VDO : ทำไมเราไม่ควรใช้แผงขนาด เกินกว่า 500 W. มาติดตั้งงานบ้านพักอาศัย?
มีคำถามว่าทำไมเราไม่ควรใช้ แผงขนาด เกินกว่า 500 W. มาติดตั้งงานบ้านพักอาศัย?
เสียค่าไฟ 2,000บาทต่อเดือน ติดโซล่า 5กิโลวัตต์ คุ้มไม๊?
มีคำถามเข้ามาแว่...ว่า เสียค่าไฟ 2,000 บาท ต่อเดือน ติดโซล่าเซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ จะคุ้มไม๊ ?
>>> คิดคร่าวๆเบื้องต้น จุดคุ้มทุน น่าจะ 8-9 ปี คืนทุน
ความคิดเห็นของ โซล่าฮับ ลองพิจารณาดูข้อมูลตามข้างล่างนี้ก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ เนื่องจากเป็นการตัดสินใจ ปัจเจกบุคคล...
.
>>> ติด 5 kw เฉลี่ยผลิตไฟได้ 20 หน่วยต่อวัน (ภาพรวมเฉลี่ยทั้งปี)
หากเราทำเรื่องขายไฟ ได้ 2.2 บาทต่อหน่วย
เราใช้เอง ก็เหมือนว่า เราประหยัดได้ 5 บาทต่อหน่วย
String Inverter กับ Micro Inverter ต่างกันอย่างไร ตัวไหนดีกว่ากัน? EP1
ได้รับคำถามจากผู้มีพระคุณ ลูกค้า ของ ลูกค้า ถามมาว่า ไมโครอินเวอร์เตอร์ ( Micro Inverter) กับ สตริงอินเวอร์เตอร์ ( String Inverter ) แตกต่างกันอย่างไร อันไหนดีกว่ากัน?
>>> อันดับแรก เรามาดูภาพรวมก่อนว่าอินเวอร์เตอร์ ในระบบโซล่าเซลล์ มีกี่อย่างกันแน่ ในปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2566)
VDO ความรู้พื้นฐานสำหรับการตั้งค่าอินเวอร์เตอร์หัวเว่ย Huawei commissioning
ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ การตั้งค่าใช้งาน HUAWEI INVERTER สำหรับงานบ้านพักอาศัย และโครงการขนาดใหญ่
1. HUAWEI Solar Residential Diagram (1 Phase)
2. HUAWEI Solar Residential Diagram (3 Phase)
3. HUAWEI Solar Commercial Diagram
4. Wi-Fi Direct
5. RS485 หรือ MODBUS
6. สัญญาณอนาล็อก 4 – 20 mA. 7. IP Address คลิก อ่านเพิ่มเติม เพื่อดู VDO
VDO เปรียบเทียบการจับยึดแผง บนหลังคาเมทัลชีท แบบสกรูยึด จะยึดRailขวางลอน หรือตามลอน ดีกว่า?
VDO Animation เปรียบเทียบการจับยึดแผง บนหลังคาเมทัลชีท แบบสกรูยึด (อันนี้ไม่รวมกรณี หลังเมทัลชีท แบบคลิปล็อก เพราะตัวจับยึด วางบนสันลอน ไม่ได้ใช้สกรูจับยึดบนแป ) . โดยแยกการจับยึดแผง เป็น 2 แนวทาง
VDO วิเคราะห์จุดคุ้มทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ Return of Investment Solar PV Rooftop Project
นำเสนอข้อมูลความคุ้มค่าการลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา หรือการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ROI : Return of Investment Solar PV Rooftop Project
- Run โปรแกรม PVSYST เพื่อประมาณการพลังงานที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ ที่เราจะติดตั้ง
- อย่าลืมใส่ค่า Loss ตอน Run PVSYST ดู VDO สอนการใช้งาน PVSYST เวอร์ชั่น7 ออกแบบและประมาณการค่าพลังงานไฟฟ้า จากโซล่าเซลล์
- ใส่ค่าพลังงานที่ผลิตได้ , ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย และเงินค่าลงทุนติดตั้งโครงการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
- ตาราง Excel ใส่ค่าพลังงานที่ผลิตได้ , ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย และเงินค่าลงทุนติดตั้งโครงการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
- จะได้ค่าความคุมค่าการลงทุน หรือ ROI เป็น 3 ค่า ประกอบด้วย Internal Rate of Return : IRR , Net present value : NPV และ Payback Period
คลิกอ่านเพิ่มเติมเพื่อดู VDO
ขั้นตอนแรก และขั้นตอนสุดท้าย งานติดตั้งโซล่าเซลลล์ โครงการขนาดใหญ่
ขั้นตอนแรก
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เสมือนจัดเตรียมเสบียงกลัง ก่อนออกรบ ของพร้อม คนพร้อม ทีมงานก็ทำงานแบบยาวๆ จะบายจัย...
