fbpx

ฮั่นแน่!!! เบิ้ลเครื่อง รออยู่หล่ะสิ... 

ช่วงนี้ กระแสการรับซื้อไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ หน่วยละ 1.68 บาท กำลังมาแรง!!! ช่วงกำลังชุลมุน นี้หากท่านใดจะติดตั้ง ก็ขอให้คิดถึงตอนบำรุงรักษาหลังจากติดตั้งแล้วด้วย ว่าจะมีแผนการอย่างไร ?

ก่อนอื่นก็ขอเล่า ประสบการณ์ ของทีมงานโซล่าฮับ ให้ฟังก่อนว่า เราได้รับการติดต่อ และให้เสนอราคาค่าบำรุงรักษาระบบ Solar Rooftop หรือระบบโซล่าเซลล์ ติดตั้งบนหลังคา ทั้งขนาดเล็กตามบ้านพักอาศัย และในโรงงาน หรือโครงการขนาดใหญ่ มาหลายเจ้า แต่เราเองก็ไม่สามารถที่จะประเมินว่า จะคิดราคาเท่าไหร่ และต้องทำอะไรบ้าง เพราะอะไร ? เรามาดูกัน

 

สิ่งที่จะต้องทราบก่อนที่จะเข้าบำรุงรักษา และ/หรือสิ่งที่จะต้องทำการตรวจสอบ

 #ทีมงานโซล่าฮับ ต้องการสื่อว่า มันมีรายละเอียดมากมาย หากจะต้องประเมินราคาโดยไม่เห็นหน้างาน และ ก็มีต้นทุนพอสมควร หากในการติดตั้งไม่ได้ติดตั้งตามมาตรฐานและ ไม่ได้เตรียมการไว้อย่างเหมาะสม

* กรณีที่เป็นบ้านพักอาศัย >>> ก่อนหน้านี้ประมาณสัก 3-4 ปีที่ผ่านมา มีโครงการที่ให้บ้านพักอาศัย ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แล้วขายไฟฟ้า ให้กับการไฟฟ้า แล้วได้ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 6บาทกว่า (จำตัวเลขไม่ได้แน่ชัด) 

 

 

1. มีทางขึ้นหรือบันไดขึ้นหลังคา สำหรับล้างแผง หรือป่าว ?  >>> ไม่มีจร้า

  >>> ถ้าเรารับไปดูแลบำรุงรักษา อันดับแรกเราต้องล้างแผงก่อนเลย แล้วเราจะขึ้นไปบนหลังคายังไงหล่ะ > ก็พาดบันไดไงหล่ะ พูดง่าย จริงๆก็ทำยากนะ เพราะเราจะทำความสะอาดแผง เราไม่ได้ปีนบันไดขึ้นตัวเปล่า ต้องมีอุปกรณ์ ในการล้างแผงอีกตั้งหลายอย่าง แล้วบันไดพาด (ความเสี่ยงเกิดขึ้นกับคนทำงานหล่ะ)

      

2. มีก็อกน้ำ บนหลังคาสำหรับล้างแผงป่าวฮะ ? >> ไม่มี อ้าวแล้วต้องมีด้วยรึ!

>>> ไม่มีก็อกน้ำบนหลังคา ก็ล้างได้ เพราะตามบ้านพักอาศัยติดตั้งไม่กี่สิบแผง ก็ยังพอทน และส่วนใหญ่ก็จะมีปั๊มน้ำอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่เราก็ต้องลากสายจากพื้น ขึ้นไปบนหลังคาทีนี้ก็ต้องดูอีกว่าแรงดันน้ำ ว่าจะมีแรงดันขึ้นไปบนหลังคารึป่าว หรืออีกทางหนึ่งคือ ทีมช่างที่ไปล้างก็ต้องมี High Pressure Pump และถังน้ำ สำหรับเพิ่มแรงดันน้ำขึ้นบนหลังคา บรรทุกไปเตรียมล้างแผงโดยเฉพาะ (ซึ่งTrend นี้ กำลังมาแน่ๆ แต่ ทีมช่างก็ต้องลงทุนอุปกรณ์ฯ ก็เหมือนๆกับการล้างแอร์บ้าน ช่วงแรกๆก็แพงหน่อย แต่่ช่วงนี้ก็ เหลือเครื่องละ 300 - 400 บาทต่อเครื่อง ) 

