อันเนื่องจากมีผู้สอบถามเข้ามาว่า จะไปติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ที่โรงงาน ซึ่งที่โรงงานไม่มีน้ำประปา มีแต่น้ำบาดาล จะนำมาล้างแผงได้หรือไม่ ?
ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับท่านรับงานติดตั้งแบบ ตีหัวเข้าบ้านรึป่าว คือติดเสร็จแล้ว เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ (ไม่มีสัญญาณตอบรับจากเลขหมายที่ท่านเอิ๊น..) อันนี้ก็อาจจะไม่ต้องแคร์ ก็ได้มั้ง ล้างๆไปเหอะ เดีียวเราก็ไปแล้ว...555
แต่หากท่านติดตั้งแล้วรับปากลูกค้าว่าเราจะดูแลกันยาวๆ กันไปเกิน 5 ปี พอครบ 5 ปีแล้วก็รับจ้างดูแลกันต่อ เป็นรายปี อันนี้ก็ควรที่จะต้องบำบัดน้ำก่อน ที่จะนำมาล้างแผง
ซึ่งของทีมโซล่าฮับ เองก็เอาเป็นแบบหลัง คือหวังว่าจะดูแลกันยาวๆ เราก็เลยต้องบำบัดน้ำก่อนที่จะนำมาใช้งาน ก็มีตัวอย่าง ไซท์นี้ที่เราทำการบำบัดน้ำก่อนนำไปบริโภค ซึ่งโรงงานนี้ ก็นำไปใช้งานระบบชิลเลอร์ด้วย
แล้วถ้าไม่บำบัดจะเกิดไรขึ้น >>>
ขึ้นอยู่กับน้ำนั้นมีสิ่งเจือปนอะไรบ้าง เช่น หินปูน สนิม มีค่าเป็นด่างเยอะ มีค่าเป็นกรดเยอะ ซึ่งหากนำไปล้างแผงโดยไม่บำบัด ก็อาจทำให้เป็นสนิมกับโครงหลังคา , เมาท์ติ้ง , วอล์เวย์ , ไวร์เวย์ อีกอย่างที่สำคัญคือเมื่อล้างแผง แล้วพอแห้งก็จะเป็นคราบ บนแผง พอนานๆไปกลายเป็นว่าคราบนั้นบดบังแสง ที่จะกระทบผลึกเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้จุดนั้นเกิดความร้อนได้ หากนำเอา เทอร์โมสแกนไปส่องดู ก็จะเจอจุดฮอทสปอต Hot Spot และประสิทธิภาพก็จะลดลงก่อนเวลาอันควร และอาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้แผงโซล่าเซลล์ก็เป็นได้ ถ้าติดตั้งแล้วไม่ขึ้นไปดูบนหลังคาเลย
สำหรับไซท์นี้เราติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ขนาดประมาณ 500 kWp. เราต้องเสียเงินเพิ่มในการบำบัดน้ำ
ชุดบำบัดนี้เกือบๆ 2แสนบาท (เมื่อปี 2563) ซึ่งหลักๆ
- ก็มีถังกรองขนาด 15 นิ้ว ,
- ปั๊มน้ำ220 V. 1เฟส ขนาด 2 แรง ,
- ท่อน้ำระบบใช้ขนาด 2 นิ้ว
- สามารถจ่ายน้าได้ปริมาณ 300-400 ลิตร/นาที
ก่อนที่จะบำบัดน้ำ เราต้องรู้ 2 เรื่องก่อน คือ
1.จะบำบัดน้ำไปใช้อะไร เพราะวัตถุประสงค์การใช้งานที่ต่างกัน ก้จะมีขั้นตอน หรือวิธีการบำบัดต่างกัน ซึ่งมีผลกับค่าใช้จ่ายในการลงทุนบำบัด
2.ต้องวัดคุณภาพน้ำก่อนจะนำมาบำบัด เช่น สภาพเป็นกรด เป็นด่าง มีหินปูน หรืออะไร ต่างๆนานา เพื่อจะได้รู้ว่าเราจะบำบัดด้วยวิธีใด
ทีนี้มาดูตัวอย่างที่ solarhub เคยทำระบบบำบัดน้ำให้กับลูกค้า สำหรับล้างแผง และนำไปใช้กับระบบแอร์ชีลเลอร์ ของโรงงานด้วย จึงขอเอาภูมิความรู้ที่มีอันน้อยนิดมาแชร์ ให้ท่านทราบ ดังนี้
ชุดกรองและปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาล สำหรับ โรงงาน นำมาใช้กับแอร์ชีลเลอร์ และนำมาล้างแผงโซล่าเซลล์
1.Plan Layout
ชุดบำบัดชุดเดิมของโรงงาน ใช้งานไม่ได้แล้ว
จินตนาการว่าต้องแบบนี้นะ
ชุดบำบัดน้ำชุดใหม่ที่กำเนิดขึ้นมา
2.ขั้นตอนการทำงานของชุดกรองและปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาล
2.1.นำน้ำดิบมาทำการวัดค่า PH ด้วย PH Meter ค่าที่ได้อยู่ประมาณ 5 ซึ่งสภาพน้ำจะออกไปทางกรด ซึ่งค่ากลางจะอยู่ที่ 7.5
2.2.ปั้มน้ำขนาด 220V 2HP ดูดน้ำจากถังน้ำดิบ
ผ่านเข้าถังกรองที่ 1 คือ สารคาร์บอน ทำหน้าที่ กรองกลิ่น สี วัชพืช สารพิษต่าง ๆ
ผ่านเข้าถังกรองที่ 2 คือ สารแมงกานีส ทำหน้าที่ กรองตะกอน สนิม เหล็ก ไฮโรเจนซัลไฟด์
ผ่านเข้าถังกรองที่ 3 คือ สารเรซิน ทำหน้าที่ จับหินปูน ลดความกระด้างของน้ำ
2.3.ทำการฟีดคลอรีนและโซดาแอส ด้วยปั้มอัตโนมัติที่ผสมไว้แล้ว โดยการฟีดผ่านท่อที่ลงถังน้ำดี รอไปใช้ในส่วนภาคส่วนต่าง ๆ ต่อไป หลังจากนั้นทำการวัดด้วย PH Meter เพื่อให้ได้ค่าประมาณ PH 6.5-8.5 ตามที่ต้องการ
3.วิธีการควบคุมดูแลคุณภาพน้ำบาดาลที่นำไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ
3.1.การล้างด้วยน้ำย้อนกลับ (Back wash) ถังคาร์บอนและแมงกานีส อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ปริมาณน้ำที่ใช้ล้าง 200-300 ลิตร ระยะเวลา 5-10 นาที
3.2.การล้างด้วยน้ำเกลือ สำหรับถังเรซิน โดยการผสมเกลือเม็ดธรรมดา(โซเดียมคลอไรด์) Sodium Chloride (Nacl) ที่ปริมาณ 10-15 กก./น้ำ 100 ลิตร แช่นาน 1 ชั่วโมง แล้วล้างออกด้วยน้ำปกติจนหมดความเค็ม ปริมาณน้ำที่ใช้ 300-400 ลิตร ทำอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์
3.3.การ Feed คลอรีน Chlorine(CL) เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบททีเรียต่าง ๆ ที่ปนมากับน้ำ เช่น เชื้อ Escherichia coli หรือ อีโคไล เป็นต้น โดยการผสมคลอรีน 30 cc / น้ำ 100 ลิตร ผสมกับน้ำดีที่รอไปใช้
3.4.การ Feed โซดาแอส Soda ASH Light 99.2% MIN (Na2Co3) เพื่อตั้งต้นเตรียมที่จะไปผสมกับน้ำบาดาล จากการตรวจวัดน้ำบาดาล ค่า PH เท่ากับ 5 จะออกไปทางสภาพเป็นกรด ต้องทำการผสมผงโซดาแอส 1-1.5 kg/น้ำ 100 ลิตร ค่า PH จะออกมาที่ 8.0 - 8.5 ที่ปริมาณการใช้ทั้งหมดในโรงงาน 60 คิว หรือ 60,000 ลิตร/วัน
จากข้อมูลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลและวิธีการควบคุมคุณภาพน้ำบาดาลข้างต้นที่ได้กล่าวมา จะช่วยให้น้ำบาดาลมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
หมายเหตุ
1.หลังจากติดตั้งชุดระบบกรองน้ำแล้ว ทางโรงงานฯ จะมีค่าใช้จ่ายของการดูแลรักษาคุณภาพน้ำให้สม่ำเสมอ โดยประมาณ 2,000-2,500 บาท/เดือน (โดยมีค่าเกลือ โซดาแอส และคลอรีน)
2.เมื่อใช้งานแล้ว ประมาณ 1ปีครึ่ง (หรืออาจ 2 ปี) ต้องมีการเปลี่ยนสารกรองฯ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 – 20,000 บาท
3.เมื่อติดตั้งแล้วทีมงานผู้ติดตั้งระบบกรองน้ำฯจะสอนเจ้าหน้าที่โรงงานฯให้ดำเนินการบำรุงรักษาได้เอง
ท้ายนี้ หากท่านใดขุ่นข้องหมองใจ สงสัยเรื่องระบบการบำบัดน้ำ ไม่ต้องโทรมาถามโซล่าฮับ นะ เพราะเราก็ไม่เป็น เราก็จ้างเค้าแหละ คุณจีระยุทธ(คุณปิ๋ว) 061-3978163 เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด ลองโทรไปสอบถาม หรือจะจ้างเค้าก็ น่าจะรับงานนะ...