แต่ถ้าคนพร้อม แต่ของขาด นี่ ถ้าใครเป็นทีมช่างจะเข้าใจ ต้องนอนรอของ 2-3สัปดาห์ ว่างจัด ต้องไปหาตกปลา แถวๆไซท์ จนปลาในคลองไม่เหลือล่ะ... หลังๆ ด้อมๆมองๆ แถวๆตลิ่งท่าน้ำหลังวัดล่ะ...เล็งๆปลาสวายแน่ๆเลย555...อ๊ะล้อเล่ง..
จากรูป ทีมงานเข้าหางปลา ทำเป็นสายกราวด์ บายพาส จุดต่อRail , จุดต่อwalkway , จุดต่อRaceway ...
บรรยากาศ อบรมโซล่าเซลล์ สบายๆ สไตล์โซล่าฮับ รุ่นที่11
อบรมระบบโซล่าเซลล์ สไตล์ โซล่าฮับ รุ่น11 วันที่ 8 - 9 ตุลาคม 2565 จบลงอย่างสวยงาม 2วัน เต็มๆ ทีมงาน โซล่าฮับ ถ่ายทอด ความรู้ ประสบการณ์ และความสนุก ให้แบบไม่มีกั๊ก
VDO การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา สำหรับงานขนาดใหญ่ สไตล์ โซล่าฮับ
Solar Installation Solarhub Style. รายละเอียด กระบวนการติดตั้งโซล่าเซลล์ บนหลังคา สำหรับงานโครงการขนาดใหญ่ เชิญดูชม ตามอัธยาศัย >>> ที่นำมากล่าวเป็นเพียงกล่าวภาพรวม คร่าวๆ ซึ่งการติดตั้งจริง มีรายละเอียดและเทคนิค ยิบย่อย อีกมากมาย แต่สำหรับช่างๆ ทั้งหลายก็ดูเป็นแนวทาง ครับ เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติม เพื่อดู VDO สรุปภาพรวม
ตัวอย่างข้อหารือ กับ Owner เพื่อความชัดเจนก่อนการเข้าปฏิบัติงานติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
เนื่องจากที่ผ่านมา 5-6 ปีที่รับงานติดตั้ง ช่วงแรกๆ ก็จะเจอปัญหามากมาย ในช่วงระหว่างการติดตั้งระบบฯ อีกทั้งก็เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความล่าช้า
ทีมงานโซล่าฮับ จึงได้ลองปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงาน โดยหากเป็นงานโครงการที่ติดตั้งขนาดหลายร้อยกิโลวัตต์ โซล่าฮับ จะทำการอบรมระบบโซล่าเซลล์ ให้กับเจ้าหน้าที่ หรือOwner ก่อนการเริ่มงาน เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ก่อนการปฏิบัติงาน หรืออีกนัยยะ หนึ่งก็คือการ คอมมิทเมนต์ หรือรับรองว่า เราจะติดตั้งตามที่อบรมหรือตกลงกันก่อนเริมทำงาน (*ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า โรงงานหรือ Owner ก็ผลิตหรือทำงานอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ทำเรื่องโซล่าเซลล์ ดังนั้น หากเป็นมุมมองของ ผู้ปฏิบัติของOwnerเองอาจไม่ทราบรายละเอียดลึกๆในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ) ดังนั้นโซล่าฮับ จึงใช้วิธีการ ให้ความรู้ โซล่าเซลล์ ที่ถูกต้องก่อน เมื่อ เจ้าหน้าที่เข้าใจแล้ว ก็จะได้มาประสานงาน ควบคุมงานได้อย่างไหลลื่น
ตัวอย่างออกแบบอนุกรมแผง หรือ PV Design อย่างไรให้เหมาะสม?