3.หลังคาเป็นหลังคาประเภทใด ? >> ถามทำไม เกี่ยวด้วยรึ

 >>> ถ้าเป็นกระเบื้องลอนคู่ แล้วอายุเกิน 5 ปี ประกอบกับหลังคากระเบื้องจะมีความชันมาก ซึ่งก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ในการขึ้นไปทำงาน และจะแตกหักเสียหาย เพราะกระเบื้องจะอุ้มน้ำ และแปก็จะห่าง มีโอกาสที่จะแตก และเกิดอันตรายได้ง่าย

 

 

>>> ถ้าเป็นกระเบื้องซีแพค แปจะถี่ และแข็งแรงกว่า ไม่อุ้มน้ำ คนทำงานก็จะเสี่ยงน้อยกว่าหลังคากระเบื้อง แต่ก็ยังมีความชันมาก และคนทำงานก็จะมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ถ้าไม่มีไลฟ์ไลน์ ให้คล้องเซฟตี้เบลท์

 

 

 

>>> ถ้าเป็นหลังคา เมทัลชีท ความลาดชันก็จะน้อยกว่าหลังคาทั้ง 2 ประเภท ข้างต้น และทำงานง่ายกว่า แต่ก็ต้องดูความหนาของแผ่นเมทัลชีท ซึ่งส่วนใหญ่ เราเดินได้อย่างสบายใจ ไม่ควรต่ำกว่า 0.47 ม.ม. แต่เราก็ต้องดูแป ด้วยว่าห่างเกินไปรึป่าว ส่วนใหญ่ก็ห่างกันประมาณ 1 เมตร และเราก็ควรเดินบนแปเท่านั้น แต่สำหรับหลังคาตามบ้านพักอาศัย ส่วนใหญ่ความหนาจะไม่ถึง 0.47 ม.ม. ซึ่งก็อาจจะบาง ในการเดินก็ควรที่จะเหยียบบนแป เพื่อความปลอดภัย

 

 

>>> ถ้าเป็นการติดตั้งบนหลังคาดาดฟ้า หรือคอนกรีตสแลป แบบนี้ก็ขนมหวานเลย ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ก็ต้องดูการติดตั้งฯ ประกอบด้วยว่า ถูกต้องมาตรฐาน เพียงใดด้วยครับ

 

 

4. ใช้อินเวอร์เตอร์และแผง ยี่ห้อใด และ รุ่นไหน  ? ไม่รู้อ่ะ ทำไมต้องรู้ด้วยรึ

>>> อินเวอร์เตอร์ ที่ใช้ในเมืองไทย มีมากมายหลากหลาย ยี่ห้อ และรุ่น ทีมงานเราไม่ได้รู้และเชี่ยวชาญทุกยี่ห้อ และทุกรุ่น ถ้าเรารู้ก่อนเราจะได้ทำการบ้านก่อน เพื่อจัดการ บำรุงรักษา อีกทั้งประเมินในเบื้องต้นก่อนที่จะเข้าดำเนินการบำรุงรักษา

 

5.มีการติดตั้งระบบกราวด์ หรือไม่ อย่างไร ?

>>> ระบบกราวด์ มีความสำคัญมาก หากก่อนหน้านี้มีการติดตั้งระบบฯ โดยไม่มีการติดตั้งระบบกราวด์ นานๆไป ก็มีความเสี่ยงจะทำให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเสียหายได้ หากเกิดมีกระแส หรือแรงดันกระโชก จากฟ้าผ่า หรืออื่นๆ

       ซึ่งก็ต้องไล่ดูว่าจากแผงบนหลังคา ลงมายังตัวอินเวอร์เตอร์ มีการต่อกราวด์ ลงมาหรือไม่ หรือหากต่อลงมาแล้ว มีบ่อกราวด์ หรือไม่อย่างไร แล้วถ้าไม่มีควรที่จะทำบ่อกราวด์ เพิ่มหรือไม่ หรือต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

 

6.ค่าความเป็นฉนวน ของสายไฟฟ้า ยังอยู่ดีหรือไม่?

>>> จากที่ผ่านการใช้งานมาพอสมควร ส่วนที่สำคัญอีกอย่างคือ สายไฟฟ้า ยังอยู่ดีหรือป่าว เพราะสายไฟฟ้า DC ที่ต้องอยู่บนหลังคา ต้องตากแดด ตากลม ตากฝน อีกทั้งหากติดตั้งไม่ถูกต้อง ตามมาตรฐานที่ถูกต้อง ก็จะทำให้สายไฟฟ้า หรือฉนวน เสื่อมก่อนเวลาอันควร ดังนั้นเราก็ต้องวัดค่าความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า (Insulation Test )  ว่าระหว่าง สาย + กับสาย - , สาย+ กับ สายกราวด์ , สาย- กับกราวด์ เป็นต้น

 

7.การวัดค่าทางไฟฟ้า I-V Curve และหรือ Voc.

กรณีที่ไม่มีเครื่องมือวัด I-V Checker เราก็สามารถวัดค่าแรงดันสภาวะเปิดวงจร ( Voc ) ของ String ในช่วงเวลาช่วงเที่ยง มีแดดจัดหน่อย (เพื่อเทียบเคียงให้ได้ความเข้มแสง 1,000 วัตต์/ตรม. ว่ารวมๆแล้วมีค่าเทียบเคียงกับ Data Sheet ของแผงที่ระบุมาหรือไม่ (ทั้งนี้วัด String ก็ต้องรวมค่าแรงดันแต่ละแผง รวมกัน )

หรือบางท่าน อาจจะขยันหน่อย ปลดหัว MC-4 มาวัดค่าเป็นรายแผงด้วยก็ดี เพราะตามบ้านพักอาศัย ก็ติดแผงไม่ค่อยเยอะมาก ราวๆ 10-30 แผง เราก็จะได้รู้เลยว่าแผงไหน ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่หรือไม่ ทีนี้ก็มาต่อกันอีกว่า ถ้าวางแผงแบบเต็มพรืด ไปเลย (ไม่ได้เว้นช่องเซอร์วิส แถวละ 2 แผง แล้วเว้นช่องเซอร์วิส ) ก็ยากอีกที่จะวัดค่า Voc เป็นรายแผง เพราะต้องรื้อแผง ออกอีก เพราะมือเราเอี้อมไม่ถึงหัว MC-4 ทีนี้ก็งานยากเลย (งั้นวัด Voc แค่ String พอหล่ะ)

 

8.ทำความสะอาด หรือล้างแผงโซล่าเซลล์

>>> ต้องย้อนกลับไปดูข้อ1-3 ว่ามีครบถ้วน มากน้อยขนาดไหน ถ้าไม่มีเลยสักอย่าง ความยากในการล้างแผงก็ยากขึ้นไปอีก ดังนั้นราคา ของการล้างแผง และรวมค่าเดินทางก็อาจจะต้องสูงขึ้นไปอีก จากความยากของการปฏิบัติงาน 

ดังนั้น เมื่อคิดจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ก็ขอให้คิดต่อไปอีกหน่อยว่า หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เราจะบำรุงรักษาระบบ อย่างไรดี (จะล้างแผงเอง หรือจะจ้างช่าง ) และก็อาจต้องเผื่อค่าบำรุงรักษาไว้ด้วยครับ

 

        จากที่พยายามอธิบาย มาข้างต้น ก็เพียงเพื่อต้องการสื่อว่า ไม่สามารถ ที่จะประเมินราคาได้อย่างชัดเจน โดยยังไม่ได้คุยรายละเอียดกัน หากรับงานแล้ว ไม่ได้คุยรายละเอียดกันอย่างชัดเจน ก็มีโอกาสสูง ที่จะเกิดความขัดแย้งกัน และหรือ ทีมงานอาจจะต้องตีราคาเผื่อไปเพราะไม่รู้สโคปงาน ว่าจะต้องปรับปรุงเรื่องใดบ้าง ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

 

เดี๊ยวตอนหน้า เรามาว่ากันต่อเรื่อง การบำรุงรักษา ระบบใหญ่ หรือ ในโรงงาน ดูซิว่า จะมีอะไร มากกว่าตามบ้านพักอาศัย หรือไม่?