยัดเงิน ได้เยอะมาก