ตัวอย่างที่ 1 ( มีท่านหนึ่ง จากเฟซบุ๊ค ขอมาให้ออกแบบ PV Design ระหว่าง แผง 550 W กับ HUAWEI 5kW. 1 เฟส )
>>> ตัวอย่างนี้ ส่วนใหญ่โซล่าฮับ ไม่ค่อยทำ เพราะ แผง 550 W หนัก และ ใหญ่ กว่าแผง 450 W ทำให้ติดบนหลังคาบ้านพักอาศัยยาก ซึ่งแผงขนาด 500 W ขึ้นไป เหมาะสำหรับงานโครงการฯขนาดใหญ่ มากกว่า !!! แต่เนื่องจากมีคนขอให้ออกแบบ จึงทำให้ดูจร้า
>>> อีกทั้งส่วนใหญ่ กระแสไฟฟ้าแผง Imp.จะสูงกว่า ที่ตัวอินเวอร์เตอร์รับได้
ใช้แผงยี่ห้อ LONGI 550 W. และอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อ HUAWEI 5 kW. ประเภท 1 เฟส
LONGI 550 W. >>> Vmp = 41.95 V. , Voc = 49.80 V. , Imp = 13.12 A , Isc = 13.98 A
พพ.รับขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน : พพ. ได้ออก ประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง การรับขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบระบบผลิตพลังงานควบคุม
โดยสาระสำคัญ
1.ผู้ตรวจสอบระบบพลังงานควบคุม ต้องมีคุณสมบัติ โดยต้องได้รับใบ กว. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากำลัง ที่ไม่สิ้นอายุ และไม่ถูกพักใบอนุญาต
2.ผู้มีความประสงค์ สามารถยื่นคำขอเป็นผู้ตรวจสอบฯ ได้ตามคำขอแนบท้ายประกาศนี้ หรือยื่นคำขอออนไลน์ ที่นี่ http://eaudit.dede.go.th/inspector/request/create
3.หนังสือรับรองมีอายุ 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง
และมีรายละเอียดอื่นๆ อีกหลายข้อ ลองเข้าไปอ่านรายละเอียดดูตามรูปด้านล่าง
VDO การวัดค่าความเป็นฉนวนของสาย โดยใช้ Insulation Tester
เราจะต้องทำการวัด ก่อนการเปิดใช้งานออนระบบโซล่าเซลล์ ทั้งสเกลขนาดเล็ก บ้านพักอาศัย หรืองานระบบใหญ่ เพื่อป้องกันอุปกณ์เสียหาย หากเกิดข้อผิดพลาดในการติดตั้ง
รายชื่อ Zero Export Controller ที่ผ่านการตรวจสอบจาก MEA
การไฟฟ้านครหลวง ได้แจ้งรายชื่อผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Zero Export Controller)
ที่ผ่านการตรวจสอบจากการไฟฟ้านครหลวง : กฟน.
จากบทความก่อนหน้า https://solarhub.co.th/solar-solutions/499-https-solarhub-co-th-solar-solutions-474-relay-protection-zero-export-for-solarcell-ep4
กฟน. มีเงื่อนไขในการติดตั้ง Relay Protection และ Zero Export โดยหากเลือก อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน Zero Export อุปกรณ์ที่นำมาใช้จะต้อง ส่งทดสอบกับ กฟน.
VDO การทดสอบค่ากราวด์ ของระบบโซล่าเซลล์
ความหมายของ กำลังไฟฟ้า kW. และ พลังงานไฟฟ้า kWh. แถมไฮบริด ตอนท้ายๆ
พอดีว่าช่วงนี้ ในแวดวงโซล่าเซลล์ เห็นมีการติดตั้งระบบไฮบริด ซึ่งก็มีแบตเตอรี่เข้ามาเพิ่มในระบบ แล้วก็เห็นใน youtube หลายๆช่อง พูดหน่วยความจุของแบตเตอรี่ เป็น kW. (กิโลวัตต์ เฉยๆ) จริงๆแล้ว หน่วยต้องเป็นคำว่า kWh จะอ่านว่า กิโลวัตต์-เอาวเออร์ หรือ กิโลวัตต์-ชั่วโมง ก็ไม่ว่ากัน เพราะ ความหมายไม่เปลี่ยน แต่หากเขียน หน่วยของความจุแบตเตอรี่ เป็น กิโลวัตต์ อันนี้คือความหมายผิดไปเลย แล้วก็จะทำให้ผู้ฟัง หรือผู้อ่านสับสน งงงวย ไปกันใหญ่
วันนี้เลยทนความหงุดหงิด ไม่ไหว เลยขออธิบาย ของคำว่า kW. และ kWh.
ให้หายคาใจกันไปเลย...มาตามไปดูกัน...
ดูความหมายแบบย่อๆ ก่อน
ตัวอย่างบางแห่งเราเลือกออกแบบใช้ Inverter แบบมี Power Optimizer
สำหรับไซท์นี้ เนื่องจากพื้นที่ติดตั้งอยู่คนละอาคาร ห่างกันกว่า 100 เมตร อีกทั้งทิศทางการรับแสง ก็มีหลายทิศทางมากๆ
.
หากเราใช้อินเวอร์เตอร์ แบบ String Inverter ก็จะทำให้ได้ประสิทธิภาพ น้อย เพราะว่า เราอาจต้องอนุกรมแผงในสตริงเดียวกัน ที่รับความเข้มแสงต่างกัน
.
ดังนั้นกรณีนี้ เราจึงออกแบบให้ใช้อินเวอร์เตอร์ แบบมี Power Optimizer ซึ่งก็จะชดเชย ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้
ว่าด้วยอินเวอร์เตอร์ Sungrow EP2
สำหรับว่าด้วยอินเวอร์เตอร์ Sungrow EP2 ตอนนี้ จะกล่าวถึงคุณลักษณะ รูปร่าง หน้าตา รวมถึงการติดตั้ง ว่าเป็นอย่างไร ตามไปดูกัน
ท่านที่ยังไม่ได้อ่าน EP1 ไปอ่านได้ที่นี่ ว่าด้วยอินเวอร์เตอร์ Sungrow EP1
>>> รูปร่างหน้าตา
Inverter ยี่ห้อ SUNGROW รุ่น SG5.0RS สำหรับ 1 เฟส 220 V. ขนาด 5 กิโลวัตต์ มีขนาด กว้าง 41 ซ.ม. , สูง 27 ซ.ม. , หนา 15 ซ.ม. มีหน้าจอ LED digital display & LED indicator แสดงผล
ภาวะโลกร้อน คาร์บอนเครดิต และธุรกิจโรงแรม
ต่อจากนี้อีกสัก 2 - 3 ปีหรือมากกว่านี้หน่อย เรื่องสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน คาร์บอนเครดิต ก็จะมีพูดหรือกล่าวถึงกันมากขึ้น
VDO ดูกำลังการผลิตระบบโซล่าเซลล์ แบบไฮบริด ของ Huawei Hybrid
ได้รับคำถามจากผู้สนใจติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบมีแบตเตอรี่ มากโขอยู่ ซึ่งเราเรียกว่าระบบ ไฮบริด แต่เนื่องจาก ต้องใช้เวลาพอสมควร ที่จะพยายามสื่อสารให้เข้าใจ เพราะมีรายละเอียด และข้อสงสัย เยอะอยู่
ทำไมติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์รวมขนาด 35.75 kWp. ตอนเที่ยงผลิตได้แค่ 20 kW.เองอ๊ะ ?
มีคำถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกแล้ว ครับท่าน ว่า
ทำไมติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์รวมขนาด 35.75 kWp. โดยใช้อินเวอร์เตอร์ Huawei ขนาด 30kW. แล้วพอตอนเที่ยง ดูมอนิเตอร์ กำลังการผลิต ได้แค่ 20 kW.แค่นั้นเอง ความจริงน่าจะได้สัก 28 kW. หรือ 80% ดิ๊ ทำไมๆๆๆ?
ม๊ะ ตามมา เดี๊ยว Uncle Hub จะเล่าใหฟัง...🤓
เสวนาเล็กๆ ไขข้อข้องใจการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : PEA และ โซล่าฮับ
วันที่ 14-16 ก.ย.65 นี้ มีงานเกี่ยวกับเรื่องพลังงานทดแทน จัดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (งานนี้เป็นงานแรก หลังจากที่ได้มีการรีโนเวทศูนย์ประชุมฯ ) ชื่องาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022 (ASEW)
เมื่อวันที่ 16 ก.ย.65 โซล่าฮับ (โดยคุณอิสระ ห้าวเจริญ กรรมการผู้จัดการ) ในฐานะเป็น EPC หรือผู้รับเหมารายหนึ่ง มีโอกาสได้ร่วมเสวนา กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA ที่บูทของ SolarEdge Distributor - Solomon เพื่อซักถาม และตอบข้อสงสัย (จริงๆน่าจะเป็นการบ่น ระบายในที่สาธารณะ ซะมากกว่านะ^L^' ) เกี่ยวกับกฏระเบียบ การขออนุญาต ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นประโยชน์และคลายข้อสงสัย ได้เยอะเลย...
เห็นว่าเป็นประโยชน์ กับข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย!! อ๊ะ..ไม่ใช่ๆ
เห็นว่าเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆช่างทั้งหลาย จึงขอนำมาให้อ่านกันเพลินๆ
ข้อมูลที่ ปุจฉา วิสัชชนา กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ บ.โซล่าฮับ
แผง 500กว่าวัตต์ นำมาใช้กับอินเวอร์เตอร์ งานบ้าน 3,5,10 kw ได้หรือไม่?
ดูกำลังการผลิตโซล่าเซลล์ ของ HUAWEI ด้วย Fusion Solar บนโทรศัพท์มือถือ Android และ IOS
ปัจจุบันนี้ เมื่อเราติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แล้วเราสามารถที่จะมอนิเตอร์กำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แบบออนไลน์ ได้แบบเรียลไทม์ ( Real Time Monitoring) โดยการมอนิเตอร์ดังกล่าว เราจะดูจากอินเวอร์เตอร์ของแต่ละยี่ห้อ ที่ทำระบบขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะดูได้จากเว็บบราวเซอร์ (ผ่านทางคอมพิวเตอร์) และแอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ ทั้ง ANDROID และ IOS เช่น
HUAWEI INVERTER ดูผ่านเว็บที่ https://sg5.fusionsolar.huawei.com และดูผ่านแอปพลิเคชั่น ชื่อ Fusion Solar
โซล่าฮับ ทำโปรแกรมคำนวณขนาดติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่เหมาะสม
SolarHub ทำโปรแกรมแบบง่ายๆ สำหรับประมาณการขนาดการติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่เหมาะสม เพื่อจะได้ลงทุนติดตั้งได้อย่างคุ้มค่า ลองเข้าไปเล่นดูที่นี่ https://www.solarhub.co.th/calc/
เนื่องจากระบบโซล่าเซลล์ (แบบออนกริด) ผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะเวลากลางวัน จึงต้องกำหนดขนาดติดตั้ง ที่สอดคล้องกับการใช้ไฟฟ้า ในเวลากลางวัน
อัพเดท ติดโซล่าเซลล์ บ้านพักอาศัย และโรงงาน ได้สูงสุดขนาดเท่าใด?
เนื่องจากมีผู้สอบถามว่าจะติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่บ้านพักอาศัย และหรือโรงงาน แล้วราชการเค้าอนุญาต ให้ติดตั้งได้สูงสุดเท่าใดกันแน่ เพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 หน่วยงาน อันประกอบด้วย กกพ. , กฟน. และ กฟภ. และประกอบกับทั้ง 3 หน่วยงานข้างต้นก็มีการอัพเดทกฏ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องมาเป็นระยะๆ จึงมีคำถามผุดๆ ขึ้นมาจากเพื่อนช่าง และลุกค้าหลายๆท่าน
อย่ากระนั้นเลย โซล่าฮับ จึงขออัพเดท ข้อมูลว่า หน่วยงานราชการฯอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ได้สูงสุดขนาดเท่าใด?
>>> เท่าที่ได้ประสานงาน และลองยื่นขออนุญาตในทางปฏิบัติจริงมาบ้างแล้ว ก็ขออัพเดท ไว้ ณ ปัจจุบัน กันยายน 2565 ตามนี้
ก่อนอื่น มารู้คอนเซ็ปคร่าวๆ ก่อนว่าเราต้องขออนุญาต หน่วยงานใดบ้าง
ความรู้และความเข้าใจเบื้องต้น ที่ควรทราบ ก่อนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ปี 2565 ม้วนเดียวจบ
สถานการณ์การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ พ.ศ.2565
ในปัจจุบันนี้ พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ระบบโซล่าเซลล์ ที่นิยมติดกันทั่วบ้านทั่วเมือง ทั้งบ้านพักอาศัย อาคาร สำนักงาน ห้างร้าน และโรงงานขนาดใหญ่ จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าแทบทั้งสิ้น เนื่องจากอุปกรณ์เก็บกักพลังงาน Energy Storage หรือแบตเตอรี่ ราคายังสูงอยู่ ซึ่งอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี่การผลิต และการนำวัสดุมาผลิต อีกทั้งอยู่ระหว่างการสร้างความสมดุลย์ระหว่างดีมานด์ และ ซัพพลายในตลาด
Conductive Loop หรือ พื้นที่วงรอบของตัวนำไฟฟ้า ในระบบโซล่าเซลล์
Conductive Loops คือพื้นที่วงรอบของตัวนำไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับระบบฯ โดยสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก ถ้าอยู่ถูกที่ถูกทางก็จะเป็นประโยชน์ เช่น มอเตอร์ก็เป็นการใช้ประโยชน์ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เหนี่ยวนำจนทำให้โรเตอร์หมุนแล้วทำให้เกิดการสร้างพลังงานกล นั่นเอง
ขอยกตัวอย่าง Conductive Loops
ตัวอย่างหนึ่ง ของConductive Loops ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ เช่น เรามีม้วนปลั๊กพ่วงที่มีสายยาวมากเกิน 20 เมตรขึ้นไปแล้วขดม้วนอยู่ในโรลสาย ไม่คลี่หรือดึงออกมา จากนั้นเราลองเอาเครื่องอ๊อกเหล็ก มาเสียบปลั๊ก จากโรลสายนั้น แล้วลองเชื่อมเหล็กดู ก็จะรู้ว่าสายนั้นร้อนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากเรายังเชื่อมเหล็กนั้นต่อไปเรื่อยๆ ฉนวนของสายไฟที่อยู่ในโรลสายนั้นก็จะละลาย จนช็อตกันในที่สุด ซึ่งอันนี้ก็เป็นผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า นั่นเอง