fbpx

วันนี้มายอมรับว่า การใส่ DC Fuse มีข้อเสียคือเป็นการเพิ่มจุดต่อ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Bad Contact และหรือ DC  Arc Fault  

ซึ่งเคยเขียนเรื่อง ว่าด้วยเรื่อง DC Fuse อ้างอิงตามมาตรฐานการติดตั้งโซล่ารูฟ ของ วสท. ปี 2565 ลองคลิกเข้าไปอ่าน วสท.โดยแปลความสรุปแล้วว่า ใน 1 MPPT มีการต่อสตริง ไม่เกิน 2 สตริง ไม่ต้องใส่ อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน PV สตริง

แต่เราก็ยังยืนยันที่จะใส่ DC Fuse เหมือนเดิม...ตามมาเดี๊ยวจะเล่าให้อ่าน...

 


.
1.ไซท์นี้เราติดตั้งมา 4-5ปีแล้ว ที่ตัวอินเวอร์เตอร์ Huawei ตรวจจับพบ Alarm DC Arc Fault แล้วอินเวอร์เตอร์ก็หยุดการทำงาน

 

2.ทีมงานเข้าไปตรวจเช็คด้วยเครื่องมือ ISO Test : คือเครื่องมือวัดที่ไม่ต้องถอดสาย DC ออกจากแผง ซึ่งก็จะวัดค่าแรงดันสตริง , วัดค่าความเป็นฉนวนของสาย และค่าอื่นๆ ว่ามีผิดปกติหรือไม่ ซึ่งผลจากการวัด ก็ปกติดี ทุกอย่าง แต่พอเปิดอินเวอร์เตอร์ Huawei สักพักนึง ก็มีAlarm ฟ้อง DC Arc Fualt เช่นเดิม

 

3.ทีมงานจึง ลองตรวจสอบข้อต่อสายสตริง บนหลังคา MC4 เห็นว่าอาจไม่แน่นสนิท จึงทำการเปลี่ยนหัว MC4 ใหม่ แล้วทำการเปิด Huawei Inverter ก็ทำงานได้ปกติ ไม่มี ALarmเกิดขึ้น ทีมงานก็เลยกลับมานอนตีขิม สบายเฉิบเบิบ กะว่าเป็นที่หัว MC4 แน่เลย

 

4.ทีนี้มา Thermo scan ด้วยกล้องความร้อน ที่แผงก็ไม่พบความผิดปกติ

 

5.พอวันรุ่งขึ้น เกิด Alarm DC Arc Fault เหมือนเดิมอีก ไม่หาย ก็เลยต้องเข้าไปตรวจเช็คอีกรอบ โดยใช้ I-V Checker ยี่ห้อ Seaward PV200 ก็พบความผิดปกติ ของ String 1 ดูจากรูปเทียบ จะเห็นว่า กราฟ String1 ไม่เหมือนกับ String2 และString3

 

7.ทีนี้เรารู้แล้วว่ามีปัญหาที่ String1 เราก็ไล่วัดค่าสายสตริง1 ด้วย เครื่องมือ Insulation Test เพื่อวัดค่าความเป็นฉนวนของสาย ( ต้องปลดสาย ลอย Open circuit ไว้ ) ค่าสายก็ปกติ ขึ้นมา 4,000 เมกกะโอห์ม

 


8.ถอดสาย วัดค่าทางไฟฟ้าต่างๆแต่ละแผงของString1 ก็ยังไม่พบความผิดปกติ

9.กลับมาวัด I-V curve string1 อีกที แล้วทีมงานได้ยินเสียง จี๊ดๆๆๆๆ...คล้ายๆไฟกระโดด ตรงเฟรมของ DC Fuse (เราเรียกว่า Fuse Holder) เลยลองถอดสาย PV ออก แล้ววัดค่าความต้านทานขั้ว Holder ของ ฟิวส์ ฝั่งเข้า และออก ก็พบว่า 2 ขั้ว มีค่าโอห์ม ประมาณ หลายร้อยกิโลโอห์ม แต่พอวัดขั้วHolder ของ ฟิวส์ตัวอื่นที่ปกติ จะขึ้นแค่ 1-2 โอห์ม เท่านั้น

10.สรุปว่า Fuse Holder เสียเกิด Bad Contact ในตัวของมัน จึงทำให้ไฟ DC กระโดดข้าม เสียงดังจี๊ดๆๆๆ จน Huawei Inverter ตรวจพบความผิดปกติว่าเกิด DC Arc Fault ซึ่งเราเรียกฟังก์ชั่นนี้ว่า AFCI : Arc Fault Circuit Interrupter นั่นเอง ซึ่งก็ต้องให้เครดิตตัว Inverter Huawei ที่แจ้งเตือน เพื่อเราจะได้มาแก้ไข ก่อนที่จะเกิดเหตุอันตรายมากกว่านี้

11. สำหรับ Fuse ยี่ห้อนี้ เป็นยี่ห้อที่เราไม่ได้ใช้ประจำ พอดีช่วงนั้นยี่ห้อที่ใช้ประจำของขาด จึงจำเป็นต้องนำยี่ห้อสำรองอื่นมาใช้งาน ซึ่งตั้งแต่ติดตั้งมาเกือบๆ 10 ปี ก็เจอเคสกรณีนี้เป็น เคสแรก ที่เกิด Bad Contact ที่ Fuse Holder

12.ถามว่าต่อไป จะยังต่อ DC Fuse อยู่ไม๊? >>> ก็ตอบเลยว่า...ยังใช้ต่อไป เนื่องจากเมื่อเทียบสัดส่วน การเกิดเหตุแบบนี้แค่ 0.0002% เพราะตลอดระยะเวลาที่ติดตั้งมาเกือบๆ 10 ปี น่าจะเกิน 10,000 สตริง แต่เกิดแค่ error แค่ 2 สตริง ซึ่งเมื่อเทียบกับประโยชน์ ที่ได้รับคือง่ายในการตรวจสอบ และบำรุงรักษาหลังการติดตั้ง

อีกทั้ง เราก็หลีกเลี่ยงการใช้งานยี่ห้อนั้นๆ หรือเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น ที่มีคุณภาพมาตรฐานกว่า นั่นเอง

=================================================================