fbpx

หน่วยงานภายใต้กระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริการ The National Renewable Energy Laboratory is a national laboratory : NREL ได้จัดทำแผนภาพ สถานะการวิจัย การวิจัยสำหรับเทคโลยีของแผงโซล่าเซลล์ เพื่อดูว่า ณ ปัจจุบัน ประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ มีความคืบหน้าไปถึงไหนกันแล้ว แผง กว้าง x ยาว 1.3 x 2.3 ม. จะได้กำลังไฟฟ้ากี่วัต์ มาดูกัน

 

 

ยัง...ยังไม่ต้องบ่น ว่ามรึงเอาอะไรมาให้ดูว่ะ ทำให้งงเล่นซะงั้น.. สงสัยจะทำให้เว็บดูเป็นนักวิชาการสิท่า !!!

แต่เดี๊ยวก่อน ใจเย็งๆ เดี๊ยวจะแปล ขยายฟาม ให้ฟัง...ขยับเข้ามาใกล้ๆ เดี๊ยวไม่ได้ยิน

แกนนอน >>> ปี ค.ศ. ซึ่งปัจจุบัน อยู่ฝั่งขวาสุด คือปี ค.ศ.2025

แกนตั้ง >>> ประสิทธิภาพ ของแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตกำลังไฟฟ้าได้ หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Panel Efficiency

Panel Efficiency คำนวณมาจาก สูตร Panel Efficiency (%) = (Pmax) ÷ (ขนาดแผง(ม.) x 1,000W/m²) x 100

ตัวอย่าง แผง Canadian Solar 600 W. ขนาด(กว้างxยาว) 1.303 x 2.172 ม. จะได้ Panel Efficiency = 600 ÷ ((1.303 x 2.172) x 1,000) x 100 = 21.20 %

สรุปประสิทธิภาพของแผง PV ยิ่งสูงยิ่งดี หมายถึง PV รับแสงแดดมา 100% แปลงเป็นพลังงาน ได้ 21.20 % หรือ แสงแดดส่องมา 1,000 w/m² แล้ว เหลือ 212 w/m²

 

อีกตัวอย่างนึง ของแผงที่เรานำมาใช้งาน LONGI Hi-Mo 7 (N-Type) 580 W. จาก Data Sheet มี Panel Efficiency = 22.5% มาจาก

Panel Efficiency (%) = (Pmax) ÷ (ขนาดแผง(ม.) x 1,000W/m²) x 100

LONGI 580 W 1.134 x 2.278 = 2.583252 ตรม.

580 ÷ ((2.583252) x 1,000) x 100 = 22.45 %  (หยวนๆ น่าจะปัดขึ้น)

 

เมื่อเข้าใจPanel Efficiency แล้ว ทีนี้เราค่อยมาดูแผนภาพ แสดงในปัจจุบันปี ค.ศ.2025 ที่เรานำแผงมาใช้เชิงพาณิชย์ (Commercial) ค่า Panel Efficiency ก็จะประมาณ ยี่สิบกว่าๆ

แต่ถ้าดูมุมขวาบน ก็จะเห็นว่ามีการวิจัย (แต่ยังไม่เห็นมีขายตามท้องตลาด) ได้มากถึงเกือบ 48%  นั่นก็หมายความว่า แผงกว้าง ยาว ขนาดประมาณ 1.3 x 2.3 ม. จะมีกำลังไฟฟ้า ได้มากถึง เกือบๆ 1,200 W.

ซึ่งก็น่าจะยังอยู่ในห้องวิจัย ยังไม่มีจำหน่าย แต่อย่างน้อย ก็จะได้รู้คร่าวๆ ว่า เร็วๆนี้ (ไม่แน่ใจว่าอีกกี่ปี ) จะมีแผงเกิน 1,000 W มาติดหลังคาบ้านเรามั่งแหละ น่าจะทันช่วงอายุขัยของแอดมินเน้อ!!! 

 

================================================