fbpx

แผงโซล่าเซลล์ ( Photovoltaic : PV ) ทำหน้าที่ รับพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ได้ จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) ซึ่งขนาดของแรงดันที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของ แผงโซล่าเซลล์ โดยเซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมใช้ในประเทศไทยได้แก่

 

     1. เซลล์แสงอาทิตย์แบบอะมอร์ฟัส : Amorphous  เป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ไวแสงมากที่สุดสามารถรับแสงที่อ่อนๆ แต่ได้กำลังไฟฟ้าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับขนาดของแผง ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ติดตั้งตามบ้านเรือน


     2. เซลล์แสงอาทิตย์ แบบ คริสทะไลน์ : Crystalline เป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่ในรูปของผลึกที่ทำให้เป็นแผนฟิล์ม ชั้นบางๆสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือแบบ Mono crystalline หรือแผงชนิดผลึกเดี่ยวและ แบบ Poly crystalline หรือแบบผสม ซึ่งแบบMono จะมีประสิทธิภาพดีกว่าและแพงกว่าแบบ Poly ประมาณ 10-20 % โดยในปัจจุบันที่นิยมใช้ติดตั้งกันก็จะเป็นแบบ Poly ซะเป็นส่วนใหญ่

 

ประเภทแผงPV

     

          แผงโซล่าเซลล์ทั้งแบบMono หรือ Poly Crystalline ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด ก็จะมีขนาดตั้งแต่ 1 – 320 w ต่อแผง และมีแรงดันสูงสุดประมาณ 6 – 40 V DC ซึ่งสามารถนำเลือกใช้ได้ตามความต้องการ ทั้งนี้การนำมาใช้งานในระบบอ๊อฟกริด นั้นเราต้องทำการคำนวณกำลังไฟฟ้า และ พลังงานไฟฟ้า ที่เราต้องการใช้งานก่อน เราถึงจะมาเลือกใช้แผงPV ที่เหมาะสมกับความต้องการของเรา โดยเราอาจต้องนำแผง PV มาทำการต่ออนุกรม หรือขนานกันเพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และค่ากระแสไฟฟ้าให้เหมาะสม อาทิเช่น หากเรามีบ้านสวนอยู่ห่างไกล จนระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯเข้าไม่ถึง ดังนั้นการใช้พลังงานไฟฟ้าของเราอาจต้องใช้มากหน่อย จนแผง PV ที่กำลังไฟฟ้าสูงสุด 320 W เพียง 1แผง อาจไม่เพียงพอตามที่เราต้องการ ดังนั้นเราจึงต้องนำแผงPV มาต่อกัน(อนุกรม/ขนาน) เพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมในการใช้งานของเรา ซึ่งการคำนวณจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป

        สำหรับราคาในปัจจุบัน (ก.ค.59) ของแผงโซล่าเซลล์ ทั้งแบบ Mono หรือ Poly Crystalline ก็อยู่ระหว่าง 20 - 30 บาทต่อวัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาด คุณภาพ และแต่ละยี่ห้อ เช่น ที่ทีมงานโซล่าฮับ ใช้อยู่บ่อยครั้งก็ แผง Poly Crystalline กำลังไฟฟ้าสูงสุด 300 W มีขนาดประมาณ 1 x 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 20-25 ก.ก. ราคาประมาณ 7,000 - 9,000 บาท ซึ่งเมื่อรับแสงอาทิตย์เต็มที่ จะมีแรงดันไฟฟ้าสูงสุด ( Maximum Power Voltage : Vmp ) ประมาณ 36 โวลท์ DC (V DC)

 

 

          ตัวอย่าง Data Sheet ของ แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ Schutten Solar จากประเทศเยอรมัน ค่าที่เราสนใจสำหรับการนำมาออกแบบการใช้งานของเราก็ค่า Pmp,Vmp,Imp และ Isc ครับ

ขอขอบพระคุณ ข้อมูลบางส่วนